สืบค้นงานวิจัย
การค้นหาและการแสดงออกของยีนที่เกี่ยวข้องกับลักษณะที่สำคัญในปาล์มน้ำมัน (Elaeis guineensis Jacq.)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พจมาลย์ สุรนิลพงศ์ - มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
ชื่อเรื่อง: การค้นหาและการแสดงออกของยีนที่เกี่ยวข้องกับลักษณะที่สำคัญในปาล์มน้ำมัน (Elaeis guineensis Jacq.)
ชื่อเรื่อง (EN): Identification and expression of gene associated with important trails in oil palm (Elaeis guineensis Jacq.)
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พจมาลย์ สุรนิลพงศ์
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ: ปาล์มน้ำมัน ธาตุอาหาร แร่ธาตุที่จำเป็น การดูดซึม การลำเลียง การใช้ธาตุอาหาร การรักษาสมดุล สภาพน้ำท่วม เครื่องหมายโมเลกุล เทคนิค DDRT-PCR เทคนิค SSCP เทคนิค RACE เทคนิค qPCR เทคนิค Real time PCR
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ:            สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก. ได้ให้การสนับสนุนทุนวิจัยโครงการ “การค้นหาและการแสดงออกของยีนที่เกี่ยวข้องกับลักษณะที่สำคัญในปาล์มน้ำมัน (Elaeis guineensis Jacq.)” แก่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาศึกษาการแสดงออกของยีนที่เกี่ยวข้องกับการดูดซึม การลำเลียง และการรักษาสมดุลของแรธาตุอาหารในสายพันธุปาล์มน้ำมันที่ปลูกเป็นการค้าของประเทศ และค้นหาและศึกษาการแสดงออกของยีน พัฒนาเครื่องหมายโมเลกุล รวมถึงศึกษาการแสดงออกของยีน หา Full-length cDNA ของยีน และศึกษาวิวัฒนาการของยีนที่ควบคุมลักษณะทนต่อสภาพน้ำท่วม ในสายพันธุปาลมน้ำมันที่ปลูกเพื่อการค้าของประเทศไทย           จากผลการดำเนินงานในปีแรกได้ผลการศึกษาทางสรีรวิทยาของต้นปาล์มน้ำมันสายพันธุ์ต่างๆ ในสภาพให้น้ำปกติและน้ำท่วมขัง พบว่า ปาล์มน้ำมันสายพันธุ์หนองเป็ดมีอัตราการเพิ่มความสูงต้น และอัตราการเพิ่มความกว้างโคนต้นเพิ่มขึ้น ทั้งในสภาพให้น้ำปกติและสภาพน้ำท่วมขัง นอกจากนี้สายพันธุ์หนองเป็ดยังคงมีอัตราการเพิ่มทางใบ และปริมาณคลอโรฟิลล์บี ในสภาพให้น้ำปกติสูงขึ้นด้วย ปาล์มน้ำมันสายพันธุ์สุราษฎร์ธานี 2 มีอัตราการเพิ่มความกว้างทรงพุ่ม และ อัตราการคลี่บานของใบอ่อนมากขึ้นทั้งในสภาพให้น้ำปกติและสภาพน้ำท่วมขัง และมีพื้นที่ใบมากขึ้นในสภาพให้น้ำปกติ ปาล์มน้ำมันสายพันธุ์ Ghana มีพื้นที่ใบมากขึ้นในสภาพน้ำท่วมขัง มีปริมาณคลอโรฟิลล์เอและคลอโรฟิลล์รวม ในสภาพให้น้ำปกติสูงกว่าปาล์มน้ำมันสายพันธุ์อื่น ส่วนปาล์มน้ำมันสายพันธุ์สุราษฎร์ธานี 1 มีปริมาณคลอโรฟิลล์เอ คลอโรฟิลล์บี และคลอโรฟิลล์รวม สูงที่สุดในสภาพน้ำท่วมขัง และพบว่า ทุกลักษณะมีแนวโน้มลดลงหลังจำลองสภาพการให้น้ำทั้งสองสภาพ เป็นเวลา 90 วัน แต่สภาพน้ำท่วมขังมีการลดลงของทุกลักษณะมากกว่าสภาพให้น้ำปกติ นอกจากนี้ พบว่า ที่ระยะเวลา 45-60 วัน ในสภาพน้ำท่วมขังปาล์มน้ำมันทุกสายพันธุ์สร้างรากหายใจโผล่ขึ้นเหนือผิวน้ำเพื่อช่วยในการหายใจ โดยพบรากหายใจมากที่สุดในปาล์มน้ำมันสายพันธุ์สุราษฎร์ 1 และรากเหล่านี้ มีการพัฒนาเพิ่มมากขึ้นเมื่อได้รับสภาพน้ำท่วมขังที่นานขึ้น เนื่องจากผลการตอบสนองทางสรีรวิทยาไม่สามารถบอกได้ชัดเจนว่าปาล์มน้ำมันสายพันธุ์ใดที่มีความทนทานต่อสภาพให้น้ำท่วมขังได้ดีที่สุดจึงได้เลือกลักษณะการเกิดรากหายใจไปศึกษาต่อในระดับยีน และพัฒนาเครื่องหมายโมเลกุลที่มีความจำเพาะต่อลักษณะทนทานสภาพน้ำท่วมขังในปาล์มน้ำมันต่อไป และจากการค้นหาและการแสดงออกของยีนที่เกี่ยวข้องกับลักษณะทนน้ำท่วมในปาล์มน้ำมันจากผล transcriptome sequencing ของใบและรากปาล์มน้ำมันสายพันธุ์ Ghana และ สุราษฎร์ธานี 2 ในสภาพให้น้ำปกติและให้น้ำท่วมขัง พบยีนที่แสดงออกแตกต่างกันจำนวนมาก ซึ่งในขณะนี้ ผู้วิจัยอยู่ระหว่างศึกษาคุณสมบัติ และคัดเลือกยีนที่สนใจ           ประโยชน์ที่ได้รับจากโครงการนี้คือ ได้ผลการศึกษาถึงกลุ่มยีนที่เกี่ยวข้องกับความสามารถในการดูดซึม การลำเลียง และการใช้แรธาตุอาหารของปาล์มน้ำมัน อันจะนำมาซึ่งความเข้าใจถึงการรักษาสมดุลแรธาตุในปาล์มน้ำมันและความเข้าใจถึงความสัมพันธ์ระหว่างแรธาตุอาหารและการเจริญเติบโตในระยะต่างๆ ของปาล์มน้ำมัน ซึ่งสามารถนำความรูไปประยุกต์ใช้เป็น marker ของรูปแบบการใช้ปุ๋ยของปาล์มน้ำมัน เพื่อใช้ประโยชนในการปรับปรุงและพัฒนาปุ๋ยที่เหมาะกับความต้องการของปาล์มน้ำมันได้
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2556-08-22
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2557-08-21
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
ปีที่ได้รับงบประมาณ (ระบุได้มากกว่า 1 ปี): 2556
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การค้นหาและการแสดงออกของยีนที่เกี่ยวข้องกับลักษณะที่สำคัญในปาล์มน้ำมัน (Elaeis guineensis Jacq.)
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
21 สิงหาคม 2557
การทดสอบและสาธิตเทคโนโลยีการจัดการสวนปาล์มน้ำมันในเขตพื้นที่ภาคใต้ตอนบน ปีที่3 การทดสอบและสาธิตเทคโนโลยีการจัดการสวนปาล์มน้ำมันในเขตพื้นที่ภาคใต้ตอนบน ปีที่3 การผลิตถ่านกัมมันต์จากกะลาปาล์ม การแสดงออกของยีน choline monooxygenase (cmo) ในปาล์มน้ำมัน การค้นหาและการแสดงออกของยีนที่เกี่ยวข้องกับลักษณะที่สำคัญในปาล์มน้ำมัน (Elaeis guineensis Jacq.) การค้นหาและการแสดงออกของยีนที่เกี่ยวข้องกับลักษณะที่สำคัญในปาล์มน้ำมัน (Elaeis guineensis Jacq.) ปีที่ 2 การค้นหาและการแสดงออกของยีนที่เกี่ยวข้องกับลักษณะที่สำคัญในปาล์มน้ำมัน (Elaeis guineensis Jacq.) ปีที่3 การค้นหาและการแสดงออกของยีนที่เกี่ยวข้องกับลักษณะที่สำคัญในปาล์มน้ำมัน (Elaeis guineensis Jacq.) ปีที่ 2 การค้นหาและการแสดงออกของยีนที่เกี่ยวข้องกับลักษณะที่สำคัญในปาล์มน้ำมัน (Elaeis guineensis Jacq.) ปีที่3 การโคลนและการศึกษาการแสดงออกขอยีน EgLEC1 สำหรับคัดเลือกปาล์มน้ำมันพันธุ์ดี

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก