สืบค้นงานวิจัย
การดำเนินงานของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรสู่วิสาหกิจชุมชนในพื้นที่เขตที่ 1
ดวงเดือน สมวัฒนศักดิ์ - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: การดำเนินงานของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรสู่วิสาหกิจชุมชนในพื้นที่เขตที่ 1
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ดวงเดือน สมวัฒนศักดิ์
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การวิจัยเรื่อง การดำเนินงานของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรสู่วิสาหกิจชุมชนในพื้นที่เขตที่ 1 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานทั่วไปของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรและสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร การดำเนินงานของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร ความคิดเห็นของคณะกรรมการกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรและสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรที่มีต่อแนวคิดการประกอบการวิสาหกิจชุมชน ตลอดจนปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะในการดำเนินงานของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรในพื้นที่เขตที่ 1 ประชากรที่ศึกษา ประกอบด้วย 2 กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ คณะกรรมการกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร และสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร ใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยการสัมภาษณ์คณะกรรมการกลุ่มเกี่ยวกับภาพรวมของกลุ่ม จำนวน 83 กลุ่ม และสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร จำนวน 166 ราย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ และค่าเฉลี่ย ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรมีระยะเวลาการจัดตั้งกลุ่มเฉลี่ย 7.94 ปี กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรร้อยละ 53.01 ระบุว่าเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรเป็นผู้ริเริ่มในการรวมกลุ่ม โดยมีเหตุผลหลักในการรวมกลุ่มเพราะต้องการมีรายได้เพิ่ม สมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรมีอายุเฉลี่ย 48.69 ปี ร้อยละ 69.88 จบประถมศึกษา มีอาชีพหลักทำการเกษตรและรับจ้าง แรงงานในครัวเรือนเฉลี่ย 2.60 คน การดำเนินงานของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร พบว่า กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรส่วนใหญ่หรือร้อยละ 84.34 มีการผลิตผลิตภัณฑ์อาหาร วัตถุดิบหลักของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรร้อยละ 54.21 มาจากภายในชุมชนแหล่งที่มาของวิธีการผลิต กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรร้อยละ 50.60 ระบุว่ามาจากภูมิปัญญาท้องถิ่น กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรทุกกลุ่มมีการรักษาระดับคุณภาพผลิตภัณฑ์ โดยการผลิตจะมีสูตรหรือสัดส่วนของวัตถุดิบแต่ละตัวแน่นอนจากการชั่ง ตวง วัด และมีการกำหนดแหล่งที่มาและคุณภาพของวัตถุดิบ ที่ใช้ด้วย กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรส่วนใหญ่หรือร้อยละ 87.95 มีแผนปรับปรุงการผลิต ซึ่งในจำนวนนี้ ร้อยละ 71.23 เป็นแผนปรับปรุงการผลิตด้านบรรจุภัณฑ์ ร้อยละ 52.05 เป็นแผนปรับปรุงชนิดผลิตภัณฑ์ และร้อยละ 50.68 เป็นแผนปรับปรุงปริมาณการผลิต แหล่งจำหน่าย พบว่า กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรร้อยละ 84.34 จำหน่ายผลิตภัณฑ์ในตลาดเฉพาะกิจ ร้อยละ 78.31 มีแหล่งจำหน่ายผลิตภัณฑ์ในตลาดภายนอก(นอกตำบล) และร้อยละ 75.90 มีแหล่งจำหน่ายผลิตภัณฑ์ในตลาดท้องถิ่น กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรส่วนใหญ่หรือร้อยละ 77.11 มีเครือข่ายโดยเฉพาะอย่างยิ่งเครือข่ายด้านการตลาด ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเครือข่ายภายในจังหวัดเดียวกัน ด้านแหล่งเงินทุน ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 84.24 มีการระดมหุ้นจากสมาชิก เฉลี่ยกลุ่มละ 12,914.29 บาท ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 77.11 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกรมส่งเสริมการเกษตรเฉลี่ยกลุ่มละ 172,121.09 บาท และกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร 2 ใน 3 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากหน่วยงานอื่น เฉลี่ยกลุ่มละ 184,271.45 บาท ร้อยละ 25.3 มีการกู้ยืมเงินทุนเพื่อการประกอบการ เฉลี่ยกลุ่มละ 134,047.62 บาท แหล่งกู้ยืมเงินทุน อาทิ เช่น กองทุนต่างๆ ในชุมชน ศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เป็นต้น ด้านคณะกรรมการบริหารจัดการ เกือบทุกกลุ่มมีคณะกรรมการบริหารจัดการ เฉลี่ยกลุ่มละ 4.39 คน ร้อยละ 78.31 มีการทำบัญชีรายรับรายจ่ายของกลุ่ม แต่รูปแบบการจัดทำบัญชียังไม่ชัดเจน มูลค่าทรัพย์สินปัจจุบันของกลุ่ม พบว่า กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรมีมูลค่าทรัพย์สินรวมเฉลี่ยกลุ่มละ 298,403.06 บาท ทรัพย์สินเงินทุนหมุนเวียนเฉลี่ยกลุ่มละ 55,988.18 บาท ร้อยละ 62.65 มีทรัพย์สินอสังหาริมทรัพย์ มูลค่าเฉลี่ยกลุ่มละ 187,681.73 บาท ร้อยละ 87.95 มีทรัพย์สินวัสดุอุปกรณ์ มูลค่าเฉลี่ยกลุ่มละ 141,657.33 บาท ด้านการมีส่วนร่วมของสมาชิกในการดำเนินงานกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร พบว่าสมาชิกมีส่วนร่วมในการผลิตเฉลี่ย 13.00 คน มีส่วนร่วมในการตลาดเฉลี่ย 5.14 คน และมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการเฉลี่ย 3.58 คน ด้านประโยชน์ที่ได้รับ สมาชิกทุกรายระบุว่า ได้รับความรู้ มีรายได้เพิ่มขึ้น และได้รับประโยชน์ทางด้านสังคม ด้านการใช้หรือบริโภคผลิตภัณฑ์ของกลุ่ม สมาชิกร้อยละ 64.46 ระบุว่าผลิตภัณฑ์ของกลุ่มมีใช้หรือบริโภคทั่วไปในชุมชน ความคิดเห็นต่อแนวคิดการประกอบการวิสาหกิจชุมชน พบว่า คณะกรรมการกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรและสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรมีความคิดเห็นในระดับเห็นด้วยอย่างยิ่งกับแนวคิดการประกอบการวิสาหกิจชุมชน เมื่อพิจารณารายประเด็น พบว่ามี 2 ประเด็น ที่มีความคิดเห็นในระดับไม่แน่ใจ และในระดับเห็นด้วย คือ ประเด็นการจัดการทุนของชุมชนโดยไม่จำเป็น ต้องขอรับการสนับสนุนจากภายนอก คณะกรรมการกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรและสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรมีความคิดเห็นในระดับไม่แน่ใจกับประเด็นนี้ และประเด็นการประกอบการวิสาหกิจชุมชนเน้นการพึ่งตนเองของคนในชุมชนมากกว่าเน้นเพื่อรายได้ คณะกรรมการกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรและสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรเห็นด้วยกับประเด็นนี้ ปัญหาอุปสรรคของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรและสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร ได้แก่ การขาดเงินทุนในการประกอบการทั้งเงินทุนหมุนเวียน เงินทุนในการสร้างหรือปรับปรุงโรงเรือนและเงินทุนในการจัดหาวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิตที่ทันสมัยและได้มาตรฐานที่จะขอเครื่องหมายรับรองคุณภาพ อย.จากกระทรวงสาธารณสุข วัตถุดิบในท้องถิ่นมีไม่สม่ำเสมอตลอดปีและมีราคาแพง ตลาดยังอยู่ในวงแคบเฉพาะภายในท้องถิ่นหรือภายในจังหวัดเท่านั้น สมาชิกไม่มีเวลามาร่วมกิจกรรมกลุ่ม และขาดความรู้ในด้านการผลิต การตลาด การบริหารจัดการ ข้อเสนอแนะ ต้องการให้หน่วยงานราชการสนับสนุนงบประมาณทั้งเงินทุนหมุนเวียน วัสดุอุปกรณ์และโรงเรือนการผลิตที่ได้มาตรฐาน ให้รัฐจัดอบรมหรือดูงานเกี่ยวกับการพัฒนากลุ่ม การพัฒนาด้านการผลิต การตลาด การสร้างและพัฒนาเครือข่าย การบริหารจัดการ รวมทั้งการให้เจ้าหน้าที่มาเยี่ยมเยียนให้คำแนะนำอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง ให้สนับสนุนการขยายตลาดให้กว้างขวางขึ้น และการสนับสนุนให้กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรมีการดำเนินงานกลุ่มได้อย่างต่อเนื่องเพื่อให้สมาชิกมีงานทำและมีรายได้
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2548
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2548
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การดำเนินงานของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรสู่วิสาหกิจชุมชนในพื้นที่เขตที่ 1
กรมส่งเสริมการเกษตร
2548
การดำเนินงานกิจกรรมวิสาหกิจชุมชนของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร กรณีศึกษา : กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบางรักน้อย ตำบลบางรักน้อย อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี ผลการดำเนินงานของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรจังหวัดอุดรธานี ความพึงพอใจในการดำเนินงานของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรในจังหวัดพังงา ความคิดเห็นของสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรต่อการดำเนินงานกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรอำเภอเมืองหนองบัวลำภู จังหวัดหนองบัวลำภู ความคิดเห็นของสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร ในการดำเนินงาน เพื่อพัฒนาเป็นวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านโนนสง่า อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรในการดำเนินงานพัฒนากลุ่มแม่บ้านเกษตรกรจังหวัดภูเก็ต สภาพการดำเนินงานกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรอำเภอขามสะแกแสง จังหวัดนครราชสีมา สภาพการดำเนินงานกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร อำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร สภาพการดำเนินงานของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี สภาพการดำเนินงานของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร อำเภอพระยืน จังหวัดขอนแก่น

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก