สืบค้นงานวิจัย
ความคิดเห็นของเกษตรกรต่อการผลิตข้าวอินทรีย์ โครงการเกษตรอินทรีย์วิถีศรีสะเกษ ปี 2547 จังหวัดศรีสะเกษ
สุรสิทธิ์ สิงหพรพงศ์ - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: ความคิดเห็นของเกษตรกรต่อการผลิตข้าวอินทรีย์ โครงการเกษตรอินทรีย์วิถีศรีสะเกษ ปี 2547 จังหวัดศรีสะเกษ
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สุรสิทธิ์ สิงหพรพงศ์
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: รายงานการศึกษาเรื่อง ความคิดเห็นของเกษตรกรต่อการผลิตข้าวอินทรีย์ โครงการเกษตรอินทรีย์วิถีศรีสะเกษ ปี 2547 จังหวัดศรีสะเกษ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพพื้นฐานทางสังคมและเศรษฐกิจบางประการของเกษตรกร 2) สภาพการผลิตข้าวอินทรีย์ของเกษตรกร 3) ความคิดเห็นของเกษตรกรต่อการผลิตข้าวอินทรีย์ และ 4) ปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับความคิดเห็นของเกษตรกรต่อการผลิตข้าวอินทรีย์ โดยเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน จากประชากร 1,416 คน โดยวิธีสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยมัชฌิมเลขคณิต และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 49.10 ปี ส่วนใหญ่ จบการศึกษาภาคบังคับ มีสมาชิกในครอบครัวเฉลี่ย 5.24 คน แรงงานทำการเกษตรเฉลี่ย 3.27 คน พื้นที่ถือครองทำการเกษตรเฉลี่ย 22.152 ไร่ มีรายได้ต่อครัวเรือนเฉลี่ย 92,163 บาทต่อปี รายจ่ายในครอบครัวเฉลี่ย 67,268 บาทต่อปี สภาพการผลิตข้าวอินทรีย์ส่วนใหญ่อาศัยน้ำฝน เกษตรกรมีการไถกลบตอซังข้าวตากดินไว้ระยะหนึ่งก่อนทำนา เกษตรกรเกินครึ่งนิยมทำนาหว่าน ร้อยละ 41 จะใช้พันธุ์ข้าวจากศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน อัตราเมล็ดพันธุ์ นาดำส่วนใหญ่อัตรา เฉลี่ย 7.25 กิโลกรัมต่อไร่ นาหว่านอัตราเฉลี่ย 16.72 กิโลกรัมต่อไร่ เกษตรกรส่วนใหญ่ มีการใส่ปุ๋ยคอกเพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์แก่ดินและใช้ปุ๋ยคอกในอัตราเฉลี่ย 615.75 กิโลกรัมต่อไร่ และเก็บเกี่ยวข้าวในระยะเหลืองกล้วยหรือระยะพลับพลึง ผลผลิตข้าวเฉลี่ย 427.72 กิโลกรัมต่อไร่ เกษตรกรร้อยละ 64.75ใช้แรงงานคนในการเก็บเกี่ยว สำหรับความคิดเห็นของเกษตรกรต่อการผลิตข้าวอินทรีย์โครงการเกษตรอินทรีย์วิถีศรีสะเกษ อันดับหนึ่งคือด้านการตลาด ซึ่งเห็นด้วยในระดับมาก ได้แก่ คิดว่าผลผลิตข้าวอินทรีย์สามารถนำไปจำหน่ายได้ราคาสูงกว่าผลผลิตข้าวทั่วไป คิดว่าในอนาคตตลาดมีความต้องการข้าวอินทรีย์เพิ่มมากขึ้น คิดว่าการผลิตข้าวอินทรีย์จะได้รับการรับรองมาตรฐานคุณภาพจากหน่วยงานที่รับผิดชอบ และคิดว่าการผลิตข้าวอินทรีย์ในระยะยาวจะทำให้ต้นทุนการผลิตต่ำทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้น และปัญหาที่เกษตรกรพบมากที่สุดคือ การขาดความรู้และทักษะในการผลิตข้าวอินทรีย์ และราคาข้าวต่ำไม่แตกต่างจากข้าวทั่วไป ข้อเสนอแนะหน่วยงานของรัฐควรจัดให้มีการฝึกอบรม สาธิต และศึกษาดูงานเกี่ยวกับการผลิตข้าวอินทรีย์ รวมทั้งเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรที่จะถ่ายทอดความรู้จะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ ประสบการณ์ ทักษะเรื่องเกษตรอินทรีย์จนเป็นยอมรับของเกษตรกร ส่วนราคาข้าวทางราชการควรมีมาตรการในการกำหนดราคาข้าวที่ชัดเจน ตลอดทั้งสนับสนุนในการจัดหาตลาดจำหน่ายข้าวอินทรีย์ให้แก่เกษตรกรในพื้นที่
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2547
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2548
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ความคิดเห็นของเกษตรกรต่อการผลิตข้าวอินทรีย์ โครงการเกษตรอินทรีย์วิถีศรีสะเกษ ปี 2547 จังหวัดศรีสะเกษ
กรมส่งเสริมการเกษตร
2548
สภาพการผลิตข้าวอินทรีย์ของเกษตรกรในจังหวัดหนองคาย การผลิตข้าวอินทรีย์ ของจังหวัดสุรินทร์ การผลิตข้าวอินทรีย์ของเกษตรกรในอำเภอโพธิ์ไทร จังหวัดอุบลราชธานี การผลิตข้าวอินทรีย์ของเกษตรกรในอำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี การผลิตข้าวอินทรีย์ของเกษตรกรในอำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี การผลิตข้าวอินทรีย์ของเกษตรกรในอำเภอสำโรง จังหวัดอุบลราชธานี การผลิตข้าวอินทรีย์ของเกษตรกรในอำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี ข้าวให้พลังงานผสานคุณค่าอาหาร สภาพการผลิตข้าวอินทรีย์ของเกษตรกร ในอำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี การเลี้ยงปลานิลระบบอินทรีย์ในนาข้าวเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่เกษตรกร

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก