สืบค้นงานวิจัย
สภาพการปลูกผักปลอดภัยจากสารพิษของเกษตรกรในจังหวัดหนองบัวลำภู
ทรงศีล จันทร์อาภาท - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: สภาพการปลูกผักปลอดภัยจากสารพิษของเกษตรกรในจังหวัดหนองบัวลำภู
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ทรงศีล จันทร์อาภาท
คำสำคัญ:
หมวดหมู่:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: การวิจัยสภาพการปลูกผักปลอดภัยจากสารพิษของเกษตรกรในจังหวัดหนองบัวลำภู มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานทางเศรษฐกิจ สังคมบางประการ สภาพการปลูกผักปลอดภัยจากสารพิษ ปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะ ในการปลูกผักปลอดภัยจากสารพิษในจังหวัดหนองบัวลำภู โดยทำการวิจัยจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นเกษตรกรที่ปลูกผักปลอดภัยจากสารพิษจำนวน 87 คน ในพื้นที่ 5 อำเภอ โดยรวบรวมข้อมูล เอกสารและผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างแบบสัมภาษณ์ เก็บข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน เกษตรกรที่ปลูกผักปลอดภัยจากสารพิษร้อยละ 66.7 เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 44.5 ปี เกษตรกรร้อยละ 80.5 จบการศึกษาระดับประถมศึกษา มีสมาชิกในครัวเรือน 4-5 คน มีแรงงานในครัวเรือนละ 1-2 คน พื้นที่ถือครองในการเกษตรเฉลี่ยครัวเรือนละ 18.47 ไร่ พื้นที่ปลูกผักปลอดภัยจากสารพิษเฉลี่ยครัวเรือนละ 2.7 ไร่ เกษตรกรร้อยละ 33.3 ปลูกผักเนื่องจากมีความชำนาญ เกษตรกรร้อยละ 66.7 มีการกู้ยืมเงิน เกษตรกรร้อยละ 42.5 กู้ยืมเงินจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ เกษตรกรร้อยละ 44.8 เป็นสมาชิกกลุ่มเกษตรกร มีการติดต่อเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร 1 เดือน/ครั้ง เกษตรกรร้อยละ 59.8 ได้รับเอกสารวิชาการจากสำนักงานเกษตรอำเภอ/จังหวัด เกษตรกรร้อยละ 43.7 ได้รับข้อมูลการปลูกดูแลรักษาพืชผักจากวิทยุ โทรทัศน์ รายได้จากภาคเกษตรเฉลี่ยครัวเรือนละ 51,794 บาท รายได้ภาคนอกเกษตรเฉลี่ยครัวเรือนละ 19,317 บาท รายได้จากการปลูกผักเฉลี่ยครัวเรือนละ 34,009 บาท ค่าใช้จ่ายในครัวเรือนเฉลี่ย 35,260 บาท ค่าใช้จ่ายทางด้านเกษตรเฉลี่ยครัวเรือนละ 13,809 บาท เกษตรกรร้อยละ92.0 ซื้อพันธุ์จากตลาด เนื่องจากให้ผลผลิตสูง เกษตรกรร้อยละ 54.0 มีการไถพรวน 2 ครั้งก่อนปลูก ร้อยละ 95.4 มีการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ใช้อัตรา 200 กิโลกรัมต่อไร่ ร้อยละ 51.7 นิยมใช้ปุ๋ยคอก ร้อยละ 60.9 ใช้ปุ๋ยเคมี ร้อยละ 40.2 ใช้สูตร 15-15-15 ใช้อัตรา 30 กิโลกรัมขึ้นไปต่อไร่ ร้อยละ71.3 นิยมให้น้ำด้วยสายยาง ร้อยละ51.7 มีการกำจัดวัชพืช 2 ครั้ง การกำจัดวัชพืชร้อยละ 88.5 ใช้วิธีถอนด้วยมือ ร้อยละ 36.8 มีการสำรวจศัตรูพืชทุกวัน ร้อยละ78.2 มีการวาง 2 แผนป้องกันและกำจัดศัตรูพืช ร้อยละ 59.8 ปรึกษาเจ้าหน้าที่เมื่อมีศัตรูพืชระบาด ร้อยละ 71.2 ใช้พืชสมุนไพรในการป้องกันกำจัดศัตรูพืช รองมาร้อยละ 47.1 ใช้เชื้อจุลินทรีย์ ในการกำจัดศัตรูพืช ร้อยละ 96.6 มีการอ่านฉลากทุกครั้งหากมีการใช้สารเคมี ร้อยละ 81.6 ไม่มีการใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืช ระดับปัญหาของเกษตรกรผู้ปลูกผักปลอดภัยจากสารพิษในจังหวัดหนองบัวลำภู พบว่าการตลาดเป็นปัญหามาก ปัญหาระดับปานกลางคือ ด้านราคาของเมล็ดพันธุ์และการป้องกันและกำจัดโรคพืช ปัญหาน้อยได้แก่ คุณภาพเมล็ดพันธุ์ แหล่งพันธุ์ การเตรียมดิน วิธีการปลูก การป้องกันและกำจัดวัชพืช การใส่ปุ๋ย และการป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูพืช โดยเกษตรกรเสนอแนะให้หน่วยราชการที่เกี่ยวข้องจัดหาตลาด และสนับสนุนสารชีวภัณฑ์ สมุนไพร เพื่อใช้ในการป้องกันและกำจัดศัตรูพืชให้เพียงพอกับความต้องการของเกษตรกร สำหรับข้อเสนอแนะของผู้ศึกษา ได้แก่ ควรมีการส่งเสริมสนับสนุนให้เกษตรกรมีการรวมกลุ่มในการผลิต ร่วมกันผลิต ร่วมกันจำหน่าย เกษตรกรควรมีการวางแผนการผลิตผัก ให้พอกับความต้องการผู้บริโภค ควรมีการจัดฝึกอบรมการผลิตพืชสมุนไพร การผลิตเชื้อจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์เพื่อเป็นการลดต้นทุนการผลิต และปลอดภัยกับผู้ผลิตและผู้บริโภค
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2547
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2548
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
สภาพการปลูกผักปลอดภัยจากสารพิษของเกษตรกรในจังหวัดหนองบัวลำภู
กรมส่งเสริมการเกษตร
2548
การยอมรับของเกษตรกรที่มีต่อการปลูกผักปลอดภัยจากสารพิษจังหวัดสมุทรสาคร การยอมรับของเกษตรกรต่อการปลูกผักปลอดภัยจากสารพิษในกรุงเทพมหานคร การยอมรับเทคโนโลยีการปลูกผักปลอดภัยจากสารพิษของเกษตรกรผู้ร่วมโครงการส่งเสริมการปลูกผักปลอดภัยจากสารพิษจังหวัดสุราษฎร์ธานี ปี 2547 ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับการปลูกผักปลอดภัยจากสารพิษของเกษตรกรในจังหวัดเชียงใหม่ การยอมรับของเกษตรกรที่มีต่อการปลูกผักปลอดภัยจากสารพิษ ในจังหวัดเชิงเทรา การติดตามตรวจสอบสารกลุ่มโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนในอากาศริมถนนโดยใช้ใบไม้ในเขตจังหวัดนนทบุรี การใช้เทคโนโลยีการปลูกผักปลอดภัยจากสารพิษของเกษตรกรชาวไทยภูเขา : กรณีศึกษาบ้านหมู่ 11 (ไมโครเวฟ) ตำบลห้วยโป่ง อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน สภาพการผลิตผักปลอดภัยจากสารพิษของเกษตรกร : กรณีศึกษา บ้านเสียว ตำบลวังชัย อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น การยอมรับเทคโนโลยีการผลิตผักปลอดภัยจากสารพิษของเกษตรกรตามกระบวนการโรงเรียนเกษตรกรในจังหวัดสุรินทร์ ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีการผลิตผักปลอดภัยจากสารพิษของเกษตรกรตามกระบวนการโรงเรียนเกษตรกรผักจังหวัดนครศรีธรรมราช ปี 2547

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก