สืบค้นงานวิจัย
การศึกษาเปรียบเทียบพฤติกรรมการเปิดรับข่าวสาร ความรู้ ทัศนคติ และการป้องกันกำจัดศัตรูพืชแบบผสมผสาน ของเกษตรกรที่เป็นสมาชิกและไม่เป็นสมาชิกโครงการพยากรณ์และเตือนการระบาดศัตรูข้าว จังหวัดชัยนาท
สุรัตน์ ตรีสุกล - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: การศึกษาเปรียบเทียบพฤติกรรมการเปิดรับข่าวสาร ความรู้ ทัศนคติ และการป้องกันกำจัดศัตรูพืชแบบผสมผสาน ของเกษตรกรที่เป็นสมาชิกและไม่เป็นสมาชิกโครงการพยากรณ์และเตือนการระบาดศัตรูข้าว จังหวัดชัยนาท
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สุรัตน์ ตรีสุกล
คำสำคัญ:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเปรียบเทียบพฤติกรรมการเปิดรับข่าวสาร ความรู้ ทัศนคติ และการป้องกันกำจัดศัตรูพืชตามโครงการพยากรและเตือนการระบาดศัตรูข้าว รวมทั้งการใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรที่เป็นสมาชิกโครงการพยากรณ์และเตือนการระบาดศัตรูข้าว จำนวน 217 คน และเกษตรกรที่ไม่เป็นสมาชิกฯ จำนวน 159 คน ซึ่งอาศัยในเขต 5 อำเภอของจังหวัดชัยนาท โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปเป็นพื้นฐานในการกำหนดแนวทางการสื่อสาร และเนื้อหาที่เหมาะสมในการถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับการป้องกันกำจัดศัตรูพืชตามโครงการฯ ผลการวิจัยปรากฏดังนี้ 1.เกษตรกรทั้งสองกลุ่มมีการเปิดรับข่าวสารและประสบการณ์ภายนอกสังคมน้อย โดยเปิดรับข่าวต่างๆ จากวิทยุมากที่สุด รองลงมาคือ โทรทัศน์และหนังสือพิมพ์ตามลำดับ ส่วนข่าวสารด้านการป้องกันและกำจัดศัตรูพืชนั้นได้รับจากสื่อบุคคลมากกว่าสื่อมวลชน สำหรับแหล่งสารที่เกษตรกรทั้งสองกลุ่มต้องการได้รับข่าวสารเรื่องการป้องกันและกำจัดศัตรูพืชมากที่สุดคือจากเจ้าหน้าที่หน่วยปราบศัตรูพืช 2.เกษตรกรที่เป็นสมาชิกฯ มีฐานะทางเศรษฐกิจสังคม ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการป้องกันกำจัดศัตรูพืชตามโครงการฯ รวมทั้งการใช้สารเคมีฯ ดีกว่าเกษตรกรที่ไม่เป็นสมาชิกฯ 3.เกษตรกรทั้งสองกลุ่มยังขาดความรู้ในเรื่องศัตรูพืช ระดับเศรษฐกิจ และความรู้เรื่องสารเคมีฯ ในบางเรื่อง เช่น ไม่สามารถระบุชื่อสารเคมีที่ใช้ในการป้องกันกำจัดศัตรูข้าวและไม่ทราบถึงผลกระทบของสารเคมีฯ ที่มีต่อสิ่งแวดล้อมและศัตรูธรรมชาติ 4.เกษตรกรทั้งสองกลุ่มยังคงมีทัศนคติที่ไม่ถูกต้องในเรื่องประโยชน์ของศัตรูธรรมชาติและประสิทธิภาพของสารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืช 5.จากการหาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมกับตัวแปรต่าง ๆ พบว่า การเข้ารับการอบรมเรื่องการป้องกันและกำจัดศัตรูพืชเป็นตัวแปรสำคัญที่มีความสัมพันธ์กับความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมของเกษตรกรทั้งสองกลุ่ม และพบว่าเกษตรกรที่มีความรู้และทัศนคติที่ถูกต้องเกี่ยวกับการป้องกันและกำจัดศัตรูพืชตามโครงการฯ จะมีความรู้และทัศนคติที่ถูกต้องเกี่ยวกับสารเคมีฯ ด้วย 6.จากการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน พบว่า ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมมีความสัมพันธ์กัน โดยทัศนคติและความรู้เป็นตัวแปรที่อธิบายความผันแปรหรือมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมมากกว่าตัวแปรอื่น
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2549
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2549
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
พื้นที่ดำเนินการ: จังหวัดชัยนาท
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การศึกษาเปรียบเทียบพฤติกรรมการเปิดรับข่าวสาร ความรู้ ทัศนคติ และการป้องกันกำจัดศัตรูพืชแบบผสมผสาน ของเกษตรกรที่เป็นสมาชิกและไม่เป็นสมาชิกโครงการพยากรณ์และเตือนการระบาดศัตรูข้าว จังหวัดชัยนาท
กรมส่งเสริมการเกษตร
2549
การรับข่าวสาร ความรู้ ทัศนคติและการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูข้าวของเกษตรกรในเขตโครงการพยากรณ์และเตือนการระบาดศัตรูข้าว จังหวัดชัยนาท ข้าวให้พลังงานผสานคุณค่าอาหาร การพัฒนาสารสนเทศเพื่อการป้องกันกำจัดศัตรูข้าว ความรู้และทัศนคติของเกษตรกรในการป้องกันกำจัด เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลโดยวิธีผสาน การศึกษาพฤติกรรมการใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรที่ทำนาข้าวในพื้นที่ลุ่มน้ำท่าจีน (จังหวัดชัยนาทและจังหวัดสุพรรณบุรี) ศึกษาทัศนคติของเกษตรกรที่มีต่อการป้องกันกำจัดวัชพืชในไร่อ้อย โดยวิธีผสมผสาน ความรู้ทัศนคติของเกษตรกรที่มีต่อการป้องกันการเกิดอะฟลาทอกซินในข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการใช้สารชีวภาพของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครเพื่อการพัฒนาสิ่งแวดล้อม การประเมินผลเพื่อเปรียบเทียบความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติของเกษตรกรในเขต และนอกเขตโครงการพยากรณ์ และเตือนการระบาดของศัตรูข้าว จ.ขอนแก่น ปี 2530/2531 ความรู้และการป้องกันกำจัดศัตรูอ้อยโดยวิธีผสมผสานของเกษตรกรชาวไร่อ้อยในจังหวัดลำปาง

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก