สืบค้นงานวิจัย
การใช้ประโยชน์ทางด้านการแพทย์ และการเกษตรจากความหลากหลายของพืชและจุลินทรีย์เพื่อสนองพระราชดำริในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ศิริวุฒิ สุขขี - มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ชื่อเรื่อง: การใช้ประโยชน์ทางด้านการแพทย์ และการเกษตรจากความหลากหลายของพืชและจุลินทรีย์เพื่อสนองพระราชดำริในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ชื่อเรื่อง (EN): Medical and agricultural applications from the diversity of plants and microorganisms in complementation to the Plant Germplasm Conservation Project of H.R.H. Princess Maha Chakri Sirindhorn
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ศิริวุฒิ สุขขี
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: ศิริวุฒิ สุขขี
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: บทคัดย่ออยู่ที่ไฟล์แนบ"การศึกษาความหลากหลายของพืชและจุลินทรีย์เพื่อสนองพระราชดำริในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีได้แบ่งงานออกเป็น 5 ส่วน ได้แก่ 1. การวิเคราะห์องค์ความรู้ในการใช้ประโยชน์จากพืชพื้นบ้านของชุมชนบริเวณศูนย์การศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หริภุญชัย จังหวัดลำพูน เพื่อเปรียบเทียบและวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ขององค์ความรู้การใช้ประโยชน์จากพืชระหว่างชุมชน กับแหล่งทรัพยากรพืช โดยการสัมภาษณ์ มีการใช้ประโยชน์พืชอาหารจำนวน 90 ชนิด และพืชสมุนไพรจำนวน 96 ชนิด วิเคราะห์พืชอาหารและพืชสมุนไพรที่สำคัญ โดยคำนวณและเปรียบเทียบค่า Use value (UV) วิเคราะห์กลุ่มโรคและอาการผิดปกติแบ่งกลุ่มตามระบบ ของร่างกายกับพืชที่ใช้โดยคำนวนจากค่า Informant Agreement Ratio (IAR) ศึกษาแนวโน้มการใช้ประโยชน์พืชอาหารและพืชสมุนไพรในคนที่มีช่วงอายุต่างๆ ด้วยการวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เชิงเส้น (R2) ผลของการศึกษาพบว่าพืชอาหารที่มีค่า Use value สูง ได้แก่ ไผ่รวก (Thyrsostachys siamensis Gamble) ไผ่ไร่ (Gigantochloa albociliata (Munro) Kurz) และ ผักหวานบ้าน (Sauropus androgynus Merr.) คือ 1.37, 1.18, และ 1.14 ตามลำดับ ในขณะที่พืชสมุนไพรที่ค่า Use value สูง คือ หางจระเข้ (Aloe vera (L.) Burm.f.) ฟ้าทะลายโจร (Andrographis paniculata Ness) หญ้าดอกขาว (Chromolaena odorata (L.) R.M.King & H.Rob.) พระเจ้านั่งแท่น (Jatropha podagrica Hook.) คือ 1.02, 1.01, 0.75, และ 0.71 ตามลำดับ ส่วนค่า Informant Agreement Ratio ของกลุ่มโรค “Injuries” ได้แก่ แผลสด แผลไฟไหม้ แผลน้ำ ร้อนลวก และ ฝีหนอง มีค่าสูงที่สุดคือ 0.91 อย่างไรก็ตามมีแนวโน้มที่การใช้ประโยชน์จากพืชอาหารและ พืชสมุนไพรท้องถิ่นจะลดลงและอาจสูญหายไปจากสังคมและวัฒนธรรมได้เนื่องจากค่าสัมประสิทธิ์เชิงเส้น (R2) ของเปอร์เซ็นต์จำนวนพืชอาหารและพืชสมุนไพรกับช่วงอายุของผู้ให้ข้อมูลมีค่าเท่ากับ 0.91 และ 0.98 ตามลำดับ 2. การวิเคราะห์ความหลากหลายทางโครงสร้างของสารเคมีภายในต้นโมกชนิดต่างๆและการนำไปใช้ประโยชน์ทางชีวภาพ โดยนำใบของพืชสองชนิดคือ โมกหลวงและโมกพวง มาศึกษาสารเคมีภายในและการออกฤทธิ์ทางชีวภาพทำโดยนำสารสกัดหยาบเอทานอลจากใบมาสกัดแยกแบบลำดับส่วนด้วยตัวทำละลายชนิดต่างๆ คือ เฮกเซน ไดคลอโรมีเทน และน้ำ แล้วนำส่วนที่สกัดได้มาทดสอบด้วยเทคนิคทางโครมาโทกราฟีพบว่า โมกหลวง มีสาร 2 ชนิด คือ antidysentericine และ conessine ซึ่ง จัดเป็นสารประเภท steroidal alkaloid และได้มีการทดสอบฤทธิ์กับไรทะเลเป็นเบื้องต้น พบว่าประสิทธิภาพของ antidysentericine ดีกว่า conessine 3. การศึกษาผลของเมทิลจัสโมเนทและซาลิไซลิกแอซิดต่อการผลิตสารอัลคาลอยด์ของ ต้นหนอนตายหยาก (Stemona kerrii) ในสภาพหลอดทดลอง โดยใช้ต้นที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่ออายุ 8 สัปดาห์ นำมาเพาะเลี้ยงในอาหารเหลว สูตร MS ที่เติม NAA ความเข้มข้น 1 mg/l ร่วมกับเมทิลจัสโมเนท (MeJa) และ ซาลิไซลิก แอซิด (SA) ที่ความเข้มข้น 0, 100 และ 200 μM เป็นเวลา 7 และ 14 วัน จากนั้นนำรากและอาหารที่เพาะเลี้ยงมาสกัด และวิเคราะห์ปริมาณสารอัลคาลอยด์โดยเทคนิค HPLC พบว่าการเพาะเลี้ยงหนอนตายหยากในอาหารเหลวที่เติมเมทิลจัสโมเนท ความเข้มข้น 100 μM เป็นเวลา 7 วัน มีการผลิตสาร oxyprotostemonine มากที่สุด เท่ากับ 1976.0917 μg/g DW ในขณะที่การเพาะเลี้ยงหนอนตายหยากในอาหารเหลวที่เติมเมทิลจัสโมเนท ความเข้มข้น 100 μM และ 200 μM เป็นเวลา 14 วันมีการผลิตสาร stemocurtisine และ stemocurtisinol สูงสุด ตามลำดับ และได้มีการใช้เทคนิค SRAP มาสร้างลายพิมพ์ดีเอ็นเอของหนอนตายหยาก โดยทดสอบคู่ไพรเมอร์ จำนวน 100 คู่ พบว่ามี 23 คู่ไพรเมอร์ที่เหมาะสมสำหรับการสร้างลายพิมพ์ดีเอ็นเอของหนอนตายหยาก และได้คัดเลือกมาจำนวน 7 คู่ไพรเมอร์มาทดสอบกับตัวอย่าง 20 ตัวอย่าง พบว่าสามารถจัดกลุ่มตัวอย่างได้เป็น 7 กลุ่ม และได้เลือกตัวแทนจากแต่ละกลุ่มเพื่อนำรากมาทดสอบหาปริมาณสารกำจัดแมลง 2 ชนิด ได้แก่ Oxyprotostemonine และ Stemocurtisine ด้วยเทคนิค HPLC พบว่าตัวอย่าง S. curtisii No.2 ที่มีปริมาณสารทั้งสองชนิดมากที่สุดและแตกต่างจาก ตัวอย่างอื่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 4. การศึกษาองค์ประกอบสำคัญของไผ่สายพันธุ์ที่แสดงฤทธิ์ทางชีวภาพ เพื่อใช้เป็นเอกลักษณ์ของลายพิมพ์บนแผ่นโครมาโตกราฟีผิวบาง พบว่าสามารถแยกลายพิมพ์โครมาโตกราฟีเอกลักษณ์ของไผ่หวานแตกต่างจากไผ่ชนิดอื่นๆ ได้ ยกเว้นไผ่เหลือง โดยใช้ระบบ DVS ที่ 1 (chloroform : methanol 95 : 5) ภายใต้ UV 254 nm แต่สามารถจำแนกไผ่หวาน และไผ่เหลืองได้โดยใช้ระบบ DVS ที่ 1 (chloroform : methanol 95 : 5) และระบบ DVS ที่ 2 (toluene : ethylacetate 93 : 7) ภายใต้ UV 365 nm จากผลการวิจัยนี้จะนำไปประยุกต์ใช้ลายพิมพ์โครมาโตกราฟีบางนี้ในการพิสูจน์เอกลักษณ์ จำแนกสายพันธุ์ และชนิดรวมถึงการควบคุมคุณภาพการสกัดสารได้อีกด้วย และได้มีการศึกษาถึงความหลากหลายของเชื้อแอคติโนมัยซิสในดินที่สามารถสร้างสารต้านจุลชีพได้ เชื้อแอคติโนมัยซิส ไอโซเลท A67/204 เป็นเชื้อที่แสดงฤทธิ์ดีที่สุด ต่อเชื้อก่อโรคทั้ง 4 ชนิด ได้แก่ E. coli, P. aeruginosa, K. pneumoniae, และ A. baumannii คุณสมบัติของสารออกฤทธิ์น่าจะเป็นสารจำพวกโปรตีนที่ออกฤทธิ์ได้ดีในสภาวะกรดทนต่อความร้อน และไวต่อเอ็นไซม์โปรติเอส และเมื่อสกัดโปรตีนออกมาแล้วพบว่าโปรตีนที่สกัดได้แสดงฤทธิ์ต้านลดลงเล็กน้อย อย่างไรก็ดีจะนำเชื้อไอโซเลทนี้ไปจำแนกชนิดต่อไป การนำเห็ดระโงกขาวบดผงมา ใช้เป็นแหล่งของสารอาหารปรีไบโอติกต่อเชื้อโปรไบโอติกคือ แลคโตบาซิลลัส เฟอร์เมนตัมสายพันธุ์ LF16 เพื่อเพิ่มปริมาณเชื้อ และฤทธิ์ต้านแบคทีเรีย พบว่าฤทธิ์ต้านแบคทีเรียก่อโรคเพิ่มขึ้นเมื่อนำเชื้อแลคโตบาซิลลัสสายพันธุ์ทดสอบไปเพาะเลี้ยงร่วมกับผงเห็ดระโงกขาวและกลูโคส และ 5. การศึกษาการใช้ประโยชน์พันธุ์พืชจากศูนย์การศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หริภุญไชย ที่มีศักยภาพในการใช้ประโยชน์ทางด้านพืชสวน ได้เลือกชนิดของพันธุ์พืชที่นำมาศึกษาอยู่ 3 ชนิดด้วยกัน คือ โสมชบา เปราะ และคำมอกน้อย โดยได้ทำการศึกษาดูความเป็นไปได้ในการปรับปรุงพันธุ์ โสมชบาและเปราะ การศึกษาวงจรชีวิตลักษณะทางสัณฐานวิทยา และปัจจัยต่างๆที่มีผลต่อการเจริญเติบโต การออกดอก คุณภาพของดอกและหัวของโสมชบา การขยายพันธุ์คำมอกน้อยในสภาพปลอดเชื้อ ผลการศึกษาพบว่า วิธีการปรับปรุงพันธุ์ของโสมชบาและเปราะ โดยการผสมพันธุ์โดยเฉพาะการผสมข้ามชนิด สามารถทำได้ยาก อาจต้องใช้วิธีการอื่น มาช่วยในการปรับปรุงพันธุ์ การศึกษาการเจริญเติบโตของโสมชบาที่ใช้ต้นพันธุ์จากการเพาะเมล็ดและต้นพันธุ์ที่มาจากการปักชำมีการเจริญเติบโตของต้นและความแข็งแรงของต้นแตกต่างกัน โดยต้นพันธุ์ที่มาจากการเพาะเมล็ด ให้ต้นที่มีการเจริญเติบโตที่ดีกว่าต้นที่ได้มาจากการปักชำ ในสภาพธรรมชาติโสมชบามีการพักตัวในฤดูหนาว แต่ในสภาพการทดลองไม่พบการพักตัว แต่มีการเติบโตอย่างช้าๆ โสมชบาเจริญเติบโตดี ในสภาพที่มีการพรางแสงด้วยตาข่ายสีดำขนาด 50% ดีกว่าการปลูกกลางแจ้ง การตอบสนองของการปลูกเลี้ยงโสมชบา ที่มีต่อการให้ปุ๋ยและสารควบคุมการเจริญเติบโต (พาโคลบิวทาโซล) พบว่าโสมชบามีการ ตอบสนองต่อปุ๋ยและพาโคลบิวทาโซลน้อยมาก การขยายพันธุ์คำมอกน้อย โดยใช้อาหารสูตร SH (Schenk and Hildebrandt, 1972) ดัดแปลง ที่มี BAP 0.25 มก/ล + IBA 0.2 มก/ล เกิด ยอดจำนวนมากที่สุด และการใช้ NAA 2 มก/ล ทำให้การเกิดรากและความยาวรากดีที่สุด
บทคัดย่อ (EN): Study on diversity of plants and microorganism in complementation to the Plant Germplasm onservation Project of H.R.H. Princess Maha Chakri Sirindhorn was conducted. This study consisted of 5 parts as follows. 1. Traditional knowledge of plants used of the communities in the Haripunchai Campus, Chiang Mai University, Lamphun Province was studied in order to determine the relationship between plants used by communities and natural sources. People from 5 villages were interviewed. About 90 species of food plants and 96 species of medicinal plants were used. The relative importance of plant species was captured by calculation of Use Value index (UV). Likewise, the dominant use-categories of medicinal plants was determined by calculation of the Informant Agreement Ratio (IAR). Correlations between informants’ age and number of medicinal plants known by them were determined with Linear Regression (R2). As results, the most important species of food plant were Thyrsostachys siamensis Gamble, Gigantochloa albociliata (Munro) Kurz and Sauropus androgynus Merr. which had Use Value of 1.37, 1.18, and 1.14, respectively. The most important species of medicinal plant were Aloe vera (L.) Burm.f., Andrographis paniculata Ness, Chromolaena odorata (L.) R.M.King & H.Rob., and Jatropha podagrica Hook. which had Use Value of 1.02, 1.01, 0.75, and 0.71, respectively. Likewise, the most dominant usecategories were Injuries, which accounted for 0.91 of the IAR value. The age of informants and the number of food plants and medicinal plants reported by each of them was positively correlated which accounted for 0.91 and 0.98 respectively. 2. Chemical compositions and biological activities from leaves of Holarrhena pubescens and Wrightia religiosa were studied by extraction with various solvents; hexane, dichloromethane and water. These crude extracts were tested using chromatographic techniques. It was found that H. pubescens contained two important compounds, antidysentericine and conessine, which were classified as steroidal alkaloid. They were preliminary tested for their toxicity against brine shrimp. The result showed that the efficiency of antidysentericine was better than conessine. 3. Effects of methyl jasmonate and salicylic acid on alkaloid production of Stemona kerrii in in vitro condition as well as DNA markers of this plant species using SRAP were conducted. Plants at 8-week old were cultured in liquid MS medium adding NAA at 1 mg/l and methyl jasmonate and salicylic acid at 0, 100 and 200 μM for 7 and 14 days. Then root and medium were extracted. Amount of alkaloid was analysed using HPLC. The result showed that S. kerrii cultured in medium containing methyl jasmonate 100 μM for 7 days had the greatest amount of oxyprotostemonine, 1976.09 μg/gDW. However, the greatest amount of stemocurtisine and stemocurtisisnol were found in culture containing methyl jasmonate 100 and 200 μM at 14 days, respectively. SRAP technique was used to produce DNA marker of Stemona species using 100 primers. It was found that 27 primers could distinguish Stemona species. Seven selected primers were employed to classify 20 samples. Those samples were divided into 7 groups and plant from each group were tested for amount of oxyprotostemonine and stemocurtisine using HPLC. It was found that S. curtisii no. 2 had the greatest amount of these two chemicals and significantly different from others. 4. Utilization of some plants and microorganisms found at the Study Center, Hariphunchai, was studied. Important components of potent biologic strains of bamboo for used as the taxonomical characteristics were conducted using thin-layer chromatography fingerprints. It was found that the characteristics fingerprint on thin-layer chromatography of sweet bamboo (Bambusa sp.) could be used for its differentiation from other bamboo except for the yellow bamboo using the system of DVS 1st (chloroform : methanol 95 : 5) under normal light and UV at 254 nm. However, differentiation of these two bamboo could be distinguished by using the system of DVS 1st (chloroform : methanol 95 : 5) and DVS 2nd (toluene : ethylacetate 93 : 7) under UV at 365 nm. From these results, it was possibly that the fingerprints on thin-layer chromatography could be used for proving the characteristics, strain and biovar taxonomies, and the quality controil of extraction. The second study was mentioned on the discovery of antibacterial actinomyces which collected from soil. Among total discovered isolates of actinomyces, 65.41% of them possessed the antibacterial activity against 4 tested bacteria, E. coli, P. aeruginosa, K. pneumoniae, and A. baumannii. Results revealed that isolate A67/204 possessed the strongest antibacterial activity against the multidrug resistant strains of 4 pathogenic bacteria. Its strong activity was detected at 24 hours of incubation. The active ingredients were possibly as the proteinaceous compounds which active under acid condition, resist to heat and sensitive to proteases. After protein extraction, the gradually reduction of its activity was observed. Its identification should be further studied. The third study was performed about the prebiotic property of some soil mushroom for improving the numbers and antibacterial activity of Lactobacillus fermentus LF16, the probiotic strain. The increase of antibacterial activity was detected after cocultured between the tested lactobacillus strain, Ra-ngok-koa mushroom and glucose. It may be suggested that this coculture system could increase the antibacterial activity of the developed symbiotic. The increase of antibacterial activity may be due to the effect of the active microbicidal protein produced from lactobacillus, namely the bacteriocins. However, this compound and its effect should be further elucidated. 5. Horticultural plant utilization as new potential crops from Chiang Mai University Study Center ‘Hariphunchai’ was conducted. Three species of plants were chosen, i.e. Somchaba (Abelmoschus moschatus subsp. tuberosus Borss. Waalk ), Kaempferia spp. and Kammoknoi (Gardenia obtusifolia Roxb.). Three different aspects were conducted i.e. methods of crop improvement, life cycle and factors effects growth and development and in vitro propagation. It was found that feasibility of using conventional breeding method for Somchaba and Kaempferia was low. Alternative method such as applying colchicines might work. Growth and development of Somchaba was studied. It was found that plant obtaining from seeds grew better than those from cuttings. In addition, under cultivation, Somchaba had no dormancy period whereas in natural condition, dormancy was found during winter season. Plant grown under 50 % shading grew better than those under full sun. Responses of Somchaba towards applications of fertilizer and growth retardant, paclobutrazol, were not significantly different. In vitro propagation of Kammoknoi was also conducted using modified SH (Schenk and Hildebrandt, 1972). It was found that plant growth regulators i.e. IBA, TDZ and NAA had effects on growth of Kammoknoi. Combination of IBA and TDZ could yield better shoots and roots than others.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2552-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2553-09-30
เอกสารแนบ: https://tnrr.nriis.go.th/#/services/research-report/detail/246200
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การใช้ประโยชน์ทางด้านการแพทย์ และการเกษตรจากความหลากหลายของพืชและจุลินทรีย์เพื่อสนองพระราชดำริในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
30 กันยายน 2553
เอกสารแนบ 1
โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มหาวิทยาลัยขอนแก่น โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี การทดลองปลูกขยายพันธุ์พืชบางชนิด ที่สำรวจพบในพื้นที่ โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พื้นที่มหาวิทยาลัยนเรศวร พะเยา อ.เมือง จ.พะเยา สภาพพื้นที่ ภูมิประเทศ และการเปลี่ยนแปลงของสภาพป่าของแต่ละฤดูในบริเวณ โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เขื่อนอุบลรัตน์ โครงการอนุรักษ์พันธุ์กรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ โครงการวิจัยคัดเลือกจุลินทรีย์เพิ่มความอุดมสมบูรณ์และป้องกันโรคพืชในดินเพื่อเพิ่มผลผลิตพืช การศึกษามาตรฐานและสารสำคัญจากพืชสมุนไพร ในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มหาวิทยาลัยขอนแก่น พื้นที่เขื่อนอุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น การสำรวจและจัดทำฐานข้อมูลความหลากหลายของสัตว์ขาปล้องที่มีความสำคัญทางการแพทย์ในพื้นที่โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เขาวังเขมร จังหวัดกา สภาพพื้นที่ ภูมิประเทศ และการเปลี่ยนแปลงของสภาพป่าของแต่ละฤดูในบริเวณ โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เขื่อนอุบลรัตน์และเขื่อนจุฬาภรณ์ ความหลากหลายและการใช้ประโยชน์พื้นบ้านของพืชวงศ์กล้วยไม้ใน อ.กุดบาก จ.สกลนคร ภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชด
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก