สืบค้นงานวิจัย
การตอบสนองของภูมิคุ้มกันและการเปลี่ยนแปลงทางชีวเคมีของน้ำเลือดปลากะพงขาว (Lates calcarifer Bloch, 1790) หลังการติดเชื้อสเตรปโตคอคคัส
จำเริญศรี ถาวรสุวรรณ - กรมประมง
ชื่อเรื่อง: การตอบสนองของภูมิคุ้มกันและการเปลี่ยนแปลงทางชีวเคมีของน้ำเลือดปลากะพงขาว (Lates calcarifer Bloch, 1790) หลังการติดเชื้อสเตรปโตคอคคัส
ชื่อเรื่อง (EN): Immunological Responses and Plasma Biochemistry Changes in Sea Bass (Lates calcarifer Bloch, 1790) post Streptococcus sp. infection
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: จำเริญศรี ถาวรสุวรรณ
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Jumroensri Thawonsuwan
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: ปลากะพงขาว (Sea bass, Lates calcarifer) เป็นปลาที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจของประเทศไทย ปัญหาสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้การเลี้ยงไม่ประสบผลสำเร็จคือโรคติดเชื้อ ได้แก่ โปรโตซัว (parasitic protozoa) แบคทีเรีย (bacteria) และไวรัส (virus) ซึ่งนำความเสียหายมาสู่เกษตรกรเป็นอย่างมาก เชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคในปลากะพงขาวได้แก่แฟลกซิแบคเตอร์ (Flexibacter spp.) วิบริโอพาราฮีโมไลติคัส (Vibrio parahaemolyticus) วิบริโอแอลจิโนไลติคัส (Vibrio alginilyticus) และ สเตรปโตคอคคัส (Strptococcus spp.) โดยเฉพาะเชื้อสเตรปโตคอคคัสเป็นเชื้อที่ก่อโรคสเตรปโตคอคโคซิส ซึ่งมีความรุนแรงและทำให้ปลาตายภายใน 24-72 ชั่วโมง (เยาวนิตย์และคณะ 2543 อ้างตาม เฉลิมและคณะ 2548) ระบบภูมิคุ้มกันโรค (Immune system) เป็นกลไกสำคัญที่ปลาใช้ในการป้องกันตัวเองจากเชื้อโรคและสิ่งเร้าภายนอก เป็นการทำงานร่วมกันของอวัยวะ เซลล์ และสารน้ำ โดยมีการตอบสนอง 2 แบบคือแบบไม่จำเพาะเจาะจง (Non-specific response) และแบบจำเพาะเจาะจง (Specific response) ปลามีระบบการทำงานของภูมิคุ้มกันแบบจำเพาะที่ยังพัฒนาไม่เต็มที่เหมือนในสัตว์ชั้นสูงทั่วไป ดังนั้นปลาจึงอาศัยการตอบสนองแบบไม่จำเพาะเป็นส่วนใหญ่ โดยเริ่มจากการทำงานของสิ่งกีดขวางภายนอก (Physical barriers) ได้แก่ เกล็ด ผิวหนัง และเยื่อเมือกต่างๆ นอกจากนี้ยังมีการทำงานของเซลล์เม็ดเลือดผ่านกระบวนการการจับกินสิ่งแปลกปลอม (Phagocytosis) สารประกอบโปรตีนที่สร้างจากเม็ดเลือดหรืออวัยวะที่มีผลิตเม็ดเลือดหรืออวัยวะที่เป็นแหล่งรวมของและการทำงานของสารน้ำซึ่งส่วนใหญ่เป็นเม็ดเลือด สารน้ำดังกล่าวจะหลั่งออกสู่กระแสเลือดและมีฤทธิ์ในการทำลายเชื้อโรคได้ สารน้ำที่มีความสำคัญและมีการตรวจวัดบ่อยครั้งในการวิจัยในปลาได้แก่ ไลโซไซม์ (Lysozyme) และคอมพลีเมนท์ (Complement) ซึ่งเป็นโปรตีนในน้ำเลือดที่สามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรียได้ แต่อย่างไรก็ตามปลาแต่ละชนิดมีค่าการทำงานของสารดังกล่าวแตกต่างกัน อีกทั้งยังแตกต่างกันตามชนิดของเชื้อก่อโรคอีกด้วย องค์ประกอบเลือดได้แก่เม็ดเลือด (Blood cell) และคุณสมบัติทางเคมีของเลือด (Chemical properties of the blood) สามารถใช้บ่งชี้สุขภาพปลาได้ (Maita et al., 1998; Chansue and Vongpakorn, 2006) ปลามีเม็ดเลือดแดงเป็นองค์ประกอบสำคัญในการขนส่งออกซิเจน และมีเม็ดเลือดขาวทำหน้าที่ในระบบภูมิคุ้มกันในการต่อสู้กับเชื้อโรคผ่านกระบวนการต่างๆ การตรวจวัดจำนวนหรือปริมาณเม็ดเลือดแต่ละชนิดจึงมีความสำคัญในการชี้วัดสุขภาพของปลา งานวิจัยที่ศึกษาภูมิคุ้มกันในปลาส่วนใหญ่ตรวจวัดค่าองค์ประกอบเลือดได้แก่ปริมาณเม็ดเลือดรวม (Total blood cell count) ในระบบไหลเวียน เนื่องจากเม็ดเลือดทำหน้าที่ตอบสนองภูมิคุ้มกันด้านเซลล์โดยตรง การลดลงหรือเพิ่มขึ้นของปริมาณเม็ดเลือดสามารถใช้เป็นตัวชี้วัดสุขภาพปลาได้ สำหรับการตอบสนองของภูมิคุ้มกันด้านสารน้ำที่มีการตรวจวัดบ่อยครั้งในปลาได้แก่ ปริมาณโปรตีน (Protein) ค่ากิจกรรมไลโซไซม์ (Balfry and Iwama, 2004) และค่ากิจกรรมคอมพลีเมนท์ (Nikoskelainen et al., 2002) สารน้ำดังกล่าวมีฤทธิ์ต่างๆ กัน ในการยับยั้งและทำลายเชื้อแบคทีเรียและสามารถใช้บ่งชี้ความสามารถในการต้านทานเชื้อโรคของปลาได้ อย่างไรก็ตาม ค่าองค์ประกอบเลือดและภูมิคุ้มกันดังกล่าวข้างต้นเปลี่ยนแปลงตามชนิดและขนาดปลา (Magnadóttir et al., 1999) การตรวจวัดข้อมูลค่าองค์ประกอบเลือดเช่นจำนวนเม็ดเลือดแดง จำนวนเม็ดเลือดขาว เปอร์เซ็นต์เม็ดเลือดแต่ละชนิด และค่าทางเคมีของน้ำเลือดได้แก่ ปริมาณโปรตีน กลูโคส โคเลสเตอรอล เป็นต้น ตลอดทั้งค่าการตอบสนองของสารน้ำได้แก่กิจกรรมไลโซไซม์ และค่ากิจกรรมคอมพลีเมนท์ เป็นต้น และการตอบสนองของเซลล์ เช่น การจับกินสิ่งแปลกปลอม และการสร้างอนุมูลอิสระของปลาที่อยู่ในสภาวะติดเชื้อเปรียบเทียบกับปลาปกติ จึงมีความสำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันและควบคุมโรค ปัญหาเรื่องโรคติดเชื้อแบคทีเรียเป็นอุปสรรคในการเลี้ยงปลากะพงขาวโดยเฉพาะอย่างยิ่งเชื้อแบคทีเรียกลุ่ม สเตรปโตคอคคัส (Streptococcus sp.) ซึ่งทำให้เกิดโรคสเตรปโตคอคโคซีส (Streptococcosis) นำความเสียหายทางเศรษฐกิจมาให้เกษตรกรค่อนข้างมาก การตอบสนองของภูมิคุ้มกันเป็นกลไกสำคัญในการต่อสู้กับเชื้อโรค ซึ่งกลไกดังกล่าวประกอบด้วยการทำงานร่วมกันของ อวัยวะ เซลล์และสารน้ำ การควบคุมโรคต้องอาศัยข้อมูลการตอบสนองของปลาต่อเชื้อที่เข้ามา รวมทั้งข้อมูลการเปลี่ยนแปลงขององค์ประกอบเลือด คุณสมบัติทางเคมีของน้ำเลือดหลังจากปลาได้รับเชื้อ ซึ่งข้อมูลดังกล่าวยังมีน้อยมากในปลากะพงขาว จึงมีความจำเป็นต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อให้สามารถนำมาใช้ในการควบคุมโรค สเตรปโตคอคโคซีสในปลากะพงขาวต่อไป
บทคัดย่อ (EN): No information found from agency.
ชื่อแหล่งทุน: เงินงบประมาณแผ่นดิน
จำนวนเงินตามสัญญารับงานวิจัย: 150,000.00
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2553-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2554-12-31
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
ปีที่ได้รับงบประมาณ (ระบุได้มากกว่า 1 ปี): 2554
ประเภทชิ้นงาน: การวิจัยประยุกต์
เผยแพร่โดย: กรมประมง
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การตอบสนองของภูมิคุ้มกันและการเปลี่ยนแปลงทางชีวเคมีของน้ำเลือดปลากะพงขาว (Lates calcarifer Bloch, 1790) หลังการติดเชื้อสเตรปโตคอคคัส
กรมประมง
31 ธันวาคม 2554
กรมประมง
ผลของขมิ้นชัน (Curcuma longa L.) ต่อการตอบสนองภูมิคุ้มกันและความต้านทานเชื้อแบคทีเรียในปลากะพงขาว (Lates calcarifer Bloch, 1790) ที่เลี้ยงในกระชัง ผลของสารสกัดหยาบฟ้าทะลายโจรต่อระบบภูมิคุ้มกันและความต้านทานเชื้อสเตรปโตคอคคัสในปลากะพงขาว (Lates calcarifer Bloch, 1790) ที่เลี้ยงในกระชัง ผลของความเค็มที่ลดลงต่อองค์ประกอบเลือดภูมิคุมกัน และการติดเชื้อ Streptococcus iniae ในปลากะพงขาว (Lates calcarifer Bloch, 1790) ผลของอุณหภูมิต่อองค์ประกอบเลือดและการตอบสนองภูมิคุ้มกันของปลากะพงขาว ผลของเบต้ากลูแคนต่อองค์ประกอบเลือด ระบบภูมิคุ้มกันแบบไม่จำเพาะ และความต้านทานโรคสเตรปโตคอคคัสในปลากะพงขาว (Lates calcarifer Bloch, 1790) ผลของขมิ้นชัน (Curcumin longa L.) ที่เสริมในอาหารต่อภูมิคุ้มกันแบบไม่จำเพาะและความต้านทานเชื้อแบคทีเรียในปลากะรัง การใช้ยีน MyD88 เป็นยีนติดตาม (gene Marker) ประสิทธิภาพสารกระตุ้นภูมิคุ้มกันในปลากะพงขาว (lates calcarifer) การใช้สารสกัดเมมเบรนโปรตีนจากปรสิต Cryptocaryon irritans กระตุ้นภูมิคุ้มกันของปลากะพงขาว ผลของเมลามีนในอาหารต่อการเจริญเติบโตและการเปลี่ยนแปลงพยาธิสภาพในปลากะพงขาว (Lates calcarifer Bloch, 1790) การเปลี่ยนแปลงของสารประกอบไนโตรเจนและประสิทธิภาพการบำบัดสารประกอบไนโตรเจนของระบบน้ำหมุนเวียนในการเลี้ยงปลากะพงขาว (Lates calcarifer Bloch, 1790)

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก