สืบค้นงานวิจัย
สถานภาพและปัญหาในการผลิตกุหลาบของภาคเหนือ
พัฒนา เจียรวิริยะพันธ์ - มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ชื่อเรื่อง: สถานภาพและปัญหาในการผลิตกุหลาบของภาคเหนือ
ชื่อเรื่อง (EN): Status ad Problems of Rose Production in Northern Thailand
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: พัฒนา เจียรวิริยะพันธ์
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Pattana Jierwiriyapant
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: พื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทยเป็นแหล่งปลูกกุหลาบตัดดอกที่สำคัญของประเทศ ในปี 2541 กุหลาบ 2,863.20 ไร่ใน 10 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย ตาก ลำพูน พิจิตร อุตรดิตถ์ นครสวรรค์สุโขทัย พะเยา และแม่ฮ่องสอน รวม 43 อำเภอ 83 ตำบล 142 หมู่บ้าน พบว่าเกษตรกรผู้ปลูกกุหลาบส่วนใหญ่เป็นเพศชายมีอายุระหว่าง 41-50 ปี และมีการใช้แรงงานชายหรือหญิงในครัวเรือน 1 คน โดยมีพื้นที่ถือครองเป็นของตนเองและมีพื้นที่ต่อรายน้อยกว่า 20 ไร่ มีประสบการณ์ในการปลูกกุหลาบเฉลี่ยน้อยกว่าหรือเท่ากับ 2 ปี โดยทั่วไปการผลิตกุหลาบมีลักษณะการปลูกนอกโรงเรือนมีจำนวนกุหลาบเฉลี่ย 3,000-4,000 ตันต่อไร่ ใช้แหล่งน้ำจากแม่น้ำและลำคลอง โดยมีระบบการให้น้ำในแปลงแบบปล่อยน้ำท่วมแปลงมีระยะเวลาการให้น้ำเฉลี่ยประมาณ 10 วันต่อครั้ง ให้ครั้งละ 2-3 ชั่วโมง และมีกิ่งพันธุ์ ที่ใช้แบบติดตาที่ซื้อจากสวนกุหลาบจังหวัดเชียงใหม่และนครปฐม วิธีการปลูกเป็นแถวคู่ มีขนาดความกว้างของแปลงเฉลี่ย 1-1.50 ม. และมีความยาวตามขนาดของพื้นที่ มีวิธีการทำแปลงแบบยกแปลง ระยะห่างระหว่างต้น 41-55x55 ซม. การวางแปลงวาง ตามลักษณะพื้นที่ในทิศทางแนวเหนือ-ใต้ ในส่วนของการให้ปุ๋ยมีการใช้ปุ๋ยคอกก่อนการปลูก และหลังการปลูกให้ปุ๋ยเคมีทางราก และทางใบ 2 ครั้งต่อเดือน มีการตัดแต่งกิ่งสม่ำเสมอ และใช้สารเร่งการเจริญเติบโต เช่น Biotika, GA และ Polyair พันธุ์กุหลาบที่นิยมปลูกเช่น Dallus, Kardinal, Saphir, Diplomat และ Tineke สีที่นิยมจะเป็นสีแดง ชมพู และสีขาว ส่วนสีเหลืองนั้นนิยมปลูกน้อยที่สุด โดยทั่วไปเกษตรกรทำการตัดดอกกุหลาบทุกวันในช่วงเช้านำไปแช่น้ำธรรมดา การห่อดอกกุหลาบจะใช้หนังสือพิมพ์โดยบรรจุ 50 ดอกต่อห่อ ไม่มีการใช้ห้องเย็นในการเก็บรักษา ทำการขนส่งดอกกุหลาบโดยรถจักรยานยนต์ รถโดยสาร ให้แก่พ่อค้าส่ง การกำหนดราคากำหนดตามความยาวช่อดอกซึ่งในแต่ละพื้นที่ปลูกมีความแตกต่างกันมากพอสมควร เช่นที่จังหวัดเชียงใหม่ ความยาวช่อ 30-35 ซม. ราคาอยู่ในช่วง 0.60-4.00 บาท/ดอก ในขณะที่จังหวัดตากราคาอยู่ในช่วง 0.40-0.50 บาท/ดอก ส่วนดอกที่มีความยาวช่อดอกมากกว่า 45-55 ซม. ที่จังหวัดเชียงใหม่ราคา 1.50-10.00 บาท/ดอก ขณะที่จังหวัดตากราคา 0.60-2.20 บาท/ดอก โดยมีการจ่ายเงินค่าดอกกุหลาบให้แก่เกษตรกรเฉลี่ย 2-10 วันต่อครั้ง พบว่าปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในการผลิตกุหลาบคือ ปัญหาโรคและแมลง รองลงมาเป็นปัญหาอื่น ๆ เช่นขาดสายพันธุ์ใหม่ การตลาดขนาดดอกเล็กในฤดูร้อน การขาดน้ำ และราคาของปุ๋ยและยาฆ่าแมลงที่มีราคาแพง ปัญหาโรคและแมลงเป็นปัญหาหลัก โรคที่พบมากที่สุดในการปลูกกุหลาบ คือ โรคราน้ำค้าง ราแป้งและใบจุดดำ ในพื้นที่เกือบทุกจังหวัด รองลงมา คือโรคใบร่วง พบในจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย และลำพูน โรค Dye back พบที่จังหวัดตาก เชียงใหม่ และอุตรดิตถ์ แมลงศัตรูพืชที่นับว่าเป็นปัญหามากที่สุด คือไรแดง รองลงมาคือ เพลี้ยไฟ และหนอนเจาะดอก ศัตรูพืชทั้ง 3 ชนิดนี้ ระบาดในทุกสายพันธุ์และทุกจังหวัดที่ปลูก การป้องกันกำจัดโรคและแมลง เกษตรกรส่วนใหญ่ใช้สารเคมีฉีดพ่นสลับกัน 1-9 ชนิดตามความเหมาะสม เช่น Apron, Benlate, Dithane และ Lannate เป็นต้น มีเกษตรกรหนึ่งรายใช้ไฟล่อแมลงและใช้ถังรองน้ำผสมสบู่หรือยาฆ่าแมลง และสร้างโรงเรือนเพื่อลดปริมาณแมลงในการเข้าทำลาย ในด้านของการจำหน่ายมีปัญหาด้านราคา และปริมาณความสม่ำเสมอของผลผลิตในการขาย เป็นต้น
บทคัดย่อ (EN): The northern region of Thailand is the major area for cut rose production. In 1998 the production area were about 2,863.20 rais in 10 provinces, i.e. Chiang Mai, Chiangrai, Tak, Lumphun, Pijit, Uttaradit, Nakornsawan, Sukhothai, Payao and Maehongsong, covering 43 Amphur 83 Tumbon 142 Muban. Most of the rose farm owners were men from 41 to 50 years of age. The labor was from either man or woman within the family. Generally, rose farmer owned his land with less than 20 rais per household. Most farmer had less than 2 years-experience in rose production. Generally, rose productions were outdoor productions with about 3,000-4,000 plants per rai. The main sources of water were from river and canal. Flood irrigation system was applied at ten day intervals, at a rate of 2-3 hours a time. Plants from budding type stock, buying from Chiang Mai and Nakormpratom, were commonly used in production. Roses were grown two rows in a bed. The width of the upright bed was about 1-1.50 meter while the length depended on the condition of land. Average planting space was about 41-55x55 cm with two rows in a bed with north-south direction. Amendments such as organic and inorganic fertilizer were added during preparation. After planting, inorganic fertilizer was applied twice a month, through roots and Leaves. Pruning was done regularly as well as the application of growth promotors, i.e. Biotika, GA and Polyair. The most popular rose cultivars were Dallus, Kardinal, Saphir, Diplomat and Tineke. The favorable colors were red, pink and white. Yellow was less popular. Generally, farmers daily cut flowers in the morning. As soon as the flowers were cut, they were put in tapped water. For normal packing, fifty flowers were wrapped in a piece of newspaper without any cold storage. Flowers were transported via motorcycle or minibus to the wholesalers. Price varied according to the length of flower stem, which were quite different among provinces, such as in Chiang Mai, stem length of 30-35 cm, prices ranging from 0.60 to 4.00 Baht per flower. Whereas in Tak, prices of the same grade were 0.40- 0.50 Baht per flower. Prices in Chiang Mai for stem length between 45 and 55 cm, were 1.50-10.00 Baht. While in Tak the prices were 0.60-2.20 Baht per flower. On the average, the payment to farmers was done every 2 to 10 days. The main problems for rose production were diseases and insects. The other problems were lack of new cultivars, marketing, small size of flowers in summer, scarce water and high prices of fertilizer and pesticide. The most important discases found in rose production almost in every province were downy mildew, powdery mildew and black spot. There was also anthracnose spreaded in Chiang Mai, Chiang Rai, and Lumphun. Dye back was found in Tak, Chiang Mai, and Uttaradit. The major insect problems found in every cultivar were mite followed by thrips and flower borers. For disease and insect protections, most of the farmers sprayed 1-9 kinds of chemicals rotatingly such as Apron, Benlate, Ditbane, Lannate, etc. One farmer used light trap and kill numbers of insects using a jar containing water mixed with soap or pesticide, he also built a plastic house to reduce insects. Marketing problems for farmers were low price and irregular supply of the production.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2542
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2543
เอกสารแนบ: https://li01.tci-thaijo.org/index.php/joacmu/article/view/247124/169331
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
สถานภาพและปัญหาในการผลิตกุหลาบของภาคเหนือ
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
2543
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
สภาพนิเวศเกษตร เศรษฐกิจและสังคมของระบบการผลิตข้าวนาน้ำฝนในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ธุรกิจการผลิตของกลุ่มสตรีสหกรณ์ภาคเหนือตอนบน การพัฒนาศักยภาพของระบบการผลิตกุ้งก้ามกรามในเขตภาคเหนือ การพัฒนาศักยภาพของระบบการผลิตกุ้งก้ามกรามในเขตภาคเหนือ ประสิทธิภาพการผลิตลำไยของเกษตรกรในเขตภาคเหนือตอนบน การปรับปรุงพันธุ์ข้าวสาลีในภาคเหนือตอนบน สถานการณ์การระบาดของแมลงศัตรูข้าวภาคเหนือตอนบน การเปรียบเทียบการใช้ปุ๋ยแอมโมเนียมฟอสเฟตและยูเรียใส่สลับเป็นปุ๋ยรองพื้นและแต่งหน้าเพิ่มผลผลิตข้าวไวและไม่ไวต่อช่วงแสงในภาคเหนือ ประสิทธิผลการผลิตข้าวแปลงใหญ่ของเกษตรกรในเขตภาคเหนือตอนบน การใช้ข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียม SMMS และ DVB-S เพื่อการปฏิบัติการและประเมินผลฝนหลวงในภาคเหนือ

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก