สืบค้นงานวิจัย
ระดับพลังงานที่เหมาะสมในอาหารต่อการเจริญเติบโตของลูกปูม้า (Portunus pelagicus Linnaeus, 1758)
มนทกานติ ท้ามติ้น, สุพิศ ทองรอด, ชัชวาลี ชัยศรี - กรมประมง
ชื่อเรื่อง: ระดับพลังงานที่เหมาะสมในอาหารต่อการเจริญเติบโตของลูกปูม้า (Portunus pelagicus Linnaeus, 1758)
ชื่อเรื่อง (EN): Optimum gross energy level in diet for growth of young swimming crab (Portunus pelagicus)
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: ศึกษาผลของระดับพลังงานที่เหมาะสมในอาหารสําเร็จรูปต่อการเจริญเติบโตของลูกปูม้า (Portunus pelagicus, Linneaus 1758) การทดลองมี 6 ชุดการทดลอง ตามสูตรอาหาร 6 สูตรซึ่งมีระดับโปรตีน 2 ระดับคือ 35 และ 41% และแต่ละระดับมีพลังงาน 3 ระดับ โดยแสดงเป็นสัดส่วน โปรตีน (% นํ้าหนักแห้ง) ต่อพลังงานรวม (กิโลแคลอรี่ต่ออาหาร 100 กรัม) ตามลําดับชุดการทดลอง ที่ 1-6 ดังนี้ 35/376, 35/392, 34/406, 41/381, 42/399 และ 41/390 และมีค่าอัตราส่วนพลังงานจากโปรตีนต่อพลังงานรวม (Protein Energy to Gross Energy; PE/GE) เท่ากบ ั 0.52, 0.50,0.47, 0.61, 0.59 และ 0.59 ตามลําดับ สุ่มลูกปูม้าที่มีนํ้าหนักเริ่มต้น 0.4 กรัม ความกว้างกระดอง 0.6 เซนติเมตรและความยาวกระดอง 1.0-1.1 เซนติเมตรใส่ลงในถังทดลองที่ก้นเป็ นช ั ่อง อัตราการปล่อย 1 ตัวต่อ 1 ช่อง จํานวน 20 ตัว (ซํ้า) ต่อชุดการทดลอง สิ้นสุดการทดลองเมื่อเลี้ยงครบ 12 สัปดาห์ ผลการทดลองพบวา่ อัตราส่วนของพลังงานจากโปรตีนต่อพลังงานรวมมีผลต่อขนาดและอัตราการเจริญเติบโตโดยนํ้าหนักที่เพิ่มขึ้นของลูกปูม้าอยางมีนัยสําคัญ ่ ทางสถิติ (p<0.05) ลูกปูม้า ชุดการทดลองที่ 1, 5 และ 6 มีนํ้าหนักเฉลี่ยและนํ้าหนักที่เพิ่มขึ้นมากกวาลูกปูม้าในชุดการทดลองที่ ่2 และ 3, 4 อยางมีนัยสําคัญทางสถิติ โดยลูกปูม้าในชุดการทดลองที่ ่ 1,5 และ 6 มีนํ้าหนักเฉลี่ย 11.06, 11.41 และ 11.07 กรัม มากกวาลูกปูม้าในชุดการทดลองที่ ่ 2 ที่มีนํ้าหนักเฉลี่ย 9.59 กรัม ส่วนลูกปูม้าชุดการทดลองที่ 3 และ 4 มีนํ้าหนักน้อยที่สุดและมีค่าเท่ากบ ั 7.27 และ 7.32 กรัม ตามลําดับ ผลของการเจริญเติบโตโดยนํ้าหนักที่เพิ่มขึ้นเป็ นไปในแนวทางเดียวกนกั บนํ ั ้าหนักเฉลี่ย โดยลูกปูม้าในชุดการทดลองที่ 1, 5 และ 6 มีนํ้าหนักที่เพิ่มขึ้นมากที่สุดและมีคา่ เท่ากบ ั 2664, 2753, 2668 % อันดับรองลงมาเป็ นลูกปูชุดการทดลองที่ 2 มีนํ้าหนักที่เพิ่มขึ้นเท่ากบ ั 2298% ลําดับสุดท้ายเป็ นลูกปูชุดการทดลองที่ 3 และ 4 ซึ่งมีค่านํ้าหนักที่เพิ่มขึ้นเท่ากบ ั 1718 และ 1640% ตามลําดับ จากผลการทดลองสรุปได้วาอัตราส ่ ่วนระหวาง่ PE/GE ในอาหารสําเร็จรูปที่เหมาะสมต่อลูกปูม้ามีค่าอยูใน่ ช่วง 0.52-0.59 อัตราส่วน PE/GE ในอาหารที่มีค่าน้อยกวาหรือมากกว ่ าระดับที่ ่เหมาะสม ได้แก่ 0.47 หรือ 0.61 ในการศึกษาครั้งนี้ทําให้ลูกปูม้ามีอัตราการเจริญเติบโตช้า ผลจากการศึกษาในครั้งนี้แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์กนระหว ั างสัดส ่ ่วนของโปรตีนและต่อพลังงานในอาหารปูม้าและควรเพิ่มระดับพลังงานในอาหารเมื่อสัดส่วนของโปรตีนในอาหารเพิ่มขึ้น
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2550-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2552-03-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมประมง
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ระดับพลังงานที่เหมาะสมในอาหารต่อการเจริญเติบโตของลูกปูม้า (Portunus pelagicus Linnaeus, 1758)
กรมประมง
30 มีนาคม 2552
กรมประมง
ผลของวิตามินซีต่อการเจริญเติบโต อัตรารอดตายและการลอกคราบของปูม้า (Portunus pelagicus, Linnaeus 1758) ผลของการเสริม Schizochytrium limacinum(D.Honda & Yokochi, 1998) 4 ระดับ ในการอนุบาลลูกปูม้า (Portunus pelagicus Linnaeus, 1758) ระดับโปรตีนและพลังงานที่เหมาะสมในอาหารปลาสลิด ความหนาแน่นที่เหมาะสมสำหรับการอนุบาลลูกปูม้า(Portunus pelagicus Linnaeus, 1758) ในระบบน้ำหมุนเวียน ระดับโปรตีนและพลังงานที่เหมาะสมในอาหารสำหรับปลาเทพา ระดับโปรตีนและพลังงานที่เหมาะสมในอาหารสำหรับปลากระดี่หม้อ ระดับโปรตีนและพลังงานที่เหมาะสมในอาหารปลาอีกงวัยรุ่น ระดับโปรตีนและพลังงานที่เหมาะสมในอาหารปลาสวายโมงขนาดเล็ก เมตาบอลิซึมของรงควัตถุชนิดต่าง ๆ ต่อการเจริญเติบโต อัตรารอดตาย การลอกคราบและเมตาบอลิซึมของปูม้า(Portunus pelagicus, Linnaeus 1758) การอนุบาลลูกปูม้า (Portunus pelagicus Linnaeus, 1758) โดยการเสริมจุลินทรีย์ ปม.1

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก