สืบค้นงานวิจัย
การแยกและการตรวจสอบฤทธิ์ทางชีวภาพของเชื้อแบคทีเรียที่อยู่ร่วมกับไลเคนซึ่งเก็บจากพื้นที่การเกษตร
ศรีกาญจนา คล้ายเรือง - มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ชื่อเรื่อง: การแยกและการตรวจสอบฤทธิ์ทางชีวภาพของเชื้อแบคทีเรียที่อยู่ร่วมกับไลเคนซึ่งเก็บจากพื้นที่การเกษตร
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ศรีกาญจนา คล้ายเรือง
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: ไลเคนเป็นกลุ่มสิ่งมีชีวิตแบบพึ่งพาอาศัยกันของ mycosymbiont และ photosymbiont อย่างไรก็ตามมีการรายงานว่ามีแบคทีเรียที่อยู่ร่วมกับไลเคนเป็นกลุ่มที่สามด้วย วัตถุประสงค์ในการศึกษาครั้งนี้คือการแยกแบคทีเรียที่อยู่ร่วมกับไลเคน และการทดสอบฤทธิ์ทางชีวภาพ สามารถแยกแบคทีเรียได้จำนวน 119 ไอโซเลต จากไลเคนสกุล Parmotrema ที่เก็บจากต้นยางพารา ในพื้นที่การเกษตร อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ เมื่อจำแนกชนิดของแบคทีเรียโดยการหาลำดับเบสของ 16S rRNA อยู่ในสกุล Acinetobacter, Pseudomonas, Bacillus, Paenibacillus, Lysinibacillus, Brevibacillus, Staphylococcus และ Virgibacillus นำแบคทีเรียที่อยู่ร่วมกับไลเคนเหล่านี้มาทดสอบความสามารถในการยับยั้งจุลินทรีย์ การผลิตไฮโดรไลติกเอนไซม์ การละลายฟอสเฟต การผลิตอินโดลแอซิติกแอซิด และการตรึงไนโตรเจน เมื่อนำมาทดสอบฤทธิ์ยับยั้งแบคทีเรียก่อโรค Bacilus cereus, Escherichia coli, Enterobacter cloacae, Listeria monocytogenes, Pseudomonas aeruginosa, Salmonella Typhi, Shigella sonei Staphylococcus aureus และ Xanthomonas campestris เบื้องต้นด้วยวิธี spot on lawn พบว่า มีแบคทีเรียที่อยู่ร่วมกับไลเคนจำนวน 36 ไอโซเลตที่สามารถยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย S. aureus ได้ และเมื่อนำน้ำเลี้ยงเชื้อที่ปราศจากเซลล์มาทดสอบกิจกรรมการยับยั้ง ด้วยวิธี Agar well diffusion assay พบว่า มีแบคทีเรียที่อยู่ร่วมกับไลเคนในสกุล Bacillus จำนวน 9 ไอโซเลต ที่แสดงความสามารถในการยับยั้งเชื้อการเจริญของ S. aureus จากการทดสอบฤทธิ์ต้านเชื้อราโดยทดสอบกับเชื้อรา 4 ชนิดที่แยกได้จากลำไย ได้แก่ Ascomycete sp. LD01-2, Aspergillus sp. L4.1D, Diaporthe sp. LD05-5 และ Fusarium sp. L5.2A ซึ่งแยกได้จากลำไย รวมทั้ง Aspergillus niger TISTR3012, A. flavus TISTR3130 และ F. solani TISTR786 และพบว่ามีเชื้อแบคทีเรียเอนโดไฟท์จำนวน 35 ไอโซเลต ที่สามารถยับยั้งเชื้อราก่อโรคได้อย่างน้อย 1 ชนิด ประกอบด้วยเชื้อแบคทีเรียในสกุล Bacillusและ Paenibacillus เมื่อนำแบคทีเรียที่อยู่ร่วมกับไลเคนมาทดสอบการผลิตเอนไซม์ไฮโดรไลติก พบว่ามีแบคทีเรียจำนวน101 ไอโซเลต ที่สามารถผลิตเอนไซม์เซลลูเลสได้ จากการเกิดวงใสบนอาหาร carboxy methyl cellulose (CMC) ที่ถูกราดด้วย congo red จากกิจกรรมของ CMCase พบว่าแบคทีเรียที่สามารถผลิตเอนไซม์เซลลูเลสได้สูงที่สุดคือ Bacillus amyloliquefaciens คือ 77.32 มิลลิยูนิตต่อมิลลิลิตร สำหรับการผลิตเอนไซม์โปรติเอสมี 98 ไอโซเลตที่ให้ผลบวก โดย Bacillus ap. ผลิตได้สูงสุดเท่ากับ 32.45 ยูนิต/มิลลิลิตร ในจำนวนแบคทีเรียที่ตรวจ พบว่า B. velezensis ผลิตเอนไซม์อะไมเลสได้สูงสุดเท่ากับ 0.78 ยูนิต/มิลลิลิตร มีแบคทีเรีย Bacillus และ Paenibacillus จำนวน 8 ไอโซเลต ที่มีสามารถย่อยสลายไคติน แบคทีเรียที่อยู่ร่วมกับไลเคน จำนวน 65 ไอโซเลต มีความสามารถในการละลายฟอสเฟต ซึ่งเป็นแบคทีเรียในสกุล Acenitobacter, Bacillus, Brevibacillus และ Paenibacillus และพบว่า Bacillus megaterium LC 106 และ LC56 มีความสามารถในการละลาย Ca3(PO4)2 ได้สูงที่สุดอย่างมีนัยสำคัญ คือ 89.0 และ 88.1 ไมโครกรัมฟอสเฟตต่อมิลลิลิตร ตามลำดับ สำหรับการตรึงไนโตรเจน มีแบคทีเรียในสกุล Acinetobacter, Bacillus, Lysinibacillus, Paenibacillus and Staphylococcus จำนวน 66 ไอโซเลตที่สามารถเจริญในอาหาร ที่ปราศจากแหล่งไนโตรเจน นอกจากนี้มีแบคทีเรียจำนวน 61 ไอโซเลต ผลิต IAA ได้ระหว่าง 0.52-22.32 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร โดยไอโซเลตที่ผลิตได้สูงที่สุด คือ B. megaterium ผลการวิจัยนี้ชี้ให้เห็นว่าไลเคนเป็นแหล่งที่มาใหม่ของแบคทีเรียที่มีศักยภาพสำหรับการใช้ทางเภสัชกรรม อุตสาหกรรม และการเกษตร
แผนยุทธศาสตร์งานวิจัย – ระดับกระทรวง: คณะวิทยาศาสตร์
เลขทะเบียนวิจัยกรม: มจ.1-59-071
ชื่อแหล่งทุน: งบประมาณแผ่นดินมหาวิทยาลัยแม่โจ้
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2559
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2559
เอกสารแนบ: https://erp.mju.ac.th/researchDetailPublic.aspx?rid=4339
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยแม่โจ้
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การแยกและการตรวจสอบฤทธิ์ทางชีวภาพของเชื้อแบคทีเรียที่อยู่ร่วมกับไลเคนซึ่งเก็บจากพื้นที่การเกษตร
มหาวิทยาลัยแม่โจ้
2559
เอกสารแนบ 1
ผลการต้านมะเร็ง ผ่านการยับยั้งขบวนการสร้างไขมัน ดี โนโว ของสารสกัดจากสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพจากแอคติโนแบคทีเรียในดินป่าไม้ อุทยานแห่งชาติน้ำหนาวประเทศไทย การผลิตเอนไซม์ย่อยสลายลิกโนเซลลูโลสโดยแบคทีเรียที่อยู่ร่วมกับไลเคนเพื่อย่อยสลายวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร ฤทธิ์ต้านแบคทีเรียของกรดลอริกที่แยกจากน้ำมันเมล็ดในปาล์มโดยการกลั่นโมเลกุลแบบลดความดัน ฤทธิ์ต้านแบคทีเรียของกรดลอริกที่แยกจากน้ำมันเมล็ดในปาล์มโดยการกลั่นโมเลกุลแบบลดความดัน การศึกษาฤทธิ์ของสารสกัดจาก Plukenetia volubilis Linneo. และ Paederia foetida Linn. ในการยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียติดเชื้อที่ผิวหนัง การศึกษาฤทธิ์ต้านการอักเสบและฤทธิ์ต้านแบคทีเรียของสารสกัดโคนต้นหม่อน ศักยภาพของแบคทีเรียในลำไส้ไส้เดือนดินท้องถิ่นไทยต่อการเกษตร ประสิทธิภาพของสารสกัดจากแบคทีเรีย Xenorhabdus และ Photorhabdus ในการยับยั้งแบคทีเรียดื้อยา พันธุกรรมเชิงโมเลกุล ความหลากหลายทางชีวภาพ และนิเวศวิทยาของไลเคนในประเทศไทย อุบัติการณ์ของเชื้อเอนเทอโรแบคทีเรียซีอี้ดื้อยาคาร์บาพีเนมในแม่น้ำน่านและการแพร่กระจายของเชื้อในชุมชนภาคเหนือตอนล่าง

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก