สืบค้นงานวิจัย
สารอาลีโลพาธิกจากเปลือกส้มเหลือใช้ในอุตสาหกรรมเพื่อควบคุมวัชพืชในนาข้าว
รองศาสตราจารย์ดวงพร สุวรรณกุล - มหาวิทยาลัยรังสิต
ชื่อเรื่อง: สารอาลีโลพาธิกจากเปลือกส้มเหลือใช้ในอุตสาหกรรมเพื่อควบคุมวัชพืชในนาข้าว
ชื่อเรื่อง (EN): Allelopathic Substance from Citrus peel of Industrial Waste for Weed Control in Paddy Rice
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: รองศาสตราจารย์ดวงพร สุวรรณกุล
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก. ได้สนับสนุนทุนวิจัยโครงการ “สารอาลีโลพาธิกจากเปลือกส้มเหลือใช้ในอุตสาหกรรมเพื่อควบคุมวัชพืชในนาข้าว” แก่มหาวิทยาลัยรังสิต มีวัตถุประสงค์ เพื่อจำแนกสารประกอบอาลีโลพาธิกจากเปลือกส้มเหลือใช้จากอุตสาหกรรม ศึกษาสารออกฤทธิ์เชิงปริมาณเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการตรวจสอบคุณภาพและข้อมูลประกอบผลิตภัณฑ์อาลีโลพาธิก และเพื่อทดสอบประสิทธิภาพผงเปลือกส้มต่อการควบคุมวัชพืชที่สะสมในดินนาในสภาพโรงเรือนและหาอัตราส่วนความเข้มข้นของผงเปลือกส้มที่สามารถยับยั้งการงอกของวัชพืชสำคัญในนาข้าว 3 ชนิดคือ หญ้าดอกขาว ข้าวดีด และหญ้าข้าวนก จากการศึกษาวิจัยพบว่า ผงแห้งจากเปลือกส้มเหลือทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรมน้ำคั้นผลไม้ มีสารอาลีโลพาธิก ที่มีฤทธิ์ในการยับยั้งการงอกของเมล็ดและการเจริญเติบโตของวัชพืชในนาข้าว ประกอบด้วย หญ้าข้าวนก หญ้าดอกขาว และข้าวดีด โดยไม่มีผลกระทบต่อการงอกของเมล็ดและการเจริญเติบโตของต้นกล้าข้าว ที่ความเข้มข้นเท่ากันที่ระดับ 250 มิลลิกรัม ต่อทราย 30 กรัม            ประโยชน์ที่จะได้รับของโครงการนี้คือ เกษตรกรสามารถใช้ผงเปลือกส้มในช่วงการเตรียมดิน โดยคลุกและไถกลบลงไปในดินขณะเตรียมดิน เพื่อทดแทนสารกำจัดวัชพืช เป็นวัสดุปรับปรุงโครงสร้างของดินในลักษณะเดียวกับปุ๋ยหมัก และยังช่วยลดต้นทุนการผลิต นอกจากนี้สามารถพัฒนาเป็นสารกำจัดวัชพืชชีวภาพต่อไปได้ 
วิธีการจ้างทำงานวิจัย: ได้รับทุนวิจัย
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2557-10-29
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2558-10-28
เอกสารแนบ: https://epms.arda.or.th/src/Research/OldSummaryProjectDetail_web.aspx?ID=4235
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
ปีที่ได้รับงบประมาณ (ระบุได้มากกว่า 1 ปี): 2557
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยรังสิต
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
สารอาลีโลพาธิกจากเปลือกส้มเหลือใช้ในอุตสาหกรรมเพื่อควบคุมวัชพืชในนาข้าว
มหาวิทยาลัยรังสิต
28 ตุลาคม 2558
เอกสารแนบ 1
การใช้สารเคมีควบคุมวัชพืชสาบเสือ (Chromolaena Odorata) ผลของการอบดินโดยใช้ความร้อนจากดวงอาทิตย์ต่อการควบคุมข้าววัชพืชในการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว การใช้สารกำจัดวัชพืช Fenoxaprop-p-ethyl และ Lactofen ในถั่วเหลืองปลูกหลังข้าว การเปรียบเทียบประสิทธิภาพสารป้องกันและกำจัดวัชพืชในนาข้าวขึ้นน้ำ การแข่งขันกับวัชพืชของข้าวบางพันธุ์ และวิธีการควบคุมวัชพืชที่เหมาะสมในสภาพนาน้ำฝน ผลของสารสกัดหยาบจากวัชพืชต่อฤทธิ์ทางอัลลีโลพาทีต่อการงอก และการแบ่งเซลล์ของข้าว และข้าววัชพืช ผลของความร้อนต่อคุณภาพการสี คุณสมบัติทางเคมี กายภาพ และสารต้านอนุมูลอิสระของข้าวใหม่ที่ปลูกแบบนาขั้นบันได ในจังหวัดพิษณุโลก รูปแบบการทำนาข้าวที่เหมาะสมสำหรับโรงเรียนเกษตรกร จังหวัดชัยนาท ผลของการใช้แบคทีเรียละลายฟอสเฟตในการส่งเสริมการเจริญเติบโตของข้าวในสภาพแอโรบิก การปรับปรุงพันธุ์ข้าวเพื่อเพิ่มปริมาณแป้งทนต่อการย่อยด้วยเอนไซม์ โดยใช้เครื่องหมายโมเลกุลช่วยในการคัดเลือก

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก