สืบค้นงานวิจัย
การพัฒนาสายพันธุ์กล้วยไม้สกุลม้าวิ่งเพื่อเพิ่มศักยภาพในเชิงพาณิชย์
กาญจนา รุ่งรัชกานนท์ - มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาสายพันธุ์กล้วยไม้สกุลม้าวิ่งเพื่อเพิ่มศักยภาพในเชิงพาณิชย์
ชื่อเรื่อง (EN): Development of Novel Thai Doritis for Enhancing Potentially Ornamental Commerce
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: กาญจนา รุ่งรัชกานนท์
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การสร้างลูกผสมกล้วยไม้สกุลม้าวิ่งมีวัตถุประสงค์ เพื่อผลิตกล้วยไม้เป็นไม้ประดับกระถางที่มีดอกสวยงาม สามารถออกดอกได้ตลอดทั้งปี ได้ดำเนินการวิจัยโดยรวบรวมเชื้อพันธุกรรมที่ใช้เป็นพ่อแม่พันธุ์ในการสร้างลูกผสม ทำการผสมพันธุ์กล้วยไม้สกุลม้าวิ่งและสกุลฟาแลนอปซิส กล้วยไม้สกุลม้าวิ่งและสกุลเข็ม ได้ฝักลูกผสมจำนวน 45 คู่ผสม เมื่อนำเมล็ดจากฝักไปเพาะเลี้ยงภายใต้สภาวะปลอดเชื้อ พบว่า มีจำนวน 7 คู่ผสมที่เมล็ดมีการพัฒนาเป็นต้นอ่อน แต่ได้ต้นอ่อนจำนวนน้อยมาก จึงทำการทดลองเพื่อเพิ่มปริมาณต้นกล้วยไม้จากชิ้นส่วนใบ โดยการชักนำโปรโตคอร์มไลค์บอดี้ จากชิ้นส่วนใบอ่อนของกล้วยไม้ม้าวิ่งและกล้วยไม้แดงอุบล เมื่อนำส่วนโคนใบเพาะเลี้ยงในอาหาร NDM ที่เติมสาร TDZ ความเข้มข้น 1-10 มก./ล. สามารถชักนำโปรโตคอร์มไลค์บอดี้ ยอด และราก ซึ่งจุดกำเนิดของการพัฒนาเนื้อเยื่อ คือ การเกิดโซมาติกเอ็มบริโอที่ชั้นเซลล์ epidermis บริเวณโคนใบ ผลจากการวิจัยนี้สามารถนำไปใช้เพิ่มปริมาณต้นกล้วยไม้ลูกผสมให้มีปริมาณมากในเวลาอันรวดเร็ว การวิจัยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตกล้วยไม้ลูกผสมต่างสกุล โดยการศึกษาอายุฝักลูกผสม 4 ระยะ คือ 1, 1.5, 2 และ 2.5 เดือน และอาหารเพาะเลี้ยง 5 สูตร คือ Vacin & Went (VW), VW + 2,4-D ความเข้มข้น 100 มก./ล., VW + Dicamba ความเข้มข้น 50 มก./ล., VW + Kinetin ความเข้มข้น 1 มก./ล. + NAA ความเข้มข้น 0.1 มก./ล. และVW + Peptone ความเข้มข้น 2 ก./ล. ผลการทดลองพบว่า ฝักอ่อนลูกผสมอายุ 2 เดือน มีความเหมาะสมที่จะนำคัพภะไปเลี้ยงบนอาหารเพาะเลี้ยง และอาหารที่เหมาะสม คือ อาหารสูตร VW ที่เติมสาร kinetin ความเข้มข้น 1 มก./ล. + NAA ความเข้มข้น 0.1 มก./ล. คัพภะที่เพาะเลี้ยงบนอาหารนี้สามารถพัฒนาได้ดีที่สุดจำนวนเฉลี่ย 61 คัพภะ การศึกษาสูตรอาหารที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของกล้วยไม้ลูกผสมในสภาพปลอดเชื้อ นำต้นกล้วยไม้ลูกผสมฟาแลนอปซิส x แดงอุบล มาเพาะเลี้ยงในอาหารสูตรสังเคราะห์ 2 สูตรคือ สูตร Vacin and Went (VW) และสูตร ? Murashige & Skoog (MS) และเติมสารควบคุมการเจริญเติบโต คือ Kinetin และ BAP ที่ระดับความเข้มข้น 0.5 และ 1.0 มิลลิกรัมต่อลิตร ร่วมกับ NAA ที่ระดับความเข้มข้น 0.1 มิลลิกรัมต่อลิตร ผลการทดลองพบว่า สูตร ?MS ที่ไม่เติมสารควบคุมการเจริญเติบโต ทำให้ลูกกล้วยไม้เจริญเติบโตดีที่สุด การศึกษาวัสดุปลูกที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของลูกกล้วยไม้ในสภาพโรงเรือน นำกล้วยไม้ลูกผสมฟาแลนอปซิส เวดดิ้ง x แดงอุบล ปลูกในวัสดุต่างๆ 4 แบบ คือ ปลูกในสแฟกนัมมอส, ปลูกในกาบมะพร้าวสับ, ปลูกในถ่านหุงต้ม และปลูกในถ่านหุงต้มปิดทับด้วยสแฟกนัมมอส ผลการทดลองพบว่า ถ่านหุงต้มปิดทับด้วยสแฟกนัมมอสมีผลทำให้ลูกกล้วยไม้เจริญเติบโตดีทั้งทางด้านต้น ใบ และราก การศึกษาลักษณะทางสัณฐานของกล้วยไม้ลูกผสม ซึ่งได้ทำการผสมระหว่างสกุลม้าวิ่งและสกุล ฟาแลนอปซิส และระหว่างสกุลม้าวิ่งและสกุลเข็ม ได้ผลผลิต 4 คู่ผสม คือ 1) แดงอุบล x เข็มแสด 2) แดงอุบล x เข็มแดง 3) แดงอุบล x ฟาแลนอปซิส ขาวปากแดง 4) ฟาแลนอปซิส เวดดิ้ง x แดงอุบล โดยลูกผสมทั้ง 4 คู่ผสม มีลักษณะของใบที่แตกต่างกัน เมื่อปลูกเลี้ยงต่อไปสามารถปลูกเลี้ยงจนออกดอก 2 คู่ผสม คือ แดงอุบล x เข็มแดง และ ฟาแลนอปซิส เวดดิ้ง x แดงอุบล ซึ่งทั้งสองคู่ผสมมีความเหมาะสมที่จะเป็นไม้ประดับกระถาง เนื่องจากต้นและช่อดอกมีขนาดกะทัดรัด ดอกมีความทนทาน ต้นสามารถทนทานต่อโรคและแมลง ได้นำกล้วยไม้ทั้งสองคู่ผสมทำการจดทะเบียนกล้วยไม้ลูกผสมพันธุ์ใหม่ที่ The Royal Horticultural Society ณ ประเทศอังกฤษ จำนวน 2 ชื่อ คือ Asconopsis Purple Ubon และ Phalaenopsis Warin Bride การวิเคราะห์ DNA เพื่อตรวจสอบเอกลักษณ์ลูกผสมสายพันธุ์ใหม่ โดยใช้เครื่องหมาย EST-SSR-B34 ตรวจสอบเอกลักษณ์ลูกผสมของกล้วยไม้ที่ได้รับการผสมพันธุ์ระหว่าง แดงอุบล รหัส NK13 x ฟาแลนอปซิส 1 ขาวปากแดง สามารถแสดงเอกลักษณ์ของลูกผสมที่แตกต่างจากพ่อและแม่ได้และยืนยันการเป็นลูกผสมที่แท้จริงได้
บทคัดย่อ (EN): The hybridization of Doritis orchid was done in order to produce new orchid pot plant with a beautiful flower and year-round flowering. The project was undertaken by collecting plant specimens of Doritis, Phalaenopsis and Ascocentrum as parents. The crosses between Doritis and Phalaenopsis, and Doritis and Ascocentrum were done producing 44 hybrid capsules. Hybrid seeds from all capsules were cultured under aseptic condition and it was found that only 6 hybrids developed into plantlets, with only a few plantlets in total. In order to increase plantlet numbers, basal leaf segments of D. pulcherrima and D. pulcherrima var. buyssoniana were cultured on New Dogashima medium (NDM) with 0-10 mg/l Thidiazuron (TDZ) to induce protocorm-like bodies (PLBs). The result showed that TDZ at 1-10 mg/l produced PLBs, shoot and root. Histological study showed that somatic embryos originated from the epidermal layers at the base of basal leaf segment. Next, somatic embryos developed into three forms, that was PLBs, shoot and root. This technique may thus be applied to increase numbers of Doritis hybrid plantlets in short time period. Increasing the efficiency of intergeneric hybridization was done by 1) the study of capsule age; 1, 1.5, 2 and 2.5 months, and 2) the study of 5 culture media; Vacin & Went (VW), VW + 100 mg/l 2,4-D, VW + 50 mg/l Dicamba, VW + 1 mg/l Kinetin plus 0.1 mg/l NAA and VW + 2 g/l Peptone). The two months old capsule that cultured in VW medium supplement with 1 mg/l Kinetin plus 0.1 mg/l NAA was found to be highly effective, with 61 embryos rescued. The suitable culture medium for in vitro growth of Doritis hybrid (Phalaenopsis Wedding x D. pulchrrima var. buyssoniana) was investigated. Seedlings of Doritis hybrid were cultured in 2 media; Vacin & Went (VW) and ? Murashige & Skoog (MS) with no supplement or supplement with 0.5, 1.0 mg/l Kinetin or BAP and with or without 0.1 mg/l NAA. The best response in seedling growth was observed on ? MS medium without hormone. The suitable potting substrate on ex vitro growth of Doritis hybrid plantlets was evaluated. The 4 potting substrates; sphagnum moss, coconut bark, charcoal, and charcoal covered with sphagnum moss, were tested. The charcoal covered with sphagnum moss showed the best plantlet growth in shoot, leaf and root. The morphology of Doritis hybrid was studied in the cross between Doritis and Phalaenopsis, and Doritis and Ascocentrum which produce 4 hybrids: 1) D. pulcherrima var. buyssoniana x A. miniatum 2) D. pulcherrima var. buyssoniana x A. curvifolium 3) D. pulcherrima var. buyssoniana x P. Khao Pak Daeng 4) P. Wedding x D. pulcherrima var. buyssoniana. The four hybrids each presented a different leaf pattern and only 2 hybrids, D. pulcherrima var. buyssoniana x A. curvifolium and P. Wedding x D. pulcherrima var. buyssoniana had flowers. These two hybrids are suitable as orchid pot plants because of their compact size of plant and inflorescence, their having long flower life and their pest resistance. The two new hybrids were registered at the Royal Horticultural Society in the name of Asconopsis Purple Ubon and Phalaenopsis Warin Bride. A molecular marker was used to identify the genotype of the new hybrid. The EST-SSR-B34 marker indicates the specific genetic profiles of D. pulcherrima var. buyssoniana (NK13) x P. Khao Pak Daeng hybrid and its parents. Thus this marker proves that the hybridization was successful.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2553-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2555-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การพัฒนาสายพันธุ์กล้วยไม้สกุลม้าวิ่งเพื่อเพิ่มศักยภาพในเชิงพาณิชย์
มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
30 กันยายน 2555
การปรับปรุงพันธุ์กล้วยไม้สกุลม้าวิ่งเพื่อเป็นไม้ประดับกระถาง การศึกษาความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของกล้วยไม้สกุลม้าวิ่งในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอ การพัฒนาเครื่องหมายไมโครแซทเทลไลท์จากฐานข้อมูล EST และการประเมินความหลากหลายทางพันธุกรรมของกล้วยไม้สกุลม้าวิ่ง การวิเคราะห์ชนิดของเม็ดสีแอนโทไซยานิน ในกล้วยไม้ป่า และกล้วยไม้ตัดดอกของไทย เพื่อการปรับปรุงพันธุ์ การจำแนกสายพันธุ์และความต้านทานต่อโรค Streptococcosis ของปลานิล (Oreochromis niloticus Linnaeus) การพัฒนาเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อและการผลิตกล้วยไม้สกุลม็อคคาร่า การแสดงออกของพันธุ์และสายพันธุ์ถั่วฝักยาวในการปลูกแบบอินทรีย์และแบบใช้สารเคมี การพัฒนาเส้นด้ายจากซังข้าวสู่เชิงพาณิชย์ การขยายพันธุ์กล้วยไม้ด้วยเทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ การพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารจากส่วนเหลือใช้และบกพร่องจากการปลูกของต้นและผลเผือกหอมชุมชนอำเภอบ้านหมอจังหวัดสระบุรีเพื่อประโยชน์เชิงพาณิชย์

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก