สืบค้นงานวิจัย
เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวมะนาว
สุจิตรา รตนะมโน - มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ชื่อเรื่อง: เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวมะนาว
ชื่อเรื่อง (EN): POST HARVESTING TECHNOLOGY OF LIMES
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สุจิตรา รตนะมโน
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): SUJITRA RATANAMARNO
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: เศรษฐา ศิริพินท์
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN): SETTHA SIRIPIN
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: วัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้เพื่อหาวิธีการต่างๆ ที่เหมาะสมในการยึดอายุการเก็บ รักษามะนาวพันธุ์แป้น ตาฮิติและเสวย และผลของวิธีการต่างๆ ต่อคุณภาพของผลมะนาวภาย หลังการเก็บเกี่ยว โดยการจุ่มในน้ำร้อน 50 องศาเชลเชียส เป็นเวลา 10 นาที การใช้จิบเบอเรลลิน (gibberellin) ความเข้มข้น 400-600 ppm และไซโตไคนิน (cytokinin) ความเข้มข้น 600 ppm ผสมใน wax การรมด้วย 1-methylcyclopropene (1-MCP) ความเข้มข้น 100-750 ppb ก่อนการ เคลือบ wax และการใช้เกลือโซเดียมไบคาร์บอเนต (sodium bicarbonate) ความเข้มข้น 2 เปอร์เซ็นต์ ผสมใน wax และการเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 13 องศาเชลเชียส โดยแบ่งการทดลองออก เป็น 2 ตอน คือ ตอนที่ 1 มี 4 การทดลอง (การทดลองที่ 1-4) ตอนที่ 2 มี 1 การทดลอง (การ ทดลองที่ 5) การทดลองที่ 1 มะนาวแป้นจากตลาดสด ในจังหวัดเชียงใหม่ ที่วิเคราะห์แบบทำลายผลิต ผล พบว่าผลมะนาวที่แช่ในน้ำร้อน เคลือบ พax ผสม GA (400 ppm) และผลมะนาวที่แช่ใน น้ำร้อน รม 1-MCP (100 ppb) และเคลือบ wax มีปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำได้ ปริมาณกรดที่ ไทเทรตได้ และปริมาณวิตามินชีสูงสุดในช่วงท้ายของการเก็บรักษา ส่วนผลมะนาวที่วิเคราะห์แบบ ไม่ทำลายผลิตผล ชุดควบคุมเก็บรักษาได้นานที่สุด เป็นเวลา 110 วัน ส่วนผลมะนาวแชในน้ำร้อน เคลือบ พax ผสม GA และผลมะนาวที่แช่ในน้ำร้อน รม 1-MCP และเคลือบ พลx สามารถชะลอ การเปลี่ยนเป็นสีเหลืองของผลมะนาวได้ดีที่สุด การทดลองที่ 2 มะนาวแป้นจากสวนในจังหวัดเพชรบุรี ที่วิเคราะห์แบบทำลายผลิตผล มะนาวที่แช่ในน้ำร้อน รม 1-MCP (100 ppb) และเคลือบ wลx มีปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำได้ ปริมาณกรดที่ไทเทรตได้ และปริมาณวิตามินซีสูงสุดในช่วงท้ายของการเก็บรักษา ส่วนผลมะนาวที่ วิเคราะห์แบบไม่ทำลายผลิตผล พบว่าผลมะนาวที่แช่ในน้ำร้อน เคลือบ wax ผสม BA (600 ppm) เก็บรักษาได้นานที่สุด เป็นเวลา 130 วัน สวนผลมะนาวแชในน้ำร้อน เคลือบ wax ผสม GA (600 ppm) ชะลอการเปลี่ยนเป็นสีเหลืองของผลมะนาวได้ดีที่สุด การทดลองที่ 3 มะนาวตาฮิติจากสวนในจังหวัดเชียงใหม่ ที่วิเคราะห์แบบทำลายผลิตผล มะนาวที่แชในน้ำร้อน เคลือบ wax ผสม BA (600 ppm) และผลมะนาวที่แชในน้ำร้อน เคลือบ wax ผสม GA (600 ppm) มีปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำได้ ปริมาณกรดที่ไทเทรตได้ และปริมาณ วิตามินชีสูงสุดในช่วงท้ายของการเก็บรักษา ส่วนผลมะนาวที่วิเคราะห์แบบไม่ทำลายผลิตผลที่แช่ ในน้ำร้อน เคลือบ wอx ผสม GA เก็บรักษาได้นานที่สุดเป็นเวลา 5 เดือน ส่วนผลมะนาวแช่ใน น้ำร้อนเคลือบ wax ผสม B4 และผลมะนาวที่แช่ในน้ำร้อน เคลือบ wax ผสม GA ชะลอการ เปลี่ยนเป็นสีเหลืองของผลมะนาวได้ดีที่สุด การทดลองที่ 4 มะนาวเสวยจากสวนในจังหวัดเชียงราย ผลมะนาวที่ทำการวิเคราะห์แบบ ทำลายผลิตผล พบว่ามะนาวที่แชในน้ำร้อน เคลือบ wax ผสม BA (600 ppm) บรรจุในถุงเจาะรู มีปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำได้ ปริมาณวิตามินชี และปริมาณกรดที่ไทเทรตได้สูงที่สุดในช่วงท้าย ของการเก็บรักษา สำหรับผลมะนาวที่บรรจุในถุงไม่เจาะรู พบว่ามะนาวที่แช่ในน้ำร้อน รม 1-MCP (750 ppb) และเคลือบ wลx มีปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำได้ ปริมาณวิตามินซี และปริมาณกรดที่ ไทเทรตได้สูงสุดในช่วงท้ายของการเก็บรักษา ส่วนผลมะนาวที่วิเคราะห์แบบไม่ทำลายผลิตชุด ควบคุมเก็บรักษาได้นานที่สุด เป็นระยะเวลา 180 วัน และผลมะนาวที่แช่ในน้ำร้อน รม 1-MCP และเคลือบ พอx สามารถชะลอการเปลี่ยนเป็นสีเหลืองของผลมะนาวได้ดีที่สุด การทดลองที่ 5 มะนาวแป้นจากสวนในจังหวัดกำแพงเพชร ผลการศึกษาพบว่าผลมะนาว แป้นที่เคลือบผิวผสมจิบเบอเรลลินความเข้มข้น 600 pPm และเกลือโซเดียมไบคาร์บอเนตความ เข้มข้น 2 เปร์เซ็นต์ สามารถชะลอการเปลี่ยนแปลงจากสีเขียวเป็นสีเหลืองได้ดีที่สุด และยังพบว่า มะนาวในทรีตเมนต์นี้มีการเกิดโรคน้อยที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับในทรีตเมนต์อื่นๆ บริมาณน้ำคั้น ในผลมะนาวที่ล้างน้ำ รม 1-MCP แล้วเคลือบผิว มีคำสูงที่สุด ผลมะนาวชุดควบคุมและมะนาวที่ ล้างน้ำแล้วเคลือบผิว มีปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำได้สูงสุด มะนาวที่แขในน้ำร้อนและน้ำเย็น รม 1-MCP แล้วเคลือบผิวผสมเกลือโขเดียมไบคาร์บอเนต 2 เปอร์เซ็นต์ มีบริมาณวิตามินซีสูงที่สุด ปริมาณกรดที่ไทเทรตได้มีคำสูงที่สุดในผลมะนาวที่จุ่มน้ำร้อนและน้ำเย็นแล้วเคลือบผิว และการ สูญเสียน้ำหนักมีค่าน้อยที่สุดในมะนาวที่ล้างน้ำรม 1-MCP แล้วเคลือบผิว ทั้งนี้มะนาวในทุกทรีต- เมนูต์มีอายุการเก็บรักษานานประมาณ 100 วัน
บทคัดย่อ (EN): The objective of this study was to examine the appropriate technology for extending shelf life of 3 lime varieties : 'Pan', 'Tahiti' and 'Sawoey' and the effect on their postharvest qualities. The experiment was conducted by using hot water treatment (50 C for 10 minutes), giberellin (400-600 ppm), cytokinin (600 ppm), 1-MCP (100-750 ppb) and sodium bicarbonate (2 percents) stored at 13 C. The study were separated into 2 parts; part 1 has 4 experiments (experiment 1-4) and part 2 has 1 experiment (experiment 5). Experiment 1: Lime fruits cv. 'Pan' from fresh market in Chiangmai were used. For destructive analysis, it was found that lime fruits which were dipped in hot water (50 'C) and waxed with wax+GA (400 ppm) and lime fruits which dipped in hot water and fumigated with 1-MCP (100 ppb) and then waxed, showed the higest soluble solids, titratable acidity and vitamin C content at the end of storage life. For non-destructive analysis, control fruits had the longest storage life for 110 days. However, fruits treated with hot water and waxed with GA+wax and fruits treated with hot water, fumigated with 1-MCP and waxed were the best in delay of yellowing Experiment 2: Limes cv. 'Pan' from the orchard in Petchabury were used. For destructive analysis, time fruits dipped in hot water, fumigated with 1-MCP (100 ppb) and then waxed, showed the hihgest soluble solids, titratable acidity and vitamin C content at the last period of storage. For non-destructive analysis, it was found that limes dipped in hot water and waxed with wax+BA (600 ppm) had the longest storage life of about 130 days. Limes treated with hot water and waxed with wax+GA (600ppm) had the best result in delayed yellowing. Experiment 3: Lime fruits cv. 'Tahiti' from the orchard in Chiangmai were used. For destructive analysis, fruits treated with hot water and waxed with wax+8A (600 ppm), and fruits waxed with wax+GA (600 ppm), showed the highest soluble solids, titratable acidity and vitamin C content at the last peroid of storage. For non-destructive analysis, fruits treated with hot water, waxed with wax+GA (600 ppm) had the longest storage life of about 5 months. Fruits treated with hot water, waxed with wax+BA and fruits treated with hot water, waxed with wax+GA, showed the best result in delayed yellowing. Experiment 4: Lime fruits cv. 'Sawoey' from the orchard in Chiangrai were used. For destructive analysis, fruits treated with hot water, waxed with wax+BA (600 ppm) and packed in perforated polyethylene bag, had the highest soluble solids, titratable acidity and vitamin C content at the last period of storage. Fruits treated with hot water, fumigated with 1-MCP (750 ppb) and then waxed, and packed in non-perforated ethylene bag had the highest soluble solids, titratable acidity and vitamin C content at the last period of storage. For non-destructive analysis, controlled fruits had the longest storage life of about 180 days and fruits with hot water treatment, fumigated with 1-MCP and waxed, showed the best result in delayed yellowing. Experiment 5: Lime fruits cv. 'Pan' from the orchard in Kampangpetch were used. Fruits waxed with wax+GA (600ppm)+ sodium bicarbonate (2 percent), showed the best result in delayed yellowing and had the lowest incidence of diseases compared to other treatments. Fruits fumigated with 1-MCP (750 ppb) and waxed had the highest percentage of juice. Fruits treated with wax and controlled fruits had the highest soluble solids content. Fruits treated with hot water and cold water before fumigated with 1-MCP and waxed with wax+ 2 percent of sodium bicarbonate, showed the highest vitamin C content.. The highest titratable acidity were found in fruits treated with hot and cold water before waxing. However, fruits fumigated with 1-MCP and waxed had the lowest percentage of weight loss. The lime fruits in all treatment had the storage life of about 100 days.
แผนยุทธศาสตร์งานวิจัย – ระดับกระทรวง: คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร
เลขทะเบียนวิจัยกรม: มจ.1-44-047
ชื่อแหล่งทุน: งบประมาณแผ่นดินมหาวิทยาลัยแม่โจ้
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2544
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2548
เอกสารแนบ: http://webpac.library.mju.ac.th:8080/mm/fulltext/research/2549/Sujitra_Ratanamarno_2548/fulltext.pdf
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยแม่โจ้
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวมะนาว
มหาวิทยาลัยแม่โจ้
2548
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
ผลของสารล้างผิวต่ออายุการเก็บรักษาและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของมะนาว การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองเพื่อการส่งออกตลาดประเทศญี่ปุ่นโดยการขนส่งทางเรือเชิงพาณิชย์ การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตและหลังการเก็บเกี่ยวของมะปรางหวานและมะยงชิดนอกฤดูเชิงพาณิชย์อย่างยั่งยืนในเขตภาคเหนือตอนล่าง ผลของไนโตรเจนต่อคุณภาพของมะนาว การยอมรับเทคโนโลยีการเลี้ยงสัตว์แบบผสมผสาน แนวทางการวิจัยทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ศูนย์เทคโนโลยีการผลิตชาจังหวัดเชียงราย การถ่ายทอดเทคโนโลยีระบบการผลิตข้าวแบบบูรณาการ การศึกษาหาปริมาณการใช้น้ำของมะนาว (ปีที่1) คุณภาพทางกายภาพและทางเคมีของผลสตรอเบอรี่หลังการเก็บเกี่ยว

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก