สืบค้นงานวิจัย
การศึกษาแนวทางการจัดการและการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนของทรัพยากรประมงบริเวณเขื่อนภูมิพลตอนบน (อ่างเก็บน้ำดอยเต่า) อ.ดอยเต่า จ.เชียงใหม่
ทิพย์สุคนธ์ พิมพ์พิมล - มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ชื่อเรื่อง: การศึกษาแนวทางการจัดการและการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนของทรัพยากรประมงบริเวณเขื่อนภูมิพลตอนบน (อ่างเก็บน้ำดอยเต่า) อ.ดอยเต่า จ.เชียงใหม่
ชื่อเรื่อง (EN): Fishery Resource Management and Sustainable use in Doi Tao Reservoir
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ทิพย์สุคนธ์ พิมพ์พิมล
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Tipsukhon Pimpimol
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: อภินันท์ สุวรรณรักษ์
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN): Aphinun Suvarnaraksha
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: จากการสํารวจสภาพเศรษฐกิจและสังคมของชาวประมงรอบอ่างเก็บน้ำดอยเต่า พบว่าชาวบ้านประกอบอาชีพประมงเป็นหลัก ใช้ข่ายมากที่สุดถึงร้อยละ 94.67 และใช้เรือที่มีเครื่องยนต์เป็นส่วนใหญ่ มีรายได้เฉลี่ยจากการทําประมง 4,189.33 บาท/เดือน จะนําสัตว์น้ำจําหน่ายในรูปปลาสดให้พ่อค้าคนกลางร้อยละ 78.67 ชาวประมงเป็นหนี้สินโดยเฉลี่ย 11,173บาท/เดือน ปัจจุบันมีผู้ทําการประมงเพิ่มขึ้นทําให้มีปัญหาด้านการจับสัตว์น้ำ ซึ่.งมีความต้องการให้รัฐบาลสนับสนุนเงินทุนและให้มีตลาดรองรับสินค้าทางการประมง เพื่อลดการกดราคาจากพ่อค้าคนกลาง เมื่อทําการเปรียบเทียบประสิทธิภาพของเครื่องมือประมงประเภทข่ายที่ 3 ขนาดตาคือ 4 , 7 และ 11 ซ.ม. ในระดับความลึก 1 และ 3 ม. พบว่าประสิทธิภาพการจับปลาที่ความลึก 2 ระดับไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ(P>0.05) และประสิทธิภาพการจับของข่ายขนาดตาทั้ง 3 ระดับมีความแตกต่างกันอย่างนัยสําคัญทางสถิติ(P<0.05) ซึ่งข่ายขนาดตา 4 ซ.ม. มีประสิทธิภาพมากที่สุด (33.71 กรัม/ซ.ม./ครั้ง) รองลงมาคือขนาดตา 7 และ 11 ซ.ม.อย่างไรก็ตามพบว่าปลาที่จับได้ด้วยข่ายขนาดตา 4 ซ.ม.เป็นปลาในระยะก่อนวัยเจริญพันธุ์หรือเพิ่งเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ ดังนั้นจึงควรใช้ข่ายที่มีขนาดตามากกว่า 4 ซ.ม.ในการทําการประมง ซึ่งจะช่วยให้ปลาได้มีช่วงเวลาแพร่ขยายพันธุ์เพื่อเป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรไว้ใช้อย่างยั่งยืนในอนาคตต่อไป นอกจากนี้ยังทําการศึกษาชนิดพันธุ์ปลาในอ่างเก็บน้ำดอยเต่า พบปลาจํานวน 87 ชนิด 52 สกุล 25 วงศ์ จํานวน 7 อันดับ พบกลุ่มปลาตะเพียนมากที่สุด รองลงมาคือกลุ่มปลาหนัง ผลผลิตของปลามีค่าเฉลี่ย 30.60 กก./ไร่ ในฤดูร้อนมีค่าเฉลี่ยความหลากหลายของชนิดปลาและผลผลิตสูงสุดคือ 1.91 และ 9.55 กก./ไร่ ตามลําดับรองลงมาคือฤดูฝนและฤดูหนาว
บทคัดย่อ (EN): Socio-economic survey of fisherman working at Doi-Toa reservoir was conducted in year 2005-2006. From the study, gill net was the most popular gear using in the reservoir (94.67%). The average in come per month was 4,189.33 Baht and almost fish caught were sold to the middle-man. Fisherman needed government subsidy in both capital for doing their career and fish market management. The gill net efficiency was investigated. Two applying levels of gill net (1 and 3 m. from water surface) showed non-significantly (P>0.05) in amount of fish caught. According to different mesh size, gill net at mesh size 4 cm showed the highest efficiency(33.71 g/cm/time) comparing to 7 and 11 cm mesh size of gill net(P<0.05). However, from the survey, fish caught at mesh size 4 cm presented an immature stage. Therefore, the recommended mesh size for gill net should be over than 4 cm in order to conserve and sustain the fish rescores. From fish diversity research, 87 species 52 genus 25 family and 7 order were found in this reservoir (the most popular species i.e silver carp and catfish respectively ). The average fish production in this reservoir was 30.60 kg/rai which the highest diversity and production presented in summer (1.91 and 59.55 kg/rai) whereas railway and winter season showed the less respectively
แผนยุทธศาสตร์งานวิจัย – ระดับกระทรวง: คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ
เลขทะเบียนวิจัยกรม: มจ.1-49-018
ชื่อแหล่งทุน: งบประมาณแผ่นดินมหาวิทยาลัยแม่โจ้
จำนวนเงินตามสัญญารับงานวิจัย: 475,000
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2548
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2550
เอกสารแนบ: https://librae.mju.ac.th/goverment/20111119104834_librae/File20121107142402_5635.pdf
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยแม่โจ้
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การศึกษาแนวทางการจัดการและการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนของทรัพยากรประมงบริเวณเขื่อนภูมิพลตอนบน (อ่างเก็บน้ำดอยเต่า) อ.ดอยเต่า จ.เชียงใหม่
มหาวิทยาลัยแม่โจ้
2550
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
แนวทางการจัดการแบบมีส่วนร่วมเพื่อการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพ ของทรัพยากรประมงอย่างยั่งยืนในแม่น้ำปิงจังหวัดเชียงใหม่ แนวทางการจัดการแบบมีส่วนร่วมเพื่อการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพของทรัพยากรประมงอย่างยั่งยืนในแม่น้ำปิงจังหวัดเชียงใหม่ แนวทางการจัดการทรัพยากรประมงเพื่อการพัฒนาสู่วิสาหกิจชุมชน: กรณีศึกษา ชุมชนประมงบริเวณเขื่อนกิ่วลม จังหวัดลำปาง แนวทางการจัดการทรัพยากรประมงด้วยการประเมินแบบจำลองลำดับชั้น อาหารในอ่างเก็บน้ำเขื่อนรัชชประภา จังหวัดสุราษฎร์ธานี การศึกษา " งาขี้ม้อน" พืชน้ำมันชนิดใหม่ กับการใช้ประโยชน์ การพัฒนาศักยภาพมัคคุเทศก์ท้องถิ่นในตำบลป่าไผ่ อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ การใช้ประโยชน์จากเศษเหลือจากการผลิตลำไยเพื่อเป็นอาหารโค ประสิทธิภาพการเข้าถึงของโครงข่ายคมนาคมขนส่งกับการใช้ประโยชน์ที่ดินในบริบทผังเมืองรวมเมืองเชียงใหม่ เพื่อการเติบโตเชิงพื้นที่อย่างชาญฉลาดและยั่งยืน การใช้ประโยชน์จากใบถั่วมะแฮะเป็นแหล่งโปรตีนในอาหารสัตว์ II.ผลของการตัดที่อายุต่าง ๆ ต่อปริมาณผลผลิตในปีที่ 2 และการใช้ใบในอาหารลูกโค การใช้ประโยชน์จากน้ำมันเหลือใช้จากอุตสาหกรรมแปรรูปมะพร้าว

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก