สืบค้นงานวิจัย
การศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นในแขวงเซกอง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
นันทนา แจ้งสุวรรณ์, เพียงใจ เจียรวิชญกุล, พงศ์ศรัณย์ จันทร์ชุ่ม, อรุณี เจริญทรัพย์ - มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี
ชื่อเรื่อง: การศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นในแขวงเซกอง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
ชื่อเรื่อง (EN): Biodiversity and local wisdom variation in Sekong District, Lao People’s Democratic Republic
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: ชุดโครงการวิจัยการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นในแขวงเซกอง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เนื้อหาประกอบด้วย 5 โครงการย่อย คือ การศึกษาความหลากหลายทางสัณฐานวิทยาและสรีรวิทยาของพันธุ์ข้าวไร่พื้นเมืองในแขวงเซกอง การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมของพันธุ์ข้าวไร่พื้นเมืองในแขวงเซกอง การศึกษาความหลากหลายของสัตว์ปีก ได้แก่ ไก่และนกเพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ การศึกษาองค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปวัฒนธรรมและข้อมูลสารสนเทศในแขวงเซกอง และการใช้ประโยชน์จากวัสดุท้องถิ่นสินค้าแขวงเซกองเพื่อพัฒนาเป็นของที่ระลึกและเป็นต้นแบบผลิตภัณฑ์ชุมชน ซึ่งการศึกษาในแต่ละโครงการย่อยเป็นการศึกษาในพื้นที่แขวงเซกอง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว จากการศึกษาแต่ละโครงการย่อยสรุปได้ว่า การวิจัยเพื่อศึกษาความหลากหลายทางสัณฐานวิทยาและสรีรวิทยาของข้าวไร่ในแขวงเซกอง ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยการรวบรวมเมล็ดพันธุ์ข้าวไร่จากเกษตรกรที่ปลูกข้าวไร่พื้นเมืองในอำเภอละมามและอำเภอท่าแตง สามารถรวบรวมพันธุ์ข้าวได้ 34 ตัวอย่าง เป็นข้าวเหนียว 31 ตัวอย่าง เป็นข้าวเจ้า 3 ตัวอย่าง เมื่อนาพันธุ์ข้าวพื้นเมืองมาปลูกในแปลงทดลองเพื่อศึกษาลักษณะทางสัณฐานวิทยาในระยะแตกกอเต็มที่ ระยะออกดอก 50 เปอร์เซ็นต์ และระยะเก็บเกี่ยว พบว่าในระยะแตกกอเต็มที่พบความแตกต่างทางสัณฐานวิทยาของลักษณะการมีขนบนแผ่นใบ สีของแผ่นใบ สีของกาบใบ มุมยอดของแผ่นใบ สีของลิ้นใบ สีของเขี้ยวใบ และสีของข้อต่อใบ ในระยะออกดอก 50 เปอร์เซ็นต์พบความแตกต่างทางสัณฐานวิทยาในลักษณะสีของปล้อง ทรงกอ สีของยอดเกสรเพศเมีย สียอดดอก สีกลีบรองดอกการมีหางข้าว สีหางข้าวและวันออกดอก 50 เปอร์เซ็นต์ ส่วนระยะเก็บเกี่ยวพบความแตกต่างในลักษณะการแก่ของใบ ก้านรวง การแตกระแง้ และอายุการเก็บเกี่ยว จากการศึกษาครั้งนี้สามารถนามาใช้ในการคัดเลือกข้าวไร่สายพันธุ์พ่อแม่สาหรับการปรับปรุงข้าวไร่ในอนาคต ข้าวพื้นเมืองในแขวงเซกอง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ที่นำมาใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นข้าวพื้นเมืองที่ปลูกในอาเภอท่าแตงและอาเภอละมาม แขวงเซกองสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว จำนวน 23 ตัวอย่าง จากเส้นสายวิวัฒนาการที่สร้างจากลาดับเบสไอที เอสโดยใช้ไพรเมอร์ที่สามารถเพิ่มปริมาณชิ้นส่วนไอทีเอสในพืช (Lee et. al. 2002) คือ ITS1 GTCCACTGAACC TTATCATTTAG และITS4 TCCTCCGCTTATTGATATGC สามารถแบ่งข้าวไร่ ออกเป็นกลุ่มย่อยๆ ได้แก่ข้าวเตี้ย (เซิ่นเน) (บ้านติ้ง) ข้าวก่า (บ้านกระปือ-19) ข้าวหมากบวม ข้าวก่า (บ้านกันดอน-3) ข้าวขาว (บ้านนาซอน-1) ข้าวเจ้า(อัตตะปือ-1) ข้าวปาน ข้าวแก่นคู่ (น) (โนนหนองหว้า-8) มีค่า boostrap หรือค่าที่เชื่อได้ว่าตัวอย่างดังกล่าวอยู่ในกลุ่มเดียวกันมีค่าถึง 56 เปอร์เซ็นต์ ข้าวแม่ (บ้านกันดอน) (แตกกอดี) ข้าวอีเก๊าะขาว มีค่า boostrap หรือค่าที่เชื่อได้ว่าตัวอย่างดังกล่าวอยู่ในกลุ่มเดียวกันมีค่าถึง 64 เปอร์เซ็นต์ และข้าวก่า (บ้านหนองเวียน) ข้าวหมากแดง (อัตตะปือ-2) ข้าวอีเตี้ย (บ้านกะปือ-19) มีค่า boostrap หรือค่าที่เชื่อได้ว่าตัวอย่างดังกล่าวอยู่ในกลุ่มเดียวกันมีค่าถึง 89 เปอร์เซ็นต์ การวิจัยเพื่อศึกษาความหลากหลายทางชีววิทยาและการใช้ประโยชน์เพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจของไก่ในแขวงเซกอง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ใช้แบบบันทึกข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพ วางแผนการทดลองและเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่มที่ไม่เป็นอิสระต่อกัน ผลการวิจัยพบว่า แขวงเซกองมีพันธุ์ไก่ 3 กลุ่มพันธุ์ คือ ไก่พื้นเมืองพันธุ์แท้ ไก่ชนพันธุ์แท้ และไก่ชนลูกผสม รวม28 ชนิดสี ไก่พื้นเมืองลาวเป็นพันธุ์ไก่ที่มีค่าดัชนีความสำคัญ (IVI) สูงสุดและมีชนิดสีมากที่สุดไก่มีค่าความคงอยู่ร้อยละ 40.28 ลักษณะทางสัณฐานวิทยาของไก่ที่พบในแขวงเซกองทั้งลักษณะเชิงปริมาณและลักษณะเชิงคุณภาพค่อนข้างใกล้เคียงกับในประเทศไทย ผู้เลี้ยงไก่มีการใช้ประโยชน์จากไก่โดยตรงมากกว่าโดยอ้อม ไก่ชนสามารถเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจต่อตัวได้สูงกว่าไก่กลุ่มอื่นๆ โอกาสทางการตลาดไก่พื้นเมืองมีสูงมากกว่าไก่พันธุ์อื่นและสูงกว่าในประเทศไทยประมาณ 1.35-5 เท่า การสังเคราะห์วิถีการใช้ประโยชน์จากไก่ทั้งโดยตรงและโดยอ้อมมีสัดส่วนคือ ร้อยละ 67.57 และ 32.43 ตามลำดับ สรุป แขวงเซกองเป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลายของพันธุ์และชนิดสีไก่ ไก่พื้นเมืองลาวมีค่าดัชนีสำคัญรวมสูงสุด แต่ไก่เหล่านี้มีค่าความคงอยู่ค่อนข้างต่ำ ลักษณะทางสัณฐานวิทยาของไก่ในแขวงเซกองคล้ายกับที่พบในประเทศไทย แต่มีความหลากหลายในชนิดสีมากกว่าประเทศไทย ไก่พื้นเมืองลาวมีราคาต่อตัวสูงกว่าในประเทศไทย และวิถีการใช้ประโยชน์จากไก่ทั้งโดยตรงมากกว่าการใช้ประโยชน์โดยอ้อม การศึกษาความหลากหลายนกที่แขวงเซกอง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ทำการสำรวจนกใน 3 พื้นที่ ได้แก่ 1) บริเวณหมู่บ้านจัดสรร เมืองท่าแตง 2) บริเวณน้ำตกตาดแฝก ถึงน้ำตกตาดหัวคน และ 3) บริเวณหลัก 52 ถึงน้ำตกเซกาตามตกของเมืองละมาม ดำเนินการสำรวจระหว่างเดือนมกราคม -สิงหาคม 2558 รวมนกที่พบ 111 ชนิด สามารถจัดแบ่งตามหลักอนุกรมวิธานได้ จำนวน 14 อันดับ 41 ครอบครัว 71 สกุล เป็น Non-passerine 13 อันดับ 16 ครอบครัว 28 สกุล 38 ชนิด นกจับคอน (Passerine) 1 อันดับ 25 ครอบครัว 43 สกุล 73 ชนิด การสำรวจนี้ไม่พบชนิดนกที่ใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่ง, ชนิดที่ใกล้สูญพันธุ์ และชนิดที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ พบนกใกล้ถูกคุกคาม (Near Threatened) 1 ชนิดคือนกกะลิง Grey-headed Parakeet (Psittacula finschii) ซึ่งถูกล่ามาขาย และพบนก 1 ชนิด ที่ไม่มีในบัญชีของ Bird Life International คือ Zappeys flycatcher (Cyanoptila cumatilis) ประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาชนลาวเป็นประเทศที่มีความสัมพันธ์อันดีมาอย่างยาวนานตั้งแต่ในอดีต อีกทั้งยังมีพรหมแดนเชื่อมต่อกัน ทาให้การดำรงชีวิต สภาพแวดล้อม ตลอดจนศิลปวัฒนธรรมมีความคล้ายคลึงกันอย่างมาก สาหรับแขวงเซกอง (Xekong) ตั้งอยู่บริเวณตะวันตกเฉียงใต้ของสาธารณรัฐประชาชนลาว มีอาณาเขตติดกับแขวงสาละวัน, แขวงอัดตะปือ, แขวงจำปาสักและประเทศเวียดนาม พื้นที่มีความอุดมสมบูรณ์ เหมาะสมแก่การเพาะปลูก มีชนเผ่าที่อาศัยอยู่ในแขวงเซกองถึง 13 ชนเผ่า ส่งผลให้การศึกษาองค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นนั้นมีความน่าสนใจเป็นอยากมาก การศึกษาครั้งนี้วัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมองค์ความรู้ด้านภูมิปัญญาชาวบ้านศิลปวัฒนธรรมในแขวงเซกองและจัดทาฐานข้อมูลองค์ความรู้ในรูปแบบระบบอิเลคทรอนิคและสื่อมัลติมีเดีย โดยใช้ข้อมูลทั้งแบบปฐมภูมิและทุติยภูมิเพื่อนามารวบรวม วิเคราะห์และเรียบเรียงเพื่อจัดทำสื่อมัลดิมีเดีย จานวนทั้งสิ้น 51 ตอน ได้แก่ 1. มนต์เสน่ห์แขวงเซกอง..เมืองชนเผ่าและขุนเขา(8 ตอน), 2.ความหลากหลายทางชีวภาพกับแหล่งท่องเที่ยวแขวงเซกอง (2 ตอน), 3. เมืองละมาน (1 ตอน) ,4. เผ่าฮารัก (9 ตอน), 5. เผ่าละวี (7 ตอน), 6.เมืองท่าแตง (1 ตอน), 7.เผ่าส่วย (8 ตอน) 8.เผ่าละเวน(8 ตอน) และ 9.เผ่ากะตู (7 ตอน) การพัฒนารูปแบบการใช้ประโยชน์จากวัสดุท้องถิ่นสินค้าแขวงเซกองเพื่อพัฒนาเป็นของที่ระลึก ได้ศึกษาวางแผนสร้างสรรค์ผลงานจากวัสดุท้องถิ่นในแขวงเซกอง โดยเน้นการสร้างของที่ระลึกที่มีความงามและประโยชน์ใช้สอย ความเป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่น วิถีชีวิต สร้างเป็นผลิตภัณฑ์ที่เรียบง่าย แปลกใหม่ น่าสนใจโดยนำแนวคิดทางรูปแบบมาจากธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การใช้วัสดุหรือเรื่องราวในท้องถิ่นมาสร้างสรรค์ให้เกิดคุณค่า กระบวนการและกรรมวิธีในการผลิตง่าย ชุมชนสามารถเรียนรู้และผลิตเป็นสินค้าได้ โดยพัฒนารูปแบบแบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ผลิตภัณฑ์จากผ้าทอแขวงเซกอง และผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกจากเศษวัสดุท้องถิ่น จำนวน 20 ผลิตภัณฑ์ พบว่าผู้เชี่ยวชาญและกลุ่มแม่บ้านในแขวงเซกอง เห็นว่าผลิตภัณฑ์จากวัสดุท้องถิ่น ได้รับความนิยมมากด้วยเหตุที่ว่า รูปแบบความสวยงามมีลักษณะการถ่ายทอดถึงเอกลักษณ์ท้องถิ่นที่มีการ รูปแบบ และการผสมผสานการจัดวางของวัสดุที่มีความหลากหลาย และสามารถนำเอาเศษวัสดุในท้องถิ่นมาผสมผสานสร้างสรรค์งานอย่างลงตัว ซึ่งผลงานการสร้างสรรค์ทั้งหมดจะใช้เป็นผลิตภัณฑ์สำหรับชุมชน เพื่อทำการพัฒนาให้เป็นสินค้าที่ระลึก จำหน่ายสร้างรายได้ให้กับท้องถิ่นต่อไป
บทคัดย่อ (EN): This research was aimed to investigate morphological and physiological diversity of upland rice in Sekong District, Lao People’s Democratic Republic. The study was investigate the diversity of indigenous upland rice in Lamam and Tha Tang sub-district. Thirty four samples were surveyed and gathered from farmer cropping. Thirty one sample are glutinous rice and three are non-glutanous rice. The study of morphological characteristic revealed that at tillering stage are found genetic diversity in blade pubescence, blade color, basal leaf sheath color, leaf angle, ligule color, auricle color and collar color, at 50 percent day flowering are found genetic diversity in internode color, culm angle, stigma color, apiculus color, sterile lemma color, awning and awn color and at haevesting stage are found genetic diversity in leaf senescence, panicle axis, secondary branching and harvesting date. As the result, this study can be use for upland rice breeding programe in the future. The traditional rice (Oryza sativa) of Sekong District, Lao People’s Democratic Republic is cultivated in upland. In this study, the 23 rice samples are collected from Tha Teng and Lamam district. The result of phylogenetic which developed from ITS DNA sequencing of Lee et. al. 2002 (ITS1 GTCCACTGAACC TTATCATTTAG and ITS4 TCCTCCGCTTATTGATATGC) reveals that there are several subgroups. For example, the boostrap value of subgroup which consist of Khao Tae, Khao Khom Ban Ka Boo, Khao Mark Boom, Khao Khom Bankandon -3, Khao Khao Ban Nachon-1, Khao Chao Attapeu-1, Khao Pan, Khaokankoo, are 56 percent. The boostrap value of subgroup which consist of Khao Mae Bankandon and Khao Aee Kao Khao, subgroup which consist of Khao Kom, Khao Mark Dang, Khao Aee Thaee are 64 percent and 89 percent, respectively. The purpose of this research was to determined chicken biodiversity and utilization of the chicken for increasing economic values at Sekong Province, Lao Peoples Democratic Republic. The research was survey research and using sheet work that assigned to Paired-Sample T test. Research findings revealed that there were 3 breed groups as native chicken breed, fighting cock breed and fighting cock crossbreed. There were 28 varieties (colors) of chickens. Loa native chicken breed was highest importance value index (IVI) and had varieties more than other chicken breeds. There was found 40.28% of chicken sustainable value in life cycle. Chicken morphology (quality trait and quantity trait) in the province were quite similar to Thai chickens. The chicken farmer was taking chicken direct utilization than indirect used. Gamecock breeds were increased economic value higher than other breeds. Lao native chickens were a good market opportunity and value (price) of the chicken was 1.35-5 times higher than Thai native chickens. The direct utilization and indirect utilization of chickens were67.57and 32.43 percent, respectively. In conclusion, Sekong province is an area that offers biodiversity of chicken breeds and varieties. Loa native chicken is highest importance value index. However, those chickens are still relatively low sustainable value. The chicken farmer is taking chicken direct utilization than indirect use. Morphology of chicken in Sekong province is similar to that found in Thailand but there are more varieties of type’s colors. About price per birds, Lao native chicken is higher than Thai native chicken. In addition, the chicken farmer is taking chicken direct utilization than indirect use. Birds surveyed at Tad Faek, Tad Houkon, Lak 52 forest, Tad Sekatamtok of Lamam district and in Thatang district near hydropower dam, Sekong province in Lao PDR. were conducted between January – August 2015. One - hundred and eleven species were found and categorized in 14 Orders, 41 families, and 71 Genera. Represent in Non-passerine 13 Orders, 16 Families, 28 Genera, 38 Species and Passerine 1 Order, 25 Families, 43 Genera,73 Species. They are all no critically endangered, endanger and vulnerable species. Just only 1 near threatened species of Grey-headed Parakeet (Psittacula finschii) which was hunted and for sale on the roadside along the way to Lak 52 forest. One species is not in the list of Bird Life International, Zappeys flycatcher (Cyanoptila cumatilis). Thailand and Lao Peoples Democratic Republic has a good international relation as reveals in the history. The connected border also has an influence the similarity in the ways of life, art and cultural, environment. Xekong is located in the south-west of Lao Peoples Democratic Republic, border with Salavan, Attapeu, Champasak, and Vietnam. The land of Xekong is rich of natural resources which is appropriate for agricultural with 13 ethnic groups. These support the necessity to gather knowledge and develop multimedia in local wisdom, art and cultural in Xekong. For data collection, both primary data and secondary data are applied in this research. The 51 episodes of multimedia in Knowledge Base and Local Wisdom of Art –Cultural and Information System in Xekong, Lao Peoples Democratic Republic are developed in 9 categories as 1) the charm of Xekong..the land of ethnicity and mountain (8 episodes) , 2) the biodiversity and tourist attraction in Xekong, 3) Lamam District (1 episode), 4) Alak ethnic group (9 episodes), 5) Lavee ethnic group (7 episodes), 6) Thateng District (1 episode), 7) Suay ethnic group (8 episodes), 8) Laven ethnic group (8 episodes), 9) Kutu ethnic group (7 episodes) The utilization of local material in Xekong; Lao Peoples Democratic Republic as souvenir aims to study and develop community product as model. The main concepts in product design are aesthetic, functional, local identity, and simplicity in production process with local wisdom, ways of life, nature and environment. In this research, the 20 product designs are classified in to 2 categories as woven fabric product (10 designs) and souvenir (10 designs). The result of the evaluation in product design from experts, local residents, and tourists reveals that the designs could be express the aesthetic and local identity with potential to use as model for community product. This research would utilize as model to develop community product to generate income to local community.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2557-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2558-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นในแขวงเซกอง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี
30 กันยายน 2558
ความหลากหลายทางสัณฐานวิทยาและสรีรวิทยาของพันธุ์ข้าวไร่พื้นเมืองในแขวงเซกอง ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โครงการสื่อความรู้ด้านความหลากหลายทางชีวภาพของสิ่งมีชีวิตในแนวปะการังและพื้นที่ใกล้เคียงทะเลอันดามัน โครงการสื่อความรู้ด้านความหลากหลายทางชีวภาพของสิ่งมีชีวิตในแนวปะการังและพื้นที่ใกล้เคียงทะเลอันดามัน การศึกษาความหลากหลายและโครงสร้างของสังคมพืชบริเวณพื้นที่เขื่อนสิริกิติ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ ความหลากหลายทางชีวภาพของสัตว์ปีกแขวงเซกอง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว การศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นในแขวงจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว การศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพตามภูมิปัญญาท้องถิ่นในระดับโรงเรียนเพื่อติดตามการเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อมของท้องถิ่น ในจังหวัดกาญจนบุรี การถ่ายทอดองค์ความรู้ความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นในแขวงจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สู่ชุมชน ความหลากหลายของพืชสมุนไพรและภูมิปัญญาท้องถิ่นของราษฎรในเขตเขาซับแกงไก่ จังหวัดลพบุรี ความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นของข้าวในแขวงจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก