สืบค้นงานวิจัย
ความหลากหลายของชนิดสัตว์น้ำ การอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน ในลุ่มน้ำลำปลายมาศ
นางงามตา โอกาสดี, เมธาวี รอตมงคลดี, นางพยอม รอตมงคลดี - มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
ชื่อเรื่อง: ความหลากหลายของชนิดสัตว์น้ำ การอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน ในลุ่มน้ำลำปลายมาศ
ชื่อเรื่อง (EN): Species Diversity of Aquatic Animals, Conservation and Sustainable Utilization in Lumplaimas Basin
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การศึกษาความหลากหลายของชนิดสัตว์น้ำ การอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน ในลุ่มน้ำลำปลายมาศ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ทราบข้อมูลบริบทชุมชน ระบบนิเวศ คุณภาพน้ำ ความหลากหลายของชนิดและการแพร่กระจายของสัตว์น้ำพวกกุ้ง ปู หอยและปลา ในลุ่มน้ำ ลำปลายมาศ และเพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการถ่ายทอดความรู้ อนุรักษ์ พัฒนาและบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน ด้วยกระบวนการปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม โดยใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร การสนทนา การซักถาม การสนทนากลุ่ม การทำเวทีประชาคม กระบวนการปฏิบัติและเรียนรู้ร่วมกันระหว่างผู้วิจัย เยาวชน ชาวประมง ผู้นำชุมชน นักเรียนและชาวบ้านในชุมชน การเก็บและวิเคราะห์คุณภาพน้ำ (อุณหภูมิ ความโปร่งแสง ค่า pH และค่า DO) และการศึกษาความหลากหลายของชนิดสัตว์น้ำ โดยการเก็บตัวอย่างและนำมาจำแนกชนิด ในระหว่างเดือนตุลาคม 2555 ถึงเดือนกันยายน 2556 ผลการศึกษาบริบทชุมชนพบว่าชุมชนบ้านเย้ยม่วง ตำบลหนองคู อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นชุมชนสังคมชนบทที่ประชาชนใช้ชีวิตอยู่อย่างสงบ มีความสุข ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนาเป็นอาชีพหลัก ฐานะทางเศรษฐกิจในระยะ 3 - 4 ปีมานี้ไม่ดีเนื่องจากน้ำจากแม่น้ำลำปลายมาศท่วมที่นาเสียหายติดต่อกันทุกปี ชุมชนบ้านชุมพวงธารทองเป็นชุมชนสังคมชนบทกึ่งเมือง ประชากรมีฐานะความเป็นอยู่ปานกลางแบบพอมีพอกิน มีอาชีพที่หลากหลายเช่น ทำนา ค้าขาย รับจ้างและการทำการประมง ด้านสาธารณสุขพบว่าทั้งสองชุมชนไม่มีปัญหาด้านสาธารณสุขที่สำคัญ ผลการศึกษาระบบนิเวศของแม่น้ำลำปลายมาศ พบว่า มีความหลากหลายของระบบนิเวศ ทั้งในลำน้ำ และบริเวณริมฝั่ง น้ำมีคุณภาพดี ทำให้มีทรัพยากรสัตว์น้ำชุกชุม ทั้งกุ้ง ปู หอย ปลา มีที่ดินสาธารณะประโยชน์ในบริเวณลำน้ำหลายแห่ง ที่ชาวบ้านได้ใช้ประโยชน์ร่วมกัน แต่ในปัจจุบันพบว่า มีบางบริเวณที่มีการบุกรุกแผ้วถางแปรสภาพพื้นที่บริเวณริมฝั่งแม่น้ำทั้งเพื่อการทำไร่ นา สวนและเพื่อเป็นที่อยู่อาศัย ทำให้สภาพริมฝั่งและลำน้ำบางบริเวณเปลี่ยนแปลงไป การใช้ประโยชน์จากแม่น้ำลำปลายมาศ พบว่าประชาชนที่อาศัยในบริเวณลุ่มน้ำลำปลายมาศและชุมชนใกล้เคียง ได้ใช้ประโยชน์จากแม่น้ำลำปลายมาศหลายด้านได้แก่ ใช้น้ำเพื่ออุปโภคบริโภคและเพื่อการเกษตรกรรม เช่น การทำนา การเพาะปลูกพืชผัก ผลไม้ พืชไร่และใช้เลี้ยงสัตว์ ใช้พืชที่หาได้จากบริเวณลำน้ำทั้งเพื่อเป็นอาหาร จำหน่าย ใช้สร้างเครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ และใช้เป็นเชื้อเพลิง ใช้ที่สาธารณะประโยชน์เป็นที่ทำเลเลี้ยงสัตว์ เก็บหาของป่า ใช้บริเวณแม่น้ำเป็นประโยชน์ในด้าน การท่องเที่ยวและพักผ่อนหย่อนใจ นอกจากนี้ ยังใช้ทรัพยากรสัตว์น้ำ เช่น กุ้ง ปู หอย ปลา ที่สามารถหาจับได้ตลอดทั้งปี ทั้งเพื่อเป็นอาหารบริโภคภายในครัวเรือน เพื่อจำหน่าย รวมทั้งมีการแปรรูปและการถนอมอาหาร เช่น การทำปูดอง กุ้งจ่อม ปลาร้า ปลาส้ม ปลาแห้ง ปลาป่นและปลาเค็มเป็นต้น ทำให้เกิดความมั่นคงทางด้านอาหารในท้องถิ่น การฝึกปฏิบัติ เรียนรู้ร่วมกันของนักเรียน เยาวชน ผู้นำท้องถิ่น ชาวชุมชนที่สนใจ ชาวประมงและคณะผู้วิจัย ในเรื่องการสำรวจทรัพยากรชีวภาพ การวิเคราะห์คุณภาพน้ำ รวมทั้ง การอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติบริเวณแม่น้ำลำปลายมาศ เพื่อการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน ได้ก่อให้เกิดเครือข่ายกลุ่มอนุรักษ์ลำน้ำขึ้น เพื่อเฝ้าระวังการทำลายทรัพยากรสัตว์น้ำ ระบบนิเวศและหาแนวทางการเพิ่มผลผลิตจากแหล่งน้ำ เช่นการหาพันธุ์สัตว์น้ำมาปล่อยลงสู่แหล่งน้ำ การกำหนดเขตอนุรักษ์ การกำหนดเครื่องมือและวิธีการจับสัตว์น้ำ การศึกษาความหลากหลายของชนิด และการแพร่กระจายของสัตว์น้ำในลุ่มน้ำลำปลายมาศ พบกุ้งน้ำจืด จำนวน 1 วงศ์ 1 สกุล 3 ชนิด คือ Macrobrachium lanchesteri, M. yui, M. rosenbergii พบปูน้ำจืดจำนวน 1 วงศ์ 2 สกุล 2 ชนิด คือ Siamthelphusa paviei, Somanniathelphusa dugasti พบหอยกาบเดี่ยว จำนวน 5 วงศ์ 8 สกุล 12 ชนิด คือ Filopaludina martensi cambodjensis, F. martensi munensis, F. sumatrensis polygramma, Eyriesia eyriesi, Trochotaia trochoides, Pila polita, P. ampullacea, Pomacea canaliculata, P. bridgesii, Bithynia siamensis siamensis, Brotia citrina, Lymnaea auricularia rubiginosa พบหอยกาบคู่ จำนวน 3 วงศ์ 6 สกุล 6 ชนิด คือ Limnoperna siamensis, Hyriopsis bialatus, Scarbies phaselus, Ensidens ingallsianus ingallsianus, Pilsbryoconcha exilis exilis, Corbicula gustaviana และพบปลาน้ำจืดจำนวน 21 วงศ์ 51 สกุล 74 ชนิด คือ Chitala ornata, Notopterus notopterus, Clupeichthys aesapnensis, Paralaubuca typus, Parachela siamensis, P. maculicauda, Esomus metallicus, Rasbora borapetensis, R. tornieri, R. trilineata, Thynnichthys thynnoides, Cyclocheilichthys apogon, Puntioplites proctozysron, Barbodes altus, B. gonionotus, B. schwanefeldi, Puntius brevis, Systomus orphoides, S. partipentazona, Osteochilus hasselti, O. melanopleura, O. microcephalus, Crossocheilus siamensis, Labeo rohita, Morulius chrysophekadian, Hampala dispar, Henicorhynchus ornatipinnis, H. siamensis, Labiobarbus siamensis, Acanthopsis thiemmethdi, Yasuhikotakia modesta, Y. morleti, Syncrossus helodes, Pseudomystus siamensis, Heterobagrus bocourti, Mystus singaringan, M. mysticetus, Hemibagrus filamentus, H. wickioides, Kryptopterus cheveyi, K. geminus, Micronema apogon, Ompok krattensis, Wallago attu, Pangasius hypophthalmus, P. larnaudi, P. macronema, Helicophagus leptorhynchus, Clarias batrachus, C. macrocephalus, Xenantodon cancila, Dermogynys siamensis, Monopterus albus, Macrognathus siamensis, M. semiocellatus, Mastacembelus favus, Parambassis siamensis, Pristolepis fasciata, Nandus oxyrhynchus, Oreochromis niloticus, Oxyeleotris marmoratus, Anabas testudineus, Trichopsis pumila, T. vittatus, Trichogaster trichopterus, T. microlepis, T. pectoralis, Betta smaragdina, Channa gachua, C. lucius, C. micropeltes, C. striata, Euryglossa harmandi, Monotreta leiurus จากการสำรวจพบว่าสัตว์น้ำส่วนใหญ่มีความชุกชุม และมีการแพร่กระจายอย่างกว้างขวาง พบในทุกบริเวณที่ทำการสำรวจ แต่ก็มีบางชนิด ได้แก่ Macrobrachium rosenbergii, Hyriopsis bialatus, Barbodes schwanefeldi และ Heterobagrus bocourti ที่พบเฉพาะในบางบริเวณเท่านั้น โดยเฉพาะ Macrobrachium rosenbergii พบได้น้อยมาก ส่วนสัตว์น้ำบางชนิดโดยเฉพาะพวกปลาเช่น Chitala ornata, Hemibagrus wickioides, Kryptopterus cheveyi, Micronema apogon, Pangasius larnaudi และ Channa gachua เดิมเคยพบชุกชุมในลุ่มน้ำลำปลายมาศ แต่ปัจจุบันพบได้น้อย หากไม่เร่งหาทางดำเนินการแก้ไข สัตว์น้ำเหล่านี้อาจสูญหายไปจากลุ่มน้ำ
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2555-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2556-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ความหลากหลายของชนิดสัตว์น้ำ การอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน ในลุ่มน้ำลำปลายมาศ
มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
30 กันยายน 2556
ความหลากหลายของชนิดสัตว์น้ำ การอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนในลุ่มแม่น้ำโขง ภาคเหนือของประเทศไทย ความหลากหลายของชนิดสัตว์น้ำ การอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนในลุ่มน้ำสงคราม ความหลากหลายทางพันธุกรรมเพื่อการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน ในโคพื้นเมืองของกรมปศุสัตว์ การใช้ประโยชน์สัตว์น้ำและวิถีการตลาดสินค้าสัตว์น้ำจากหนองหาร จังหวัดสกลนคร การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมและประเมินศักยภาพของไก่พื้นเมืองไทยในจังหวัดน่านเพื่อการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน การใช้เทคโนโลยีทางเลือกเพื่อผลิตสัตว์น้ำอย่างปลอดภัยและยั่งยืน การใช้น้ำมันกานพลูเป็นยาสลบสำหรับสัตว์น้ำ การจัดการความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่อุทยานแห่งชาติภูลังกา จังหวัดนครพนม เพื่อการอนุรักษ์และพัฒนาการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน การใช้ประโยชน์ทรัพยากรสัตว์น้ำของชุมชนในบริเวณแม่น้ำชี ความหลากหลายของชนิดปลาน้ำจืด และการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน ในแม่น้ำมูล ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก