สืบค้นงานวิจัย
การบูรณาการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นในการจัดการและอนุรักษ์ ความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่ต้นน้ำแม่แจ่ม อำเภอกัลยาณิวัฒนา จังหวัดเชียงใหม่
สุรศักดิ์ นุ่มมีศรี - มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
ชื่อเรื่อง: การบูรณาการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นในการจัดการและอนุรักษ์ ความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่ต้นน้ำแม่แจ่ม อำเภอกัลยาณิวัฒนา จังหวัดเชียงใหม่
ชื่อเรื่อง (EN): The Integration of Educational Management for Local Course Development to Biodiversity Management and Conservation in Mae-jam upstream area, Kalyaniwathana District, Chiang Mai Province.
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สุรศักดิ์ นุ่มมีศรี
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: ไพรสันต์ สุวรรณศรี
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การวิจัยเรื่อง การบูรณาการการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่นในการจัดการและอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ ในพื้นที่ต้นน้ำแม่แจ่ม อำเภอกัลยาณิวัฒนา จังหวัดเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์ หลักเพื่อศึกษารูปแบบการบูรณาการการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่นในการจัดการและอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำ โดยการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ซึ่งรูปแบบการบูรณาการการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่นในการจัดการและอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำ ประกอบด้วย รูปแบบในการบูรณาการการจัดการศึกษาเพื่อท้องถิ่นในการจัดการและอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพกับนักศึกษา ประกอบด้วย ขั้นตอนที่ 1 การปรับกระบวนทัศน์ของนักศึกษาต่อชุมชน ขั้นตอนที่ 2 การศึกษาปัญหาการจัดการและอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ ขั้นตอนที่ 3 การให้ประชาชนและนักศึกษาการร่วมกันออกแบบทางเลือกในการแก้ปัญหาการจัดการและอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ และขั้นตอนที่ 4 ดำเนินการวิจัยแบบบูรณาการฯ ได้แก่ ได้แก่ เรื่องที่ 1 ความรู้และการมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรน้ำ เรื่องที่ 2 การสร้างความตระหนักและความรู้ในการป้องกันมลพิษทางน้ำจากยาฆ่าแมลงและวัชพืชจากการเกษตร เรื่องที่ 3 การพัฒนาชุดปรับปรุงคุณภาพน้ำแบบง่ายสองขั้นตอน ในส่วนของการบูรณาการการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นกับนักเรียน ได้ใช้องค์ความรู้ที่เกี่ยวกับการติดตามตรวจสอบคุณภาพน้ำอย่างง่าย เพื่อให้นักเรียนเกิดความเข้าใจและชุมชนสามารถติดตามตรวจสอบคุณภาพน้ำได้เอง โดยใช้ชุดตรวจสอบคุณภาพน้ำอย่างง่ายและบรรจุองค์ความรู้ไว้ในแผนการเรียนของนักเรียนที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้นำชุดตรวจวัดคุณภาพน้ำทางด้านกายภาพ เคมีและชีววิทยา อย่างง่าย มาให้นักเรียนและครูในพื้นที่ได้ใช้ในการเก็บข้อมูล และรายผลในโปรแกรมระบบสารสนเทศ โดยได้นำไปบรรจุอยู่ในการเรียนการสอนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 หน่วยการเรียนรู้ ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม เรื่อง ระบบนิเวศและความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตที่อยู่ร่วมกัน โดยการดำเนินกิจกรรมนี้สามารถได้กลุ่มเยาวชนจากโรงเรียนต่างๆ จำนวน 2 โรงเรียน ประกอบด้วย โรงเรียนบ้านจันทร์ และโรงเรียนสามัคคีสันม่วง ซึ่งจะนำความร่วมมือไปสร้างเป็นเครือข่ายในการจัดการและอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำบนฐานเศรษฐกิจพอเพียงในพื้นที่ลุ่มน้ำแม่แจ่มต่อไป
บทคัดย่อ (EN): This research with entitle The integration of educational management for local course development to biodiversity management and conservation in Mae-jam upstream area, Kalyaniwathana District, Chiang Mai Province. The major objective was to study the integration pattern in the education for local development in education and conservation of the biodiversity on the sufficient economical based, which self-done by the local people with continuously and long lasting. The result found that: The integration of educational management for local course development to biodiversity management and conservation consist of 4 steps, the first one was the paradigm adjustment of students to the community. The second step was study the problem of biodiversity management and conservation. The third step was the alternative model in solving the biodiversity management and conservation which designed by the people and the students in the community such as a simple way in water treatment technology, upgraded the understanding and the knowledgement about the biodiversity management and conservation problem to the entrepreneurship in that community. The fourth step was operating the integrated research such as the knowledge and participation in the management of water resources, awareness and knowledge for water pollution from pesticides and herbicides from agriculture and development two-step process water treatment process. In the part of the development of the local curriculum for using in monitoring the water quality by simple testing method which in physical , chemical and biological aspect quantities. Teachers and students in this area used for data collection and reported all data into the information system which developed by our research team. All information were set in the education of Prathom Suksa VI students with the 1st lesson plan, the study plan about livings and environment entitled of Ecosystem and the relation between co-organized livings thing In proceeding all activities, had done by teenager groups from 2 schools, Ban Chan school, Samukee Sunmuang School. In the future all the cooperation would be set as the network in the management and the biodiversity management and conservation.
วิธีการจ้างทำงานวิจัย: ได้รับทุนวิจัย
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2556-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2557-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การบูรณาการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นในการจัดการและอนุรักษ์ ความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่ต้นน้ำแม่แจ่ม อำเภอกัลยาณิวัฒนา จังหวัดเชียงใหม่
มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
30 กันยายน 2557
การสร้างรูปแบบการจัดการสิ่งแวดล้อม และการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืนบนฐานเศรษฐกิจพอเพียงและภูมิปัญญาท้องถิ่นในพื้นที่ต้นน้ำแม่แจ่ม อำเภอกัลยาณิวัฒนา จังหวัดเชียงใหม่ โครงการสื่อความรู้ด้านความหลากหลายทางชีวภาพของสิ่งมีชีวิตในแนวปะการังและพื้นที่ใกล้เคียงทะเลอันดามัน โครงการสื่อความรู้ด้านความหลากหลายทางชีวภาพของสิ่งมีชีวิตในแนวปะการังและพื้นที่ใกล้เคียงทะเลอันดามัน ความหลากหลายทางชีวภาพและความสัมพันธ์กับภูมิปัญญา ท้องถิ่นเพื่อการอนุรักษ์และจัดการสิ่งแวดล้อมทางน้ำ ในพื้นที่ต้นน้ำ แม่แจ่ม อำเภอกัลยาณิวัฒนา จังหวัดเชียงใหม่ ความหลากหลายทางชีวภาพและความสัมพันธ์กับภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ในพื้นที่ อำเภอกัลยาณิวัฒนา จังหวัดเชียงใหม่ การศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพ เพื่อการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่นอย่างยั่งยืนในพื้นที่ป่าชุมชนบ้านหินฮาว อำเภอบ้านฝาง จังหวัดขอนแก่น การจัดการความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่อุทยานแห่งชาติภูลังกา จังหวัดนครพนม เพื่อการอนุรักษ์และพัฒนาการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน การศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพและจำแนกสายพันธุ์ของเชื้อไรโซเบียมที่เข้าสร้างปมกับพืชตระกูลถั่วสายพันธุ์ท้องถิ่น เพื่อการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่นอย่างยั่งยืนในพื้นที่ป่าชุมชนบ้าน การพัฒนาด้านการจัดการโรงสีข้าวชุมชนในจังหวัดกาฬสินธุ์ การพัฒนาเครือข่ายวิชาการและเผยแพร่ความรู้ด้านความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่น

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก