สืบค้นงานวิจัย
เทคโนโลยีการใช้ถ่านเพื่อปรับปรุงความอุดมสมบูรณ์ของดิน และเพิ่มผลผลิตข้าวขาวมะลิ 105 ภายใต้สภาพดินเค็ม
ศศิธร เชื้อกุณะ, วีระศักดิ์ หอมสมบัติ, เสาวคนธ์ เหมวงษ์, อรรณพ พุทธโส - มหาวิทยาลัยนครพนม
ชื่อเรื่อง: เทคโนโลยีการใช้ถ่านเพื่อปรับปรุงความอุดมสมบูรณ์ของดิน และเพิ่มผลผลิตข้าวขาวมะลิ 105 ภายใต้สภาพดินเค็ม
ชื่อเรื่อง (EN): Charcoal application technology to improve soil fertility and increase yield of KDML 105 under salinity soil condition
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: ดินเค็มเป็นปัญหาหนึ่งที่สำคัญต่อการเพาะปลูกพืช เนื่องจากมีคุณสมบัติทั้งทางกายภาพ และทางเคมีที่ไม่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืช จึงมีการคิดค้นเทคโนโลยีในการปรับปรุงดินเค็มเพื่อให้มีความอุดมสมบูรณ์เพิ่มขึ้น ปัจจุบันถ่านได้รับความสนใจมากในการนำมาใช้ในการปรับปรุงบำรุงดิน และช่วยเพิ่มผลผลิตพืช งานวิจัยนี้ศึกษาภายใต้สภาพโรงเรือนทดลอง โดยวางแผนการทดลองแบบ CRD จำนวน 4 ซ้ำ ประกอบด้วย 7 กรรมวิธี ได้แก่ 1) ดินเค็มอย่างเดียว 2) ถ่านแกลบ อัตรา 600 กิโลกรัมต่อไร่ 3) ถ่านแกลบ อัตรา 900 กิโลกรัมต่อไร่ 4) ปุ๋ยหมัก อัตรา 600 กิโลกรัมต่อไร่ 5) ปุ๋ยหมัก อัตรา 900 กิโลกรัมต่อไร่ 6) ปุ๋ยคอก อัตรา 600 กิโลกรัมต่อไร่ และ 7) ปุ๋ยคอก อัตรา 900 กิโลกรัมต่อไร่ โดยเปรียบเทียบข้าว 2 ชนิด (ข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 และข้าวสายพันธุ์ UBN02124-RGDU-MAS-192-2-5-5 สายพันธุ์ทนเค็ม) ผลการศึกษา พบว่า สายพันธุ์ข้าวทนเค็มมีอัตราการรอดตายของข้าวในระยะต้นกล้าได้ดีกว่าพันธุ์ข้าวขาวมะลิ 105 มากถึง 96 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเปรียบเทียบในสภาพดินเค็มที่ไม่ได้ใส่สารอินทรีย์ ที่อายุ 15 วันหลักปักดำ ดินเค็มส่งผลต่อผลผลิตข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิมากกว่าข้าวสายพันธุ์ทนเค็ม อย่างไรก็ตาม การใส่ปุ๋ยหมักอัตรา 600 กิโลกรัมต่อไร่ ทำให้ข้าวขาวดอกมะลิ 105 ให้ปริมาณผลผลิต และคุณภาพสูงสุด ในขณะที่ถ่านแกลบทั้งอัตรา 600 และ 900 กิโลกรัมต่อไร่ ให้ผลผลิตสูงเช่นเดียวกัน (2.18-2.28 กรัมต่อต้น ตามลำดับ) ชี้ให้เห็นว่า การปลูกข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 การใส่ถ่านแกลบช่วยเพิ่มศักยภาพการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิต ในขณะที่ข้าวสายพันธุ์ทนเค็ม การใส่ถ่านแกลบอัตรา 900 กิโลกรัมต่อไร่ ให้ผลผลิตข้าวที่มีคุณภาพสูงกว่าการใส่ปุ๋ยคอก อัตรา 900 กิโลกรัมต่อไร่ ที่ให้ผลผลิตเมล็ดข้าวสูงแต่มีเปอร์เซ็นต์เมล็ดเต็มต่ำกว่ามาก แสดงให้เห็นว่า ถ่านช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ธาตุอาหารของพืช การใช้สารอินทรีย์ในการปรับปรุงดินเพื่อการเพาะปลูกข้าวในดินเค็มจึงมีควรจะใส่สารอินทรีย์ที่มีธาตุอาหารเพียงพอร่วมกับการใส่ถ่านแกลบเพื่อเพิ่มการดูดซับ และปรับปรุงคุณสมบัติทางเคมีของดินเค็ม ในอัตราตั้งแต่ 600 กิโลกรัมต่อไร่ ขึ้นไป นอกจากนี้การเลือกพันธุ์ข้าวก็ปัจจัยที่สำคัญในการให้ผลผลิตข้าวที่ปลูกภายใต้สภาพดินเค็ม
บทคัดย่อ (EN): Saline soil is one of the major threats to plant production due to soil physical and chemical properties unsuitable for plant growth. It has developed a technology to improve soil fertility under saline soil. Recently, charcoal has been received more attention to improve the soil fertility and increase crop yield. This experiments were conducted on greenhouse using CRD experimental design with 4 replications included 7 treatments i.e. 1) no amendment, 2) rice husk charcoal 600 kg/rai, 3) rice husk charcoal 900 kg/rai, 4) compost fertilizer 600 kg/rai, 5) compost fertilizer 900 kg/rai, 6) cow manure fertilizer 600 kg/rai and 7) cow manure fertilizer 900 kg/rai by comparing the 2 types of rice (KDML 105 and line UBN02124-RGDU-MAS-192-2-5-5 salinity tolerance). The results showed that rice salinity tolerance has a survival rate of rice seedling better than KDML 105 rice up to 96 percentage compared to under no organic materials amendment at 15 days after transplanting. However, compost fertilizer 600 kg/rai application resulted to increase yield and quality of KDML 105 rice. Likewise, the rice husk charcoal both 600 and 900 kg/rai application were also high KDML 105 rice yield (2.18 – 2.28 g/stem, respectively). This indicated that rice husk charcoal amendment increase productivity performance of KDML 105 rice varieties. Salinity tolerance rice, while rice husk charcoal 900 kg/rai amendment gave higher quality rice yield than cow manure fertilizer 900 kg/rai which high grain yield but lower percentage of full seed. This results shown that charcoal amendment in the soil was increase plant nutrient use efficiency. Using of organic material to improve the soil for rice production under saline soil should be apply organic material which adequate nutrient supply with rice husk charcoal amendment up to 600 kg/rai to increase adsorption and improve soil chemical properties. Therefore, rice varieties is a one major factor for rice productivity under saline soil condition.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2558-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2559-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยนครพนม
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
เทคโนโลยีการใช้ถ่านเพื่อปรับปรุงความอุดมสมบูรณ์ของดิน และเพิ่มผลผลิตข้าวขาวมะลิ 105 ภายใต้สภาพดินเค็ม
มหาวิทยาลัยนครพนม
30 กันยายน 2559
ข้าวให้พลังงานผสานคุณค่าอาหาร การศึกษาชนิดและอัตราที่เหมาะสมของถ่านชาร์ร่วมกับการใช้ปุ๋ยเคมีต่อการเพิ่มผลผลิตข้าวหอมมะลิในพื้นที่ดินเค็ม การกักเก็บคาร์บอนในดินเค็มจากการใช้วัสดุอินทรีย์ปรับปรุงดินในการผลิตข้าว การจัดการดินด้วยแกลบร่วมกับปุ๋ยเคมีเพื่อเพิ่มมวลชีวภาพพืชปุ๋ยสด และคุณภาพผลผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ในดินเค็มปานกลาง การปลดปล่อยก๊าซมีเทนภายใต้วิธีการจัดการดินเค็มเพื่อเพิ่มผลผลิตข้าว การจัดการดินด้วยวัสดุแกลบร่วมกับปุ๋ยเคมีเพื่อเพิ่มมวลชีวภาพพืชปุ๋ยสด และคุณภาพผลผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ในดินเค็มน้อยถึงปานกลาง การประยุกต์ใช้จุลินทรีย์สำหรับพืชปรับปรุงบำรุงดินเพื่อเพิ่มมวลชีวภาพของโสนอัฟริกันและผลผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ในพื้นที่ดินเค็มน้อย การใช้ใบไม้ทนเค็ม Acacia ampliceps เพิ่มอินทรียวัตถุในดินเค็มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (กลุ่มชุดดินที่ 20 )เพื่อการปลูกข้าวขาวดอกมะลิ 105 การปรับปรุงบำรุงดินในแปลงเกษตรกรบนพื้นที่ดินเค็มภายใต้ระบบอนุรักษ์ดินและน้ำเพื่อปลูกข้าว กข.6 ในกลุ่มชุดดินที่ 20 การจัดการดินเค็มด้วยปุ๋ยชีวภาพร่วมกับเพอร์ไลต์ในการส่งเสริมกิจกรรมของจุลินทรีย์ เพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดินและผลผลิตข้าวโพด

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก