สืบค้นงานวิจัย
สภาพการผลิตข้าวของเกษตรกร ตำบลโนนเต็ง อำเภอคง จังหวัดนครราชสีมา
ชะลอ ช่วยงาน - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: สภาพการผลิตข้าวของเกษตรกร ตำบลโนนเต็ง อำเภอคง จังหวัดนครราชสีมา
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ชะลอ ช่วยงาน
คำสำคัญ:
หมวดหมู่:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: การวิจัยเรื่องสภาพการผลิตข้าวของเกษตรกรตำบลโนนเต็ง อำเภอคง จังหวัดนครราชสีมา ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาสภาพการผลิตข้าวของเกษตร และศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการของเกษตรกร โดยการศึกษาของกลุ่มตัวอย่างจำนวน 287 ราย ใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือ การเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ หาค่าร้อยละ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าต่ำสุด และค่าสูงสุด ผลการวิจัยพบว่าเกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี พื้นที่ทำนาอยู่ระหว่าง 13 - 20 ไร่ ได้รับความรู้จากเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร เมล็ดพันธุ์เก็บไว้ทำพันธุ์เอง มีการหว่านข้าวแห้ง ช่วงการเจริญเติบโตใช้ปุ๋ยสูตร 16-16-8 เฉลี่ย 10-15 ก.ก./ไร่ พบโรคไหม้ เพลี้ยจักจั่นสีเขียว หนู หญ้าชันอากาศ ป้องกันกำจัดโดยวิธีการ IPM ใช้เครื่องนวดข้าวก่อนเก็บเกี่ยว มีการระบายน้ำออกจากแปลงนา ใช้แรงงานในครอบครัว เก็บเกี่ยวข้าวระยะพลับพลึง ผลผลิตอยู่ระหว่าง 270-300 ก.ก./ไร่ ราคาผลผลิตข้าวต่ำ มีการยอมรับเทคโนโลยีมาก ได้แก่ ใช้เมล็ดพันธุ์ที่เหมาะสม มีการเก็บเมล็ดพันธุ์ในกระสอบป่าน การแยกเมล็ดพันธุ์ไว้แต่ละชนิด ไถพรวน 2-3 ครั้ง หว่านข้าวแห้ง อายุกล้าประมาณ 25-30 วัน จำนวนต้นต่อกอ 3-5 ต้น และหว่านใช้เมล็ดพันธุ์ 15 ก.ก./ไร่ ระดับการใช้เทคโนโลยีปานกลาง ได้แก่ เกษตรกรมีการทดสอบความงอกก่อนปลูก เกษตรกรปลูกช่วงเดือน ก.ค.-ส.ค. วิธีการปักดำใช้ระยะ 20 x 20 ซ.ม. ระดับน้ำไม่เพียงพอต่อการใส่ปุ๋ย นาดินทรายใช้ปุ๋ยสูตร 16-16-8 และนาดินเหนียวใช้ปุ๋ยสูตร 16-20-0 ในอัตรา 10-20 ก.ก./ไร่ มีการป้องกันกำจัดศัตรูข้าว ออกตรวจแปลงอย่างสม่ำเสมอ ระบายน้ำออกจากแปลงนา เก็บเกี่ยวข้าวสุกประมาณ 80% ในระยะพลับพลึง ตากฟ่อนข้าวในแปลงนา 2 - 3 แดดก่อนเก็บไว้ในยุ้งฉาง ปัญหาอุปสรรคในระดับน้อย ได้แก่ ความรู้การใช้ปุ๋ยเคมี ด้านเมล็ดพันธุ์ การเก็บเมล็ดพันธุ์ ประสบปัญหาในระดับปานกลาง ได้แก่ ค่าจ้างแรงงานเครื่องจักรกลสูง แรงงานไม่เพียงพอ ขาดเงินทุน ความรู้ด้านการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดวัชพืชและการป้องกันกำจัดศัตรูข้าว ประสบปัญหาระดับมาก ได้แก่ ราคาผลผลิตต่ำ และค่าแรงงานในการปลูกข้าวสูง ข้อเสนอแนะ ให้เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรถ่ายทอดเทคโนโลยี ในเรื่องของการยอมรับเทคโนโลยีปานกลางและยอมรับน้อย ให้เกษตรกรปลูกข้าวให้เหมาะสม แรงงานในครอบครัวและให้รัฐบาลพยุงราคาข้าวให้สูงกว่าท้องตลาด เป็นต้น
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2546
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2547
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
สภาพการผลิตข้าวของเกษตรกร ตำบลโนนเต็ง อำเภอคง จังหวัดนครราชสีมา
กรมส่งเสริมการเกษตร
2547
สภาพการผลิตข้าวนาปีของเกษตรกรในตำบลตาจั่น อำเภอคง จังหวัดนครราชสีมา สภาพการผลิตและการตลาดข้าวของเกษตรกรตำบลหนองสาหร่าย อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา สภาพการผลิตข้าวของเกษตรกรในตำบลกุดน้อย อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา สภาพการผลิตข้าวของเกษตรกรตำบลหนองหว้า กิ่งอำเภอบัวลาย จังหวัดนครราชสีมา สภาพปัญหาและความต้องการในการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของเกษตรกรในอำเภอขามทะเลสอ จังหวัดนครราชสีมา สภาพการผลิตข้าวของเกษตรกรจังหวัดเลย สภาพการผลิตข้าวนาปี ของเกษตรกร ตำบลกำปัง อำเภอโนนไทย จังหวัดนครราชสีมา สภาพการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของเกษตรกร ตำบลหนองบัวน้อย อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา สภาพการผลิตและการตลาดข้าวโพดหวานของเกษตรกร ตำบลมาบตะโกเอน อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา สภาพการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของเกษตรกรในตำบลพญาเย็น อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก