สืบค้นงานวิจัย
การศึกษาการใช้ปุ๋ยอินทรีย์และการควบคุมศัตรูพืชโดยชีววิธีในการผลิตถั่วเหลืองอินทรีย์
ประพันธ์ โอสถาพันธ์ - มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ชื่อเรื่อง: การศึกษาการใช้ปุ๋ยอินทรีย์และการควบคุมศัตรูพืชโดยชีววิธีในการผลิตถั่วเหลืองอินทรีย์
ชื่อเรื่อง (EN): Study on the Utilization of Grganic Fertilizers and Biological Control of Pests for the Organic Soybean Production (First year Research Project)
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ประพันธ์ โอสถาพันธ์
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Praphant Osathaphant
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การศึกษาการใช้ปุ๋ยอินทรีย์และการควบคุมศัตรูพืชโดยชีววิธีในการผลิตถั่วเหลืองอินทรีย์ ใช้ถั่วเหลืองพันธุ์เชียงใหม่ 60 วางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block โดยมีกรรมวิธีการทดลอง 4 กรรมวิธี แต่ละกรรมวิธีมีจำนวนซ้ำ 4 ซ้ำ คือ ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ (ปุ๋ยหมักและปุ๋ยคอก) ในอัตรา 4,000 และ 2,000 กก./ไร่ ใส่ปุ๋ยเคมี (สูตร 12-24-12) ในอัตรา 50 กก./ไร่ และไม่ใส่ปุ๋ย (ชุดเปรียบเทียบ) การควบคุมศัตรูพืชโดยชีววิธี โดยใช้จุลินทรีย์ปฏิปักษ์ เช่น เชื้อรา Trichoderma spp., เชื้อแบคทีเรีย Bacillus subtilis, เชื้อแบคทีเรีย Bacillus thuringiensis และน้ำหมักสะเดา ในการกำจัดและควบคุมศัตรูพืช ทั้ง 4 กรรมวิธี ในสภาพแปลงทดลอง อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ ปี พ.ศ.2553 จากการตรวจโรคที่เกิดในถั่วเหลือง เมื่อถั่วเหลืองมีอายุได้ 30, 45, และ 60 วันหลังปลูก พบว่า ทั้งกรรมวิธีการทดลอง 4 กรรมวิธี ไม่พบโรคเลย และเมื่อถั่วเหลืองมีอายุได้ 75 และ 90 วันหลังปลูก ทั้งกรรมวิธีการทดลอง 4 กรรมวิธี พบโรคเพิ่มขึ้น ที่ 1-25% และทำการตรวจดูแมลงศัตรูพืชถั่วเหลือง เมื่อถั่วเหลืองมีอายุได้ 30 วันหลังปลูก พบว่า ทั้งกรรมวิธีการทดลอง 4 กรรมวิธี ไม่พบแมลงเลย แต่เมื่อถั่วเหลืองอายุได้ 45, 60, 75 และ 90 วันหลังปลูก ทั้งกรรมวิธีการทดลอง 4 กรรมวิธี พบแมลงที่ 1-25% การศึกษาการเจริญเติบโตและผลผลิตของถั่วเหลือง พบว่า แปลงที่ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ (ปุ๋ยหมักและปุ๋ยคอก) ในอัตรา 4,000 กก./ไร่ ให้ความสูงต้น และจำนวนฝักต่อต้นสูงสุด ส่วนความยาวฝัก น้ำหนักต่อ 100 เมล็ด และผลผลิตต่อไร่ พบว่าทุกกรรมวิธีการทดลองไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนการวิเคราะห์ธาตุอาหารในดินก่อนปลูกและหลังเก็บเกี่ยวถั่วเหลืองพันธุ์เชียงใหม่ 60 ที่ระดับความลึก 0-15 และ 15-30 ซม. ในแปลงที่ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ (ปุ๋ยหมักและปุ๋ยคอก) ในอัตรา 4,000 กก./ไร่ พบว่า หลังเก็บเกี่ยวถั่วเหลือง ค่า pH, %OM, P, K, Ca, Mg, Fe และ Zn จะเพิ่มขึ้น ส่วนค่า Mn และ Cu ยังเท่าเดิม
บทคัดย่อ (EN): This study on the utilization of organic fertilizers and biological control of pests for the organic soybean production was conducted by using Chiang Mai 60 soybean variety grown in an experiment with Randomized Complete Block Design consisting of 4 replications of each of the 4 treatments, as follows: organic fertilizers (compost and cattle manure) at a rate of 4,000 and 2,000 kg per rai, respectively; chemical fertilizer (12-24-12) at a rate of 50 kg per rai; and no fertilizer (as control). Meanwhile, antagonists and plant extract used consisted of Trichoderma spp., Bacillus subtilis, Bacillus thuringiensis and neem extract for biological control of pests in each treatment. Disease rating was checked at 30, 45 and 60 days after planting the soybean. Results showed that no occurrence of disease was observed initially but was increasingly detected at 1-25% at 75 and 90 days in all treatments. Likewise, no insect pests were seen at 30 days but were also increasingly observed at 1-25% at 45, 60, 75 and 90 days in all treatments. Study on the growth and yield of soybean found that organic fertilizers at the rate of 4,000 kg per rai gave the highest plant height and number of pods per plant. However, pod length, weight per 100 seeds and yield per rai of all treatments were not significantly different. Soil analysis before growing and after harvesting at 0-15 and 15-30 cm depth, found that organic fertilizers at the rate of 4,000 kg per rai increased pH, %OM, P, K, Ca, Mg, Fe and Zn while Mn and Cu remained the same.
แผนยุทธศาสตร์งานวิจัย – ระดับกระทรวง: คณะผลิตกรรมการเกษตร
เลขทะเบียนวิจัยกรม: มจ.1-53-020
ชื่อแหล่งทุน: งบประมาณแผ่นดินมหาวิทยาลัยแม่โจ้
จำนวนเงินตามสัญญารับงานวิจัย: 220,000
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2553
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2554
เอกสารแนบ: http://webpac.library.mju.ac.th:8080/mm/fulltext/research/2556/praphant_osathaphant_2554/fulltext.pdf
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
ปีที่ได้รับงบประมาณ (ระบุได้มากกว่า 1 ปี): 2553
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยแม่โจ้
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การศึกษาการใช้ปุ๋ยอินทรีย์และการควบคุมศัตรูพืชโดยชีววิธีในการผลิตถั่วเหลืองอินทรีย์
มหาวิทยาลัยแม่โจ้
2554
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
การป้องกันกำจัดโรครากและลำต้นเน่าของถั่วเหลืองโดยชีววิธี การใช้ถั่วเหลืองเพื่อลดต้นทุนในการผลิตเป็ดปักกิ่ง ผลของไคโตซานในการควบคุมโรค และผลผลิตของถั่วเหลืองสายพันธุ์แนะนำ การพัฒนาผลิตภัณฑ์นมเปรี้ยวจากน้ำนมถั่วเหลือง อิทธิพลของปุ๋ยเคมีและอินทรีย์ที่มีผลต่อการผลิตถั่วเหลืองปลอดภัย (ชื่อข้อเสนอการวิจัยเดิม : อิทธิพลของปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมีที่มีต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของถั่วเหลือง) การใช้ถั่วเหลืองฝักสดหลังการเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้วต่อการปรับปรุงดินบนพื้นที่สูง ระบบการผลิตและต้นทุนการผลิตข้าวอินทรีย์เป็นพืชหลักเทียบกับการผลิตข้าวมาตรฐาน (GAP) ในเขตภาคเหนือของประเทศไทย การแยกและคัดเลือกเชื้อรา Trichoderma spp. ที่มีประสิทธิภาพสูงจากใบไผ่เพื่อใช้ควบคุมโรคพืชโดยชีววิธีและส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช การพัฒนาตัวแบบโรงงานต้นแบบของการเพาะเลี้ยงแมลงศัตรูธรรมชาติ สาหรับการควบคุมแมลงศัตรูพืชโดยชีววิธีในเชิงพานิชย์ ถั่วเหลืองสายพันธุ์ก้าวหน้า

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก