สืบค้นงานวิจัย
ผลของวิธีการให้อาหารผสมเสร็จที่มีระดับโปรตีนต่างกันต่อสมรรถนะการเจริญเติบโตชองโคเนื้อพันธุ์กบินทร์บุรี
สุมน โพธิ์จันทร์ - กรมปศุสัตว์
ชื่อเรื่อง: ผลของวิธีการให้อาหารผสมเสร็จที่มีระดับโปรตีนต่างกันต่อสมรรถนะการเจริญเติบโตชองโคเนื้อพันธุ์กบินทร์บุรี
ชื่อเรื่อง (EN): Effect of feeding method with different levels of protein on growth performance of Kabinburi beef cattle
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สุมน โพธิ์จันทร์
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Sumon Phojun
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: จีระศักดิ์ ชอบแต่ง
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN): Jeerasak Chobtang
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การศึกษาผลของวิธีการให้อาหารผสมเสร็จที่มีโปรตีนหยาบ 11.0 เปอร์เซ็นต์ ตลอดระยะ การขุน (กลุ่มที่ 1) เปรียบเทียบกับการให้อาหารผสมเสร็จที่มีโปรตีนหยาบ 14.0 เปอร์เซ็นต์ ตั้งแต่ ระยะเริ่มขุน จนโคเพิ่มน้ำหนักได้ 100 กิโลกรัม จากนั้นจึงเปลี่ยนมาให้อาหารผสมเสร็จที่มีโปรตีน หยาบ 9.0 เปอร์เซ็นต์ (กลุ่มที่ 2) ต่อสมรรถนะการเจริญเติบโตของโคพันธุ์กบินทร์บุรีเพศผู้ ที่อายุ 8 - 9 เดือน น้ำหนักเฉลี่ย 275 กิโลกรัม วางแผนการทดลองแบบเปรียบเทียบประชากร 2 กลุ่ม (Group comparison t-test) กลุ่มละ 5 ซ้ำ บันทึกปริมาณวัตถุแห้งของอาหารและปริมาณโปรตีนที่โคกินได้ รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงน้ำหนักตัวของโค ดำเนินการทดลองนาน 227 วัน ผลการทดลอง พบว่า โคทดลองกลุ่มที่ 1 และ 2 มีน้ำหนักสิ้นสุดการทดลอง ( 484.88 และ 492.66 กิโลกรัม ) น้ำหนักเพิ่ม ( 207.08 และ 22 1.16 กิโลกรัม ) อัตราการเจริญเติบโต ( 912.23 และ 974.25 กรัมต่อวัน วัตถุแห้งที่กินได้ ( 7.92 และ 8.07 กิโลกรัมต่อวัน ) โปรตีนหยาบที่กินได้ (0.74 และ 0.75 กิโลกรัมต่อวัน ) ประสิทธิภาพการเปลี่ยนอาหาร ( 8.81 และ 8.29 ) และ ประสิทธิภาพการใช้อาหาร ( 0.118 และ 0.123) ตามลำดับ ไม่แตกต่างกันทางสถิติในทุกลักษณะ (P > 0.05) ดังนั้นในการขุนโคพันธุ์กบินทร์บุรีเพศผู้เกษตรกรสามารถเลือกใช้วิธีการให้อาหารได้ทั้ง 2 แบบ โดยไม่มีผลกระทบต่อสมรรถนะการเจริญเติบโตของโค
บทคัดย่อ (EN): A study aimed to compare growth performance of Kabinburi bulls with 8-9 months of age and 275 kg of initial body weight. The cattle were fed on Total Mixed Rations (TMR) contained 11.0 % crude protein (CP) throughout the fattening period (Group I) and fed TMR contained 14.0 % CP tilled approximate 100 kg of body gain and then reduce to 9.0 % CP for the remaining fattening period (Group II). All data of dry matter was conducted. Dry matter, CP intake and body weight changes were recorded. Group comparison t-test was used for statistical analysis with 5 replications. The experiment was lasted for 227 days. The results show that final body weight (484.88 and 492.66 kg), body weight gain (207.08 and 221.16 kg), average daily gain (912.23 and 974.25 gm/d), dry matter intake (7.92 and 8.07 kg/d), crude protein intake (0.74 and 0.75 kg/d), feed conversion ratio (8.81 and 8.29) and feed efficiency (0.118 and 0.123) characteristics of Group I and Group II cattle were not significantly different (p>0.05). To sum up, two choices of feeding regimen are not negatively affected Kabinburi beef cattle growth performance.
แผนยุทธศาสตร์งานวิจัย – ระดับกรม: สำนักพัฒนาอาหารสัตว์
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2551
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2552
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กองอาหารสัตว์ กรมปศุสัตว์
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ผลของวิธีการให้อาหารผสมเสร็จที่มีระดับโปรตีนต่างกันต่อสมรรถนะการเจริญเติบโตชองโคเนื้อพันธุ์กบินทร์บุรี
กองอาหารสัตว์ กรมปศุสัตว์
2552
เอกสารแนบ 1
กรมปศุสัตว์
ผลของระดับโปรตีนในอาหารผสมเสร็จต่อสมรรถนะการเจริญเติบโต ของแพะพื้นเมืองเพศผู้อายุ 1-2 ปี อิทธิพลของระดับโปรตีนต่อสมรรถนะการเจริญเติบโตของลูกสุกรน้ำหนัก 5 ถึง 10 กิโลกรัม ระดับโปรตีนในอาหารที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของปลาโมง(Pangasius bocourtir Sauvage, 1830) อิทธิพลของระดับโปรตีนต่อสมรรถนะการเจริญเติบโตของลูกสุกรพันธุ์ดูรอคและลูกผสม ผลของระดับทางปาล์มในอาหารผสมเสร็จต่อสมรรถนะการเจริญเติบโตของแพะเนื้อ การใช้อาหารผสมเสร็จที่มีระดับโปรตีนต่างกันเลี้ยงแพะเนื้อ ความต้องการโปรตีนและพลังงานเพื่อการเจริญเติบโตของโคบราห์มันพันธุ์แท้เพศผู้ ผลของระดับโปรตีนและความถี่ในการให้อาหารต่อการเจริญเติบโตของปลานิลแปลงเพศขนาดกลาง ผลการทดลองขุนโคเนื้อ การใช้อาหารผสมเสร็จที่มีเปลือกสับปะรดเป็นส่วนประกอบสำหรับโครีดนม

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก