สืบค้นงานวิจัย
ผลของปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงสูตรไนโตรเจน ฟอสฟอรัส ต่อการเพิ่มคุณภาพผลผลิตปาล์มน้ำมันในพื้นที่ดินเปรี้ยวจัด
แฉล้ม พริ้มจรัส, จิราพร พรมราช, จินดาภรณ์ เพ็ชรศิริ, แฉล้ม พริ้มจรัส, จิราพร พรมราช, จินดาภรณ์ เพ็ชรศิริ - กรมพัฒนาที่ดิน
ชื่อเรื่อง: ผลของปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงสูตรไนโตรเจน ฟอสฟอรัส ต่อการเพิ่มคุณภาพผลผลิตปาล์มน้ำมันในพื้นที่ดินเปรี้ยวจัด
ชื่อเรื่อง (EN): The Results of High Quality Organic Fertilizers of Nitrogen Phosphorous for Increase Quality Oil Palm Yields on Acid Sulfate Soil.
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: จากการศึกษาการใช้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงสูตรไนโตรเจน ฟอสฟอรัส ต่อการเพิ่มคุณภาพผลผลิตปาล์มน้ำมันในพื้นที่ดินเปรี้ยวจัด ชุดดินมูโนะ ดำเนินการทดลองในพื้นที่หมู่ 10 ตำบลแหลม อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช วางแผนการวิจัยแบบ Randomized complete block design จำนวน 5 ซ้ำ ซึ่งมีวิธีการที่กำหนดในการวิจัยไว้ดังนี้ คือ วิธีการที่ 1 แบบเกษตรกร (ปุ๋ยเคมีสูตรผสม 13-6-32 อัตรา 4.5 กก./ต้น/ปี) วิธีการ ที่ 2 ปุ๋ยเคมีสูตร 15-7-18 อัตรา 5.3 กก./ต้น/ปี วิธีการที่ 3 ปุ๋ยเคมีสูตร 15-7-18 อัตรา 2.7 กก./ต้น/ปี+ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง อัตรา 1.8 กก./ต้น/ปี+ปุ๋ยเคมีสูตร 21-0-0 อัตรา 1.7 กก./ต้น/ปี + 0-0-60 อัตรา 0.7 กก./ต้น/ปี และวิธีการที่ 4 ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง อัตรา 3.6 กก./ต้น/ปี + ปุ๋ยเคมีสูตร 21-0-0 อัตรา 3.3 กก./ต้น/ปี + 0-0-60 อัตรา 1.4 กก./ต้น/ปี ซึ่งในวิธีการที่ 2-4 มีการคลุมดินด้วยใบและทางปาล์มน้ำมัน ฉีดพ่นน้ำหมักชีวภาพ และใส่โดโลไมท์ตามค่าความต้องการปูน ดำเนินการทดลองเป็นระยะเวลา 3 ปี ตั้งแต่ปี 2553-2555 ผลการศึกษาการเปลี่ยนแปลงสมบัติของดินที่ระดับความลึก 0-30 เซนติเมตร ก่อนและหลังดำเนินการ พบว่า ความหนาแน่นรวมของดินเฉลี่ยลดลง ความชื้นในดินเฉลี่ยมีค่าเพิ่มขึ้น ปฏิกิริยาของดินมีค่าเพิ่มขึ้นเมื่อมีการใช้ปูน และเพิ่มมากที่สุดในวิธีการที่ 4 ซึ่งใช้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงเต็มอัตรา ค่าการนำไฟฟ้า มีการเปลี่ยนแปลงน้อยมากและอยู่ในระดับที่พืชสามารถเจริญเติบโตได้ ปริมาณอินทรียวัตถุและปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์มีค่าเพิ่มขึ้นในทุกวิธีการทดลอง ยกเว้นแบบเกษตรกร ปริมาณโพแทสเซียมที่แลกเปลี่ยนได้ เพิ่มขึ้นในทุกวิธีการทดลองและเพิ่มขึ้นมากที่สุดในวิธีการที่ 3 แคลเซียมมีค่าเพิ่มขึ้นเมื่อมีการใช้ปูนและปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง ปริมาณเหล็กที่เป็นประโยชน์ มีค่าลดลงเมื่อมีการใช้ปูน และอยู่ในระดับที่ไม่เป็นพิษต่อรากพืช และปริมาณอลูมินัมที่สกัดได้หลังการทดลอง ไม่สามารถตรวจวัดได้ในทุกวิธีการทดลองที่มีการใช้ปูน การศึกษาปริมาณธาตุอาหารในใบปาล์มน้ำมัน พบว่า เปอร์เซ็นต์ไนโตรเจนและฟอสฟอรัส มีค่าเพิ่มขึ้นในทุกวิธีการทดลอง ยกเว้นแบบเกษตรกร เปอร์เซ็นต์โพแทสเซียม มีค่าเพิ่มขึ้นในทุกวิธีการทดลอง ซึ่งมีแนวโน้มเช่นเดียวกับปริมาณธาตุอาหารในดิน ส่วนแคลเซียมและแมกนีเซียม มีค่าเพิ่มขึ้นเมื่อมีการใช้ปูนร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง ซึ่งปริมาณธาตุอาหารในใบปาล์มน้ำมันหลังสิ้นสุดการทดลองทุกค่าอยู่ในระดับที่เพียงพอต่อความต้องการของปาล์มน้ำมัน เมื่อมีการใช้ปูนร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง ส่วนการเจริญเติบโต พบว่า เมื่อสิ้นสุดการทดลองเส้นผ่าศูนย์กลางลำต้น ความยาวทางใบ พื้นที่หน้าตัดแกนทาง ความกว้างและความยาวของใบย่อยเฉลี่ย ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติในทุกวิธีการ ส่วนความสูงลำต้นมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญยิ่ง โดยวิธีการ 3 มีความสูงลำต้นสูงสุด และวิธีการที่ 4 มีความสูงลำต้นต่ำสุด และจำนวนทางใบมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ โดยวิธีการ 3 มีจำนวนทางใบมากที่สุด และวิธีการที่ 4 มีทางใบน้อยที่สุด สำหรับผลผลิตหลังสิ้นสุดการทดลอง พบว่า วิธีการที่ 3 ให้น้ำหนักสดต่อทะลายสูงสุดและแตกต่างจากวิธีการที่ 2 และ 1 อย่างมีนัยสำคัญ ส่วนน้ำหนักผลสดต่อทะลาย ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติในทุกวิธีการ แต่วิธีการที่ 3 ให้น้ำหนักผลสดสูงสุด ส่วนวิธีการที่ 4 ให้เปอร์เซ็นต์น้ำมันและปริมาณน้ำมันในผลต่อทะลายสูงสุด และเปอร์เซ็นต์น้ำมันแตกต่างจากวิธีการที่ 2 และ 1 อย่างมีนัยสำคัญยิ่ง ส่วนปริมาณน้ำมันในผลแตกต่างจากวิธีการที่ 1 อย่างมีนัยสำคัญยิ่ง ซึ่งในวิธีการที่ 1 จะให้ทั้งปริมาณและคุณภาพผลผลิตปาล์มน้ำมันต่ำสุด
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2552-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2555-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมพัฒนาที่ดิน
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ผลของปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงสูตรไนโตรเจน ฟอสฟอรัส ต่อการเพิ่มคุณภาพผลผลิตปาล์มน้ำมันในพื้นที่ดินเปรี้ยวจัด
กรมพัฒนาที่ดิน
30 กันยายน 2555
การวิเคราะห์ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจของการปลูกปาล์มน้ำมันในพื้นที่ดินเปรี้ยวจัด การศึกษาวิธีการผลิตปุ๋ยอินทรีย์จากเศษวัสดุอินทรีย์ที่ได้จากการตัดแต่งกิ่งไม้ ผลของปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงร่วมกับปุ๋ยเคมีเพื่อเพิ่มผลผลิตลองกอง ผลของปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงร่วมกับปุ๋ยเคมีต่ผลผลิตและคุณภาพขององุ่นพันธุ์ Perlette (ชื่อเดิม : ผลของปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงและปุ๋ยอินทรีย์น้ำต่อผลผลิตและคุณภาพขององุ่นพันธุ์ Perlette) การพัฒนาพื้นที่เพื่อเพิ่มผลผลิตปาล์มน้ำมันในภาคใต้ตอนบน ผลของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อการผลิตปาล์มน้ำมันในจังหวัดนครศรีธรรมราช การพัฒนาพื้นที่ดินเปรี้ยวจัดเพื่อเพิ่มผลผลิตและคุณภาพปาล์มน้ำมันอย่างยั่งยืน ศึกษาอัตราปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงที่เหมาะสม เพื่อเพิ่มผลผลิตผักและความอุดมสมบูรณ์ของดิน จังหวัดปทุมธานี ศึกษาอัตราปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงที่เหมาะสม เพื่อเพิ่มผลผลิตผัก และความอุดมสมบูรณ์ของดิน จังหวัดนครนายก เสถียรภาพของพันธุ์ในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันต่อการให้ผลผลิตปาล์มน้ำมัน

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก