สืบค้นงานวิจัย
การปรับปรุงพันธุ์ปลานิลจิตรลดา 3 ด้วยวิธีการคัดเลือกแบบภายในครอบครัว โดยใช้ลักษณะสัดส่วนเป็นเกณฑ์
สมนึก คงทรัตน์, ศรีจรรยา เข็มกลัด, วิศณุพร รัตนตรัยวงศ์, โกศล ขำแสง, สุภาพร ชัยชิต, สมนึก คงทรัตน์, ศรีจรรยา เข็มกลัด, วิศณุพร รัตนตรัยวงศ์, โกศล ขำแสง, สุภาพร ชัยชิต - กรมประมง
ชื่อเรื่อง: การปรับปรุงพันธุ์ปลานิลจิตรลดา 3 ด้วยวิธีการคัดเลือกแบบภายในครอบครัว โดยใช้ลักษณะสัดส่วนเป็นเกณฑ์
ชื่อเรื่อง (EN): Genetic Improvement of Chitralada-3 strain Tilapia by within - family Selection base on morphometric characters
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: บทคัดย่อ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินค่าทางพันธุกรรมในลักษณะการเจริญเติบโตของปลานิลจิตรลดา 3 จากวิธีการคัดพันธุ์แบบดูลักษณะภายในครอบครัว จำนวน 3 รุ่น (รุ่นที่ 4 ถึงรุ่นที่ 6) โดยวิธีการเปรียบเทียบกับประชากรกลุ่มควบคุม (unselected control) ที่อายุ 24 สัปดาห์ ในกระชังแขวนในบ่อดินขนาด 2,700 ตารางเมตร ณ ศูนย์วิจัยและพัฒนาพันธุกรรมสัตว์น้ำอุตรดิตถ์ ระหว่างตุลาคม 2555 จนถึง กันยายน 2560 ผลการการทดลองสรุปว่า ปลานิลจิตรลดา 3 ที่ผ่านการคัดเลือกรุ่นที่ 5 ประเมินค่าการตอบสนองของการคัดเลือก (R) โดยความยาวและน้ำหนักได้ 2.73 มิลลิเมตร และ 5.08 กรัม ตามลำดับ และมีค่าอัตราพันธุกรรมประจักษ์ (h2R) ที่เป็นผลมาจากการคัดเลือกมีค่าโดยความยาวและน้ำหนักที่อายุ 24 สัปดาห์ เป็น 0.24 และ 0.20 ตามลำดับ และปลานิลจิตรลดา 3 ที่ผ่านการคัดเลือกรุ่นที่ 6 ประเมินค่าการตอบสนองของการคัดเลือก (R) โดยความยาวและน้ำหนักได้ 1.39 มิลลิเมตร และ 4.17 กรัม ตามลำดับ และมีค่าอัตราพันธุกรรมประจักษ์ (h2R) ที่เป็นผลมาจากการคัดเลือกมีค่าโดยความยาวและน้ำหนักที่อายุ 24 สัปดาห์ เป็น 0.14 และ 0.11 ตามลำดับ ซึ่งถือว่ามีค่าค่อนข้างต่ำ เมื่อเปรียบเทียบการเจริญเติบโตและอัตราการรอดตายของปลานิลจิตรลดา 3 ที่อายุ 24 สัปดาห์ ในกลุ่มที่ผ่านการคัดเลือกรุ่นที่ 4 และกลุ่มควบคุม พบว่า ค่าเฉลี่ยความยาว และน้ำหนัก ในกลุ่มที่ผ่านการคัดเลือกรุ่นที่ 4 มีค่า 235.18 ? 2.30 มิลลิเมตร และ 305.21 ? 10.51 กรัม ส่วนประชากรกลุ่มควบคุมมีค่าเฉลี่ย 225.76 ? 1.72 มิลลิเมตร และ 268.09 ? 3.77 กรัม ซึ่งประชากรกลุ่มคัดเลือกรุ่นที่ 4 มีค่าเฉลี่ยความยาวและน้ำหนักมากกว่ากลุ่มควบคุม คิดเป็น 4.00% และ 12.16% ตามลำดับ ซึ่งความแตกต่างดังกล่าวมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ในกลุ่มที่ผ่านการคัดเลือกรุ่นที่ 5 มีค่า 193.52 ? 2.47 มิลลิเมตร และ 141.69 ? 9.39 กรัม ส่วนประชากรกลุ่มควบคุมมีค่าเฉลี่ย 190.13 ? 1.11 มิลลิเมตร และ 135.21 ? 3.09 กรัม ซึ่งประชากรกลุ่มคัดเลือกรุ่นที่ 5 มีค่าเฉลี่ยความยาวและน้ำหนักมากกว่ากลุ่มควบคุม คิดเป็น 1.75% และ 4.57% ตามลำดับ ซึ่งความแตกต่างดังกล่าวมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ในกลุ่มที่ผ่านการคัดเลือกรุ่นที่ 6 มีค่า 234.96 ? 6.49 มิลลิเมตร และ 338.44 ? 23.22 กรัม ส่วนประชากรกลุ่มควบคุมมีค่าเฉลี่ย 235.73 ? 6.76 มิลลิเมตร และ 343.06 ? 29.77 กรัม ซึ่งประชากรกลุ่มคัดเลือกรุ่นที่ 6 มีค่าเฉลี่ยความยาวและน้ำหนักมากกว่ากลุ่มควบคุม คิดเป็น -0.33% และ -1.37% ตามลำดับ ซึ่งความแตกต่างดังกล่าวไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ในขณะที่อัตราการเจริญเติบโตจำเพาะโดยน้ำหนักของประชากรปลานิลจิตรลดา 3 ทั้งสองกลุ่มมีค่าใกล้เคียงกัน โดยมีค่า 0.781 %/วัน ในประชากรกลุ่มคัดเลือกรุ่นที่ 4 และ 0.775 %/วัน ในประชากรกลุ่มควบคุม และปลานิลจิตรลดา 3 ทั้งสองกลุ่มประชากรมีอัตราการรอดเท่ากัน คิดเป็น 62% จากผลการศึกษาในครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าวิธีการคัดเลือกแบบภายในครอบครัวสามารถนำมาใช้ปรับปรุงอัตราการเจริญเติบโตของปลานิลจิตรลดา 3 ให้ดีขึ้นได้ คำสำคัญ : ปรับปรุงพันธุ์ ปลานิลจิตรลดา 3 การคัดพันธุ์แบบภายในครอบครัว
บทคัดย่อ (EN): The study aimed to estimate genetic response and growth on 3 generation (generation 4 , 5 and 6) of Chitralada-3 strain tilapia (Oreochromis niloticus) by within family selection method. The response to selection was estimated as the difference of growth and survival rate at 24 weeks of age between selected and unselected control population in 1.5 x 1.5 x 2 m. hapas in earthen pond. The selection experiment had been carried out in the Uttaradit Aquaculture Genetics Research and Development Center during October 2013 to September 2017. After five generation of within family selection was carried out, estimation of response to selection (R) of length and weight were 0.42 cm and 11.46 g, respectively. The realized heritability (h2R) of length and weight at 24 weeks of age estimated were 0.24 and 0.20 and six generation of Chitralada-3 strain tilapia estimation of response to selection (R) of length and weight were 0.42 cm and 11.46 g, respectively. The realized heritability (h2R) of length and weight at 24 weeks of age estimated were 0.14 and 0.11, respectively. Aquacultural traits by length and weight of the 24 weeks of age in the selected population was higher than those of unselected control population (p<0.05), including total length (2.7%) and body weight (14.4%). There were very similar on specific growth rate and survival rate of the selected and unselected control populations. The average total length, body weight, specific growth rate and survival rate of fish at 15 month of age in the selected population were 41.5 ? 3.0 cm, 626.0 ? 128.8 g, 0.781 %/day and 100% while in the unselected control population were 40.4 ? 2.5 cm, 547.1 ? 140.7 g, 0.775 %/day and 100%, respectively. The results indicated that within family selection method technique provided the effective for genetic improvement of growth rate in Chitralada-3 strain tilapia. Key words : Genetic improvement, Chitralada-3 strain Tilapia , within-family selection
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2555-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2560-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมประมง
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การปรับปรุงพันธุ์ปลานิลจิตรลดา 3 ด้วยวิธีการคัดเลือกแบบภายในครอบครัว โดยใช้ลักษณะสัดส่วนเป็นเกณฑ์
กรมประมง
30 กันยายน 2560
กรมประมง
การทดสอบลักษณะเชิงเพาะเลี้ยงของปลานิลจิตรลดาปรับปรุงพันธุ์ และปลานิลจิตรลดา 3 ในฟาร์มเกษตรกร การปรับปรุงพันธุ์ปลาไนโดยวิธีการคัดเลือกแบบหมู่ การปรับปรุงลักษณะการเจริญเติบโตปลานิลจิตรลดา การทดสอบสายพันธุ์ปลานิลจิตรลดา 3 และปลานิลจิตรลดา 4 ในกระชังของเกษตรกร การปรับปรุงพันธุ์ปลานิลสีแดงสายพันธุ์ไทยโดยการคัดเลือกหมู่ การปรับปรุงพันธุ์ปลานิลทนเค็ม การใช้เทคโนโลยี bio-flocs ในการเลี้ยงกุ้งขาวและปลานิลแบบผสมผสาน การปรับปรุงพันธุ์ปลานิลทนเค็มโดยวิธีการผสมข้ามแบบเหนี่ยวนำกับปลาหมอเทศ การปรับปรุงพันธุ์ปลาหมอโดยวิธีคัดเลือกแบบหมู่ การศึกษาวิธีการปรับปรุงพันธุ์ปลานิลของเกษตรกรรายย่อยใน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก