สืบค้นงานวิจัย
โครงการวิจัยและพัฒนาการผลิตครามในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน
นางสาวญาณิน สุปะมา - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: โครงการวิจัยและพัฒนาการผลิตครามในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน
ชื่อเรื่อง (EN): Research and Development on Indigo in the Upper North-East
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: นางสาวญาณิน สุปะมา
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: ญาณิน สุปะมา
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การวิจัยและพัฒนาการผลิตครามในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนโดยสำรวจแหล่งผลิตและพันธุ์คราม เพื่อรวบรวมสายพันธุ์ครามที่มีศักยภาพในพื้นที่จากการสำรวจจำแนกครามได้ 2 สายพันธุ์ คือ ครามพันธุ์ฝักตรง (IndigoferatinctoriaL.) และครามพันธุ์ฝักงอ (Indigoferasuffruticosa Mill.)นำครามทั้งสองพันธุ์ศึกษาการให้น้ำหนักเนื้อครามและความเข้มสีสูง วางแผนการทดลองแบบ split plot design ทดสอบ 2 ปัจจัย 3 ซ้ำ ให้อายุเก็บเกี่ยวเป็น main plot ให้พันธุ์เป็น sub plot เก็บครามสดสกัดด้วยน้ำ เก็บตัวอย่างน้ำครามวิเคราะห์น้ำหนักเนื้อครามด้วยวิธีกรองแล้วอบแห้งน้ำครามที่เหลือตีกวนแล้วเติมปูน จะได้เนื้อครามเปียก ชั่งน้ำหนักเก็บตัวอย่างครามเปียกวิเคราะห์ความเข้มสีโดยการสกัดด้วยสารละลายเบส เนื้อครามเปียกอีกส่วนหนึ่งนำไปย้อมเส้นฝ้ายเทียบสีตารางเทียบสีมาตรฐาน(Chart Color) ผลการทดลอง ปี 2554/55 น้ำหนักเนื้อครามเปียก พบว่าครามพันธุ์ฝักตรงและฝักงอที่อายุเก็บ 4 เดือน ให้น้ำหนักเนื้อครามเปียกสูงที่สุดและแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติกับการเก็บเกี่ยวที่เดือนอื่น และพบว่าครามพันธุ์ฝักงอที่อายุเก็บ 5 6 7 และ 8 เดือน ให้เนื้อครามเปียกสูงรองลงมาส่วนการวิเคราะห์น้ำหนักครามด้วยวิธีกรองแล้วอบแห้ง นั้น ครามพันธุ์ฝักตรงที่อายุเก็บ 1-2 เดือน และครามพันธุ์ฝักงอที่อายุเก็บ 2 5 8 9 และ 10 เดือน ให้เนื้อครามสูงที่สุดและแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติกับการเก็บเกี่ยวที่เดือนอื่นการวัดความเข้มสีโดยการสกัดด้วยสารละลายเบส พบว่าครามทั้งสองพันธุ์ที่อายุเก็บ 10 เดือน ให้ความเข้มสีครามสูงที่สุด และแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติกับการอายุเก็บเกี่ยวเดือนอื่น และครามพันธุ์ฝักงอ ที่อายุเก็บ 11 และ 12 เดือน ให้สีครามเข้มสูงรองลงมา สอดคล้องกับผลการเทียบสีเส้นฝ้ายกับ Chart Color พบว่า ครามอายุเก็บ 10 เดือน ทั้งสองพันธุ์ให้เฉดสีเข้ม และครามพันธุ์ฝักงอมีความถี่การให้สีเข้มสูงกว่าพันธุ์ฝักตรง ปี 2555/56 น้ำหนักเนื้อครามเปียก พบว่า ครามพันธุ์ฝักตรงที่อายุเก็บ 9 เดือน พันธุ์ฝักงอที่อายุเก็บ 10 เดือน ให้น้ำหนักเนื้อครามสูงที่สุดและแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติกับการเก็บเกี่ยวที่เดือนอื่น และพบว่าครามพันธุ์ฝักงอที่อายุเก็บ 9 11 และ 12 เดือน ให้น้ำหนักเนื้อครามเปียกสูงรองลงมาผลการวิเคราะห์น้ำหนักครามด้วยวิธีกรองแล้วอบแห้งพบว่าครามทั้งสองพันธุ์ เมื่อเก็บที่อายุ 4 เดือน ให้เนื้อครามสูงที่สุดและแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติกับการเก็บเกี่ยวที่เดือนอื่น การวัดความเข้มสีโดยการสกัดด้วยสารละลายเบส พบว่าครามพันธุ์ฝักตรงที่อายุเก็บ 3 5 7 10 และ 11 เดือน ครามพันธุ์ฝักงอ ที่อายุเก็บ 7 10 11 และ 12 เดือน ให้ความเข้มสีครามสูงที่สุด และแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติกับอายุเก็บเกี่ยวเดือนอื่น สำหรับผลการเทียบสีเส้นฝ้ายกับ Chart Color พบว่า ครามอายุเก็บ 8 10 11 และ 12 เดือน ทั้งสองพันธุ์ให้เฉดสีเข้ม การทดลองครั้งนี้ยังพบว่าครามพันธุ์ฝักงอ มีแนวโน้มให้น้ำหนักเนื้อครามเปียก เนื้อครามแห้ง และความเข้มสีครามสูงกว่าครามพันธุ์ฝักตรง
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2553-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2556-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการวิจัยและพัฒนาการผลิตครามในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน
กรมวิชาการเกษตร
30 กันยายน 2556
โครงการวิจัยทดสอบเทคโนโลยีการผลิตปาล์มน้ำมันในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมการผลิตข้าวคุณภาพดีในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ศักยภาพการผลิตปาล์มน้ำมัน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน การใช้ประโยชน์ของดินชุดยโสธรเพื่อการเกษตรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การใช้ดัชนีทนแล้งคัดพันธุ์ถั่วเหลืองเพื่อปลูกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โครงการวิจัยการพัฒนาการผลิตพืชท้องถิ่นที่สำคัญในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน โครงการวิจัยและพัฒนาการผลิตผักหวานบ้านที่เหมาะสมในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ระบบการจัดการพื้นที่สาธารณประโยชน์ของชุมชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สภาพการผลิต การตลาดมะขามเปรี้ยวของเกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โครงการวิจัยและพัฒนาพันธุ์อ้อยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก