สืบค้นงานวิจัย
การใช้เมล็ดถั่วเหลืองที่ไม่ผ่านการสกัดน้ำมันเป็นอาหารสัตว์ปีก 1. นกกระทาไข่ และไก่สาว
สุชน ตั้งทวีวิพัฒน์ - มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ชื่อเรื่อง: การใช้เมล็ดถั่วเหลืองที่ไม่ผ่านการสกัดน้ำมันเป็นอาหารสัตว์ปีก 1. นกกระทาไข่ และไก่สาว
ชื่อเรื่อง (EN): UTILIZATION OF FULL FAT SOYBEAN IN POULTRY DIETS 1. JAPANESE LAYING QUAILS AND REPLACEMENT PULLETS
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สุชน ตั้งทวีวิพัฒน์
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Suchon Tangtaweewipat
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: บุญล้อม ชีวะอิสระกุล
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN): Boonlom Cheva-Isarakul
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การใช้เมล็ดถั่วเหลืองที่ไม่ผ่านการสกัดน้ำมัน แต่ผ่านความร้อนแบบเอ็กซ์ทรูด (Extrude; Full fat Soybean, FFSB) ซึ่งมีปริมาณโปรตีนและไขมันค่อนข้างสูง (40 และ 20% ตามลำดับ) ไปทดแทนกากถั่วเหลืองระดับ 0, 50 และ 100% ในสูตรอาหารนกกระทาไข่ และไก่ไข่รุ่น จำนวน 150 และ 300 ตัว เป็นเวลา 84 และ 98 วันอตามลำดับ โดยอาหารนกกระทาไข่มีโปรตีนระดับ 22% ส่วนอาหารไก่ไข่รุ่นในช่วงอายุ 6-12 สัปดาห์ มีโปรตีน 15.5% และช่วงอายุ 13-20 สัปดาห์ มีโปรตีน 13.5% เท่ากันทุกกลุ่ม ยกเว้นค่าพลังงานใช้ประโยชน์และไขมันปล่อยให้สูงขึ้นตามการใช้ FFSB ในอาหาร ผลปรากฏว่า สมรรถภาพการผลิตทั้งของนกกระทาไข่ (ผลผลิตไข่และประสิทธิภาพการใช้อาหาร) และไก่รุ่น (อัตราการเจริญเติบโต ปริมาณอาหารที่กินและอายุเมื่อไข่ครบ 5% ของฝูง) ของกลุ่มที่ได้รับ FFSB แทนที่กากถั่วเหลืองครึ่งหนึ่งหรือทั้งหมด ให้ผลไม่ต่างจากกลุ่มควบคุม (0% FFSB) แต่ความสม่ำเสมอของฝูงไก่เมื่ออายุ 20 สัปดาห์สูงขึ้นตามระดับการใช้ FFSB ในอาหาร (81 vs 86 และ 91%) ตามลำดับ. อย่างไรก็ดีพบว่าการใช้ FFSB แทนที่กากถั่วเหลือง มีผลทำให้ราคาอาหารสูงขึ้น เป็นเหตุให้ต้นทุนค่าอาหารในการผลิตไข่นกและค่าตัวไก่สาวมีราคาสูงขึ้น
บทคัดย่อ (EN): Extruded full fat soybean meal (FFSB) which contained 40% crude protein (CP) and 20% ether extract was substituted to 0, 50 and 100% of soybean meal (SBM) in poultry diets. The diets containing 22% CP were fed to 150 heads of Japanese laying quails while those of 15.5 and 13.5% CP were fed to 300 heads of replacement pullets during 6-12 and 13-20 week of age, respectively. There was no significant difference among groups regardless of the use of FFSB on egg production and feed efficiency of Japanese quails or growth rate, feed intake and age at 5% egg production of pullets. However the higher price of FFSB, compared to SBM, caused higher production cost of both poultry types.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2534
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2535
เอกสารแนบ: https://li01.tci-thaijo.org/index.php/joacmu/article/view/247650/169454
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การใช้เมล็ดถั่วเหลืองที่ไม่ผ่านการสกัดน้ำมันเป็นอาหารสัตว์ปีก 1. นกกระทาไข่ และไก่สาว
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
2535
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
การใช้เมล็ดถั่วเหลืองที่ไม่ผ่านการสกัดน้ำมันเป็นอาหารสัตว์ปีก 2. ไก่เนื้อ การใช้เมล็ดถั่วมะแฮะเพื่อเป็นอาหารสัตว์ปีก 3. ใช้ถั่วมะแฮะเป็นแหล่งของโปรตีน/พลังงานในอาหารไก่ไข่ การใช้ใบถั่วอาหารสัตว์ในอาหารลูกโคนม การพัฒนาผลิตภัณฑ์นมเปรี้ยวจากน้ำนมถั่วเหลือง ผลการใข้มันเส้นและถั่วเหลืองทั้งเมล็ดเป็นอาหารสุกรขุน ผลของน้ำมันรำข้าวและใยอาหารจากเปลือกถั่วเหลืองต่อคุณภาพของไส้กรอกปลาดุกบิ๊กอุย การใช้ถั่วเหลืองเพื่อลดต้นทุนในการผลิตเป็ดปักกิ่ง สภาวะที่เหมาะสมของการสกัดน้ำมันออกจากกากผลปาล์มเพื่อใช้เป็นอาหารสัตว์ด้วยวิธีพื้นผิวตอบสนอง การใช้สารกำจัดวัชพืชประเภทก่อนงอกและหลังงอกในถั่วเหลือง ผลของการใช้กากถั่วเหลืองหมักต่อการเจริญเติบโตและการรอดตายของปลานิล

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก