สืบค้นงานวิจัย
โครงการวิจัยและพัฒนาเครื่องขุดมันสำปะหลังแบบไถหัวหมู
อนุชิต ฉ่ำสิงห์ - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: โครงการวิจัยและพัฒนาเครื่องขุดมันสำปะหลังแบบไถหัวหมู
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: อนุชิต ฉ่ำสิงห์
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: ศึกษาสถานการณ์การเก็บเกี่ยว การใช้เครื่องขุดมันสำปะหลัง และพัฒนาเครื่องขุดมันสำปะหลังแบบไถหัวหมู และวิจัยและพัฒนาเครื่องขุดมันสำปะหลังเพื่อปรับใช้ในการไถกลบฟางและตอซังข้าว พ่วงรถแทรกเตอร์ขนาด 50 แรงม้า ผลการสำรวจพบว่ามีการเก็บเกี่ยว 2 รูปแบบหลัก คือเก็บเกี่ยวโดยการใช้แรงงานคนทั้งหมด และการใช้เครื่องขุดมันสำปะหลังพ่วงรถแทรกเตอร์ร่วมกับการใช้แรงงานคน โดยรูปแบบหลังช่วยลดต้นทุน และการใช้แรงงานคนลง 37 และ 8% ตามลำดับ พบปัญหาคอขวดที่สำคัญในระบบการเก็บเกี่ยว คือขั้นตอนหลังจากการถอนหรือขุดขึ้นมาจากดิน ซึ่งใช้แรงงานคนทั้งหมดและประสบปัญหาการขาดแคลนแรงงาน และพบว่าเครื่องขุดมันสำปะหลังที่มีใช้งานในปัจจุบันได้รับการยอมรับนำไปใช้งานโดยเกษตรกรทั่วไประดับหนึ่ง มีหลายแบบแตกต่างกันตามขนาดรถแทรกเตอร์ต้นกำลัง ชนิดของผาลขุด ปีกไถ ลักษณะการพลิกดิน โดยพบว่ายังมีความจำเป็นต้องพัฒนาเพื่อลดแรงลากจูง อัตราการสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิง ลดการสึกหรอของรถแทรกเตอร์ ความสูญเสียและความเสียหายของหัวมันสำปะหลังจากการขุด ผลการวิจัยและพัฒนาได้เครื่องขุดมันสำปะหลังแบบไถหัวหมูซึ่งมีผาลขุดแบบจานโค้ง สามารถปรับมุมและความยาวปีกไถตามชนิดและความชื้นดินซึ่งแก้ปัญหาข้อจำกัดเรื่องพื้นที่ได้มากขึ้น ปรับเลื่อนตามระยะระหว่างแถวได้สะดวก ง่ายต่อการควบคุมรถและการขุด มีความสามารถในการทำงาน 1.4 ไร่/ชั่วโมง อัตราการสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิง 2.9-3.4 ลิตร/ชั่วโมง มีความสูญเสียหัวมันสำปะหลัง 2.3-5.0 % และพบว่าสามารถใช้เครื่องขุดมันสำปะหลังเพื่อการไถกลบฟางและตอซังข้าวในแปลงที่ทำการเก็บเกี่ยวข้าวด้วยเครื่องเกี่ยวนวดข้าวที่มีแถบฟางหนาซึ่งเป็นอุปสรรคในการไถเตรียมดินได้ดีกว่าการใช้ด้วยไถผาลเจ็ด โดยเปลี่ยนเฉพาะส่วนของปีกไถและติดตั้งในตำแหน่งที่ถูกต้อง แต่มีข้อจำกัดเรื่องมีหน้ากว้างในการทำงานต่ำกว่าประมาณ 55% โดยมีความสามารถในการทำงาน 0.81 ไร่/ชั่วโมง ประสิทธิภาพการทำงาน 59% สิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิง 3.3 ลิตร/ไร่ และเปอร์เซ็นต์การไถกลบฟางและตอซังข้าว 85%
บทคัดย่อ (EN): Study on current situation of cassava harvesting, using of cassava digger and development of moldboard plow type cassava digger attached 50Hp tractor which was unable to continuous working. Two harvesting patterns were indentified; using all human labor harvesting and using of cassava digger attached tractor and human labor. About 37% and 8% of labor requirement and harvesting cost respectively were saved by using of the later pattern. Working after pulling or digging cassava from the soil was the most important constraint because of using only human labor and facing of labor shortage problem. Existing cassava diggers were accepted by farmers. There are diverse design of cassava diggers depending on tractor size, plow type, moldboard, pulverizing of soil and planted areas. However, development of existing cassava diggers were required to reduce draft force, fuel consumption, wearing of tractor and harvesting loss. A new design of cassava digger was developed. The main features were curve type share blade, length and angle of moldboard available adjusting for widely use in various planted area, less require draft force, field capacity 1.4 Rai/hr, harvesting loss 1.0-4.0%, damage loss 10-40% which is low compare to using of existing cassava digger.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2550-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2551-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการวิจัยและพัฒนาเครื่องขุดมันสำปะหลังแบบไถหัวหมู
กรมวิชาการเกษตร
30 กันยายน 2551
โครงการวิจัยและพัฒนาเครื่องขุดเก็บมันสำปะหลังและเครื่องมือตัดหัวมันสำปะหลังจากเหง้า อาหารจากมันสำปะหลัง สถานการณ์ปัจจุบันและศักยภาพการผลิตมันสำปะหลังของไทย ผลผลิตของมันสำปะหลังที่เก็บเกี่ยวอายุสั้นในสภาพปริมาณน้ำฝนต่างกัน ความสัมพันธ์ระหว่างดัชนีพืชพรรณผล ต่างแบบนอร์แมลไลซ์กับผลผลิตมันสำปะหลังในจังหวัดกำแพงเพชร โครงการวิจัยและพัฒนาเครื่องปลิดและขนย้ายหัวมันสำปะหลังขึ้นรถบรรทุก แนวทางการลดต้นทุนการผลิตมันสำปะหลังและพัฒนาเครือข่ายของเกษตรกรผู้ผลิตมันสำปะหลังจังหวัดนครราชสีมา โครงการวิจัยและพัฒนาเครื่องเก็บและย่อยเหง้ามันสำปะหลังติดท้ายแทรกเตอร์ โครงการวิจัยการทดสอบและพัฒนาเครื่องปลูกมันสำปะหลังแบบพ่วงท้ายรถแทรกเตอร์ในสภาพพื้นที่เพาะปลูกต่างๆ โครงการวิจัยและพัฒนาเครื่องปลูกมันสำปะหลังแบบพ่วงท้ายรถแทรกเตอร์

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก