สืบค้นงานวิจัย
สภาพการผลิตข้าวตำบลเมืองที อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์
ดำรง สอนตะคุ - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: สภาพการผลิตข้าวตำบลเมืองที อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ดำรง สอนตะคุ
คำสำคัญ:
หมวดหมู่:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: การศึกษาเรื่องสภาพการผลิตข้าวของเกษตรกร ตำบลเมืองที อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานด้านเศรษฐกิจ สังคมบางประการของเกษตรกร สภาพการผลิตข้าวของเกษตรกร และปัญหาในการผลิตข้าวของเกษตรกร โดยอาศัยการวิเคราะห์ข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นเกษตรกรผู้ปลูกข้าวตำบลเมืองที อำเภอ เมือง จังหวัดสุรินทร์ ทำการสุ่มตัวอย่างแบบมีระบบ (Systematic Random Sampling) ใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป ใช้สถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ในการนำเสนอข้อมูล ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่ร้อยละ 53.9 เป็นชาย ร้อยละ 32.6 มีอายุระหว่าง 36-45 ปี ส่วนใหญ่ร้อยละ 64.5 จบการศึกษาระดับประถมศึกษาปีที่ 4 ส่วนใหญ่ร้อยละ 75.2 มีสมาชิกในครัวเรือนที่มี 4-6 ร้อยละ 48.9 ครัวเรือนมีพื้นที่ปลูกข้าว 11-20 ไร่ ส่วนใหญ่ร้อยละ 56 ครัวเรือนถือครองที่ดินเป็นของตนเอง ร้อยละ 51.8 ครัวเรือนมีรายได้ 20,000-40,000 บาท ส่วนใหญ่ร้อยละ 77.3 ใช้เงินทุนของตนเอง ส่วนใหญ่ร้อยละ 87.9 มีหนี้สิน ร้อยละ 38.3 เป็นหนี้ 20,001-40,000 บาท ร้อยละ 45.4 มีรถไถเดินตาม ส่วนใหญ่ร้อยละ 73.8 จ้างแรงงาน ร้อยละ 32.6 จ้างแรงงาน 11-20 คน ค่าจ้างแรงงานในการปลูกข้าว ร้อยละ 30.5 จ้างแรงงาน 3,001-5,000 บาท จ้างแรงงานเกี่ยวข้าวส่วนใหญ่ร้อยละ 79.4 จ้างแรงงาน ร้อยละ 38.3 จ้างแรงงาน 11-20 คน ร้อยละ 36.2 จ้างแรงงาน 3,001-6,000 บาท ร้อยละ 51.8 ครัวเรือนมีพื้นที่ปลูกข้าว 11-20 ไร่ ส่วนใหญ่ร้อยละ 79.4 มีสภาพเนื้อดินนาเป็นดินร่วนปนทราย เกษตรกรทั้งหมดปลูกข้าวโดยอาศัยน้ำฝน ส่วนใหญ่ร้อยละ 73 ไม่มีแหล่งน้ำในไร่นาและร้อยละ 27 มีแหล่งน้ำในไร่นาของตนเองแต่ไม่เพียงพอ เกษตรกรทั้งหมดปลูกข้าวเจ้า เกษตรกรทั้งหมดใช้พันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 ส่วนใหญ่ร้อยละ 98.6 ปลูกเพื่อบริโภคและจำหน่าย เกษตรกรทั้งหมดเก็บเมล็ดพันธุ์ใช้เอง ร้อยละ 53.2 ไม่เปลี่ยนเมล็ดพันธุ์ข้าว ส่วนใหญ่ร้อยละ 70.9 ไม่ทดสอบความงอกของเมล็ดพันธุ์ข้าว ร้อยละ 50.4 ปลูกข้าวในเดือนกรกฎาคม ร้อยละ 53.9 ปลูกข้าวโดยทำนาดำและนาหว่าน การทำนาดำ เกษตรกรทั้งหมดไถดะ 1 ครั้ง ส่วนใหญ่ร้อยละ 70.4 ไถดะในเดือนพฤษภาคม เกษตรกรทั้งหมดไถแปร 1 ครั้ง ส่วนใหญ่ร้อยละ 65.9 ไถแปรในเดือนมิถุนายน ส่วนใหญ่ร้อยละ 82.4 ตกกล้าในเดือนมิถุนายน เกษตรกรทั้งหมด แช่ข้าว 1 วัน เกษตรกรทั้งหมด หุ้มเมล็ดข้าว 1 วัน ร้อยละ 97.2 ไม่แบ่งแปลงกล้า ส่วนใหญ่ร้อยละ 81.5 ใช้กล้าในการปักดำอายุ 30-40 วัน ส่วนใหญ่ร้อยละ 94.4 ปักดำข้าวในเดือน กรกฎาคม เกษตรกรร้อยละ 50.9 ปักดำข้าวระยะ 20x20 ซม. ส่วนใหญ่ร้อยละ 67.6 ใช้ต้นข้าวต่อจับ 4-5 ต้น การทำนาหว่าน เกษตรกรทั้งหมด ไถดะ 1 ครั้ง ส่วนใหญ่ร้อยละ 87.2 ไถดะในเดือนพฤษภาคม ส่วนใหญ่ร้อยละ 85.3ไถแปร 1 ครั้ง ส่วนใหญ่ร้อยละ 64.2 หว่านข้าวในเดือนมิถุนายน ส่วนใหญ่ร้อยละ 74.3 ใช้เมล็ดพันธุ์ข้าว 16-20 กก./ไร่ ส่วนใหญ่ร้อยละ 98.2 หว่านข้าวแห้ง ส่วนใหญ่ร้อยละ 73 ใส่ทั้งปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์ ส่วนใหญ่ร้อยละ 92.2 ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-8 ร้อยละ 34.7 ใส่ปุ๋ยในอัตรา 21-25 กก. ส่วนใหญ่ร้อยละ 78.7 ใส่ปุ๋ย 2 ครั้ง ส่วนใหญ่ร้อยละ 78 ใส่ปุ๋ยหลังปักดำ 7-10 วัน หรือหลังข้าวงอก 20-30 วัน ส่วนใหญ่ร้อยละ 84.4 ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ก่อนปลูก ส่วนใหญ่ร้อยละ 92.2 ไม่ใช้สารเคมี ส่วนใหญ่ร้อยละ 91.1 เกี่ยวข้าวโดยใช้แรงคน ร้อยละ 48.9 มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 11-20 ไร่ ร้อยละ 46.1 ได้ผลผลิต 351-500 กก./ไร่ ส่วนใหญ่ร้อยละ 60.3 ตากข้าว 4 วัน ส่วนใหญ่ร้อยละ 96.5 ใช้เครื่องนวด ส่วนใหญ่ร้อยละ 88.7 ไม่ไถกลบต่อซังข้าว ส่วนใหญ่ร้อยละ 97.2 เก็บผลผลิตข้าวไว้ในยุ้งฉาง ส่วนใหญ่ร้อยละ 94.3 เทกองไว้ เกษตรกรผู้ผลิตข้าวประสบปัญหาในระดับมาก มี 1 ประเด็นคือ ปัญหาเรื่องน้ำที่ใช้ในการเพาะปลูก เกษตรกรผู้ผลิตข้าวประสบปัญหาในระดับน้อย มี 5 ประเด็น คือ ปัญหาโรคแมลงระบาด ปัญหาเรื่องการเตรียมดิน ปัญหาเรื่องคุณภาพเมล็ดข้าว ปัญหาเรื่องการตลาด ปัญหาเรื่องวัชพืช เกษตรกรส่วนใหญ่ที่ปฏิบัติตามหลักวิชาการได้ถูกต้องในเรื่อง ใช้พันธุ์ข้าวตามทางราชการส่งเสริม การปลูก เดือนที่ปลูก การไถ อายุกล้า ระยะห่างของการปักดำ จำนวนต้นต่อจับ ปริมาณเมล็ดพันธุ์ในการหว่าน การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมี ปริมาณการใช้ปุ๋ย จำนวนครั้งที่ใส่ปุ๋ย ระยะเวลาในการใส่ปุ๋ย การเก็บผลิตและเกษตรกร และที่เกษตรกรปฏิบัติไม่ถูกต้องในเรื่อง การเปลี่ยนเมล็ดพันธุ์พันธุ์ข้าว การทดสอบความงอกก่อนการนำไปปลูก การแบ่งแปลงกล้าเป็นแปลงย่อย การตากข้าวและ การไถกลบตอชัง ผู้ศึกษาขอเสนอแนะในส่วนที่เกษตรกรปฏิบัติไม่ถูกต้องดังนี้ เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรควรถ่ายทอดเทคโนโลยีให้ความรู้ จัดวันรณรงค์ จัดวันสาธิต ทำเอกสารเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ และขอเสนอแนะในการศึกษาครั้งต่อไป ควรศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการผลิตข้าวของเกษตรกร
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2546
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2547
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
สภาพการผลิตข้าวตำบลเมืองที อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์
กรมส่งเสริมการเกษตร
2547
สภาพการใช้เทคโนโลยีการผลิตข้าวของเกษตรกร ตำบลเพี้ยราม อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ สภาพการผลิตข้าวอินทรีย์ของเกษตรกรอำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ สภาพการผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ของเกษตรกร ในตำบลตรวจระมวล อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ สภาพการผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ตำบลขอนแก่น อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด สภาพการผลิตข้าวของเกษตรกรตำบลชัยพฤกษ์ อำเภอเมือง จังหวัดเลย สภาพการผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ของเกษตรกร ในอำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี สภาพการผลิตข้าวของเกษตรกร ตำบลศรีณรงค์ อำเภอชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์ การใช้เทคโนโลยีในการผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ปี 2546 ของเกษตรกร ตำบลจาน อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ การผลิตข้าวอินทรีย์ ของจังหวัดสุรินทร์ การยอมรับเทคโนโลยีในการผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ของเกษตรกรอำเภอเมือง จังหวัดนครพนม

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก