สืบค้นงานวิจัย
สภาพการผลิตเบญจมาศของเกษตรกรในจังหวัดหนองคาย : กรณีศึกษาเกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตเบญจมาศตัดดอก ปี 2546
สังคม ออมอด - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: สภาพการผลิตเบญจมาศของเกษตรกรในจังหวัดหนองคาย : กรณีศึกษาเกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตเบญจมาศตัดดอก ปี 2546
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สังคม ออมอด
คำสำคัญ:
หมวดหมู่:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: การศึกษาสภาพการผลิตเบญจมาศของเกษตรกรในจังหวัดหนองคาย กรณีศึกษาเกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตเบญจมาศตัดดอก ปี 2546 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพพื้นฐานบางประการ ทางสังคม ทางเศรษฐกิจ ทางกายภาพของพื้นที่ เพาะปลูกของเกษตรกรในจังหวัดหนองคาย 2) ศึกษาสภาพการผลิตเบญจมาศของเกษตรกร 3) ศึกษาปัญหาและความต้องการแก้ไขปัญหาการผลิตเบญจมาศของเกษตรกร เก็บรวบรวมข้อมูลจากเกษตรกร จำนวน 74 ราย ในจังหวัดหนองคาย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูป สถิติที่ใช้ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาเป็นดังนี้ เกษตรกรที่ปลูกเบญจมาศ ร้อยละ 47.3 เป็นชาย ร้อยละ 52.7 เป็นหญิง อายุเฉลี่ย 43.2 ปี การศึกษาส่วนมากจบ ป.4 มีประสบการณ์ในการปลูกเบญจมาศเฉลี่ย 4.2 ปี มีสมาชิกที่เป็นแรงงานเฉลี่ย 2.1 คน ส่วนมากใช้ทุนของตนเอง มีรายได้เฉลี่ย 18,421.6 บาท ดินที่ปลูกเป็นดินเหนียว เกษตรกรมีไฟฟ้าใช้กับการปลูกเบญจมาศอย่างสะดวก ส่วนมากได้รับการสนับสนุนพันธุ์จากทางราชการ ไม่มีการวัดความเป็นกรดเป็นด่างของดินก่อนปลูก มีการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในการปรับปรุงบำรุงดิน อัตราการใส่เฉลี่ย 247.8 กก./ครั้ง ปลูกเบญจมาศรุ่นแรกเดือนกรกฎาคม ปลูกรุ่นสุดท้ายเดือนมกราคม ปลูกแบบเด็ดยอด มีการปลูกทั้งแบบดอกเดี่ยวและดอกช่อ นิยมปลูกพันธุ์โพราลีส มีการพยุงต้นทุกแปลง ให้น้ำเวลาเย็น ให้แสงทุกวัน เวลา 22.00-02.00 น. มีการใส่ปุ๋ยเคมีเฉลี่ย 45.6 กก./รุ่น โรคที่พบคือโคนเน่า ใบไหม ใบจุด แมลงที่พบคือเพลี้ยอ่อน การขาย ขายทั้งปลีกและส่ง ราคาต่อมัดเฉลี่ย 40.2 บาท ตลาดต้องการดอกสีขาวเป็นส่วนมาก สภาพปัญหาการผลิตพบว่า มีปัญหาและต้องการแก้ไขปัญหาเรื่องการตลาด โรคแมลง เงินทุน ข้อเสนอแนะ หน่วยงานราชหรือองค์กรที่เกี่ยวข้อง ควรแนะนำส่งเสริมถ่ายทอดเทคโนโลยีเรื่องการตลาด การป้องกันกำจัดโรคแมลง แนะนำส่งเสริมการปรับปรุงบำรุงดิน ให้การสนับสนุนพันธุ์ดี จัดหาแหล่งเงินทุนให้เกษตรกร การศึกษาครั้งต่อไปควรศึกษาการตลาดไม้ตัดดอก ศึกษาเปรียบเทียบสภาพพื้นฐานกับระดับปัญหา เพื่อนำผลการศึกษาไปพัฒนาการผลิตเบญจมาศให้ถูกต้องและเหมาะสม
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2546
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2548
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
พื้นที่ดำเนินการ: จังหวัดหนองคาย
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
สภาพการผลิตเบญจมาศของเกษตรกรในจังหวัดหนองคาย : กรณีศึกษาเกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตเบญจมาศตัดดอก ปี 2546
สังคม ออมอด
กรมส่งเสริมการเกษตร
2548
สภาพการผลิตเบญจมาศของเกษตรกรอำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย สภาพการผลิตอ้อยของเกษตรกรในจังหวัดอุดรธานีกรณีศึกษาเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตอ้อยปี 2546 การใช้เทคโนโลยีในการผลิตข้าวหอมมะลิของเกษตรกร จังหวัดนครพนม ปี 2546 สภาพการผลิตข้าวอินทรีย์ของเกษตรกรในจังหวัดหนองคาย สภาพการผลิตและการตลาดเบญจมาศของเกษตรกรใน อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา ปี 2546/2547 รูปแบบการทำไร่นาสวนผสมของเกษตรกรในจังหวัดหนองคาย สภาพการผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ของเกษตรกร ในตำบลโคกก่อง อำเภอบึงกาฬ จังหวัดหนองคาย การใช้เทคโนโลยีในการผลิตมะม่วงของเกษตรกร จังหวัดเพชรบุรี ปี 2546/2547 สภาพการผลิตและการตลาดพืชผักของเกษตรกรจังหวัดภูเก็ต สภาพการผลิตและการตลาดเบญจมาศของเกษตรกรอำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก