สืบค้นงานวิจัย
การศึกษาความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของลำไยด้วยเทคนิคไอดีอาร์เอพีดี
แสงทอง พงษ์เจริญกิต, จันทร์เพ็ญ สะระ, ธีรนุช เจริญกิจ, ฉันทนา วิชรัตน์ - มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ชื่อเรื่อง: การศึกษาความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของลำไยด้วยเทคนิคไอดีอาร์เอพีดี
ชื่อเรื่อง (EN): Study on Genetic Relationship of Dimocarpus longan Using ID-RAPD Technique
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ:
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN):
คำสำคัญ: ลำไย(Longan) Dimocarpus longan Lour. เทคนิคไอดีอาร์เอพีดี(intron derived RAPD (ID- RAPD)) ความหลากหลายทางพันธุกรรม(genetic diversity)
บทคัดย่อ: ลำไย (Dimocarpus longan Lour.) เป็นพืชเศรษฐกิจ ปลูกมากบริเวณภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย เนื่องจากมีสายพันธุ์ลำไยเป็นจำนวนมาก จึงมีการศึกษาความความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของลำไยด้วยเทคนิคทางชีว-โมเลกุล ในการศึกษานี้ใช้เทคนิค Intron Derived Random Amplified Polymorphic DNA (ID- RAPD) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของลำไยจำนวน 25 สายพันธุ์ ซึ่งเก็บรวบรวมไว้ที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จากการเพิ่มจำนวนดีเอ็นเอของไพรเมอร์จำนวน 10 ไพรเมอร์ พบแถบดีเอ็นเอทั้งหมด 50 แถบ โดยเป็นแถบดีเอ็นเอที่แสดงความแตกต่างระหว่างสายพันธุ์ของลำไย จำนวน 45 แถบ คิดเป็น 90 เปอร์เซ็นต์ และเมื่อนำลายพิมพ์ดีเอ็นเอที่ได้ไปวิเคราะห์ความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมด้วยโปรแกรม NTSYSpc พบว่าลำไยมีค่าดัชนีความเหมือนระหว่าง 0.46 ถึง 0.98 และที่ค่าดัชนีความเหมือน 0.74 พบว่าสามารถแบ่งลำไยจำนวน 25 สายพันธุ์ ออกเป็น 3 กลุ่ม โดยจัดกลุ่มลำไยสายพันธุ์ดอแยกจากลำไยสายพันธุ์อื่นได้
บทคัดย่อ (EN): Longan (Dimocarpus longan Lour.) is an economically important crop. There are numerous longan varieties grown in the northern part of Thailand. Currently, molecular techniques are used to study the genetic relationship of longan. In this study, Intron Derived Random Amplified Polymorphic DNA (ID- RAPD) was used to investigate the genetic relationship of 25 varieties of longan which were collected at Maejo University. Fifty amplified DNA fragments were obtained from ten ID-RAPD primers. Forty-five of 50 amplified bands were polymorphism (90%). Genetic similarity and cluster analysis was performed using NTSYSpc program. The genetic similarity index ranged from 0.46-0.98. The dendrogram showed that 25 varieties of longan were classified into 3 groups with a 0.74 similarity index. Moreover, Daw varieties were clearly separated from other varieties.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2559
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2559
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การศึกษาความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของลำไยด้วยเทคนิคไอดีอาร์เอพีดี
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
2559
เอกสารแนบ 1
ความหลากหลายทางพันธุกรรมของปลาดุกลำพันโดยใช้เทคนิคอาร์เอพีดี การจำแนกพันธุ์และการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของข้าวพื้นเมืองด้วยเทคนิคอาร์เอพีดี การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของกล้วยไม้ลูกผสมสกุลฟาแลนอปซิสด้วยเทคนิคอาร์เอพีดี การจำแนกพันธุ์สบู่ดำโดยใช้เทคนิคอาร์เอพีดี การรวบรวมและจำแนกสายพันธุ์เห็ดหอมที่เพาะเพื่อการค้าด้วยเครื่องหมายโมเลกุล อาร์เอพีดี การทำข้อมูลดีเอ็นเอบาร์โคดิ้งของลำไยในประเทศไทย การศึกษาความผันแปรทางพันธุกรรมของประชากรปลาโมงในภาคตะวันออกเฉียงเหนือด้วยเทคนิคอาร์เอพีดี การใช้เทคนิค PCR ตรวจสอบลักษณะพันธุกรรม Malignant Hyperthermia ในสุกรพันธุ์เปียแตรง การตรวจสอบการแสดงออกของยีนที่ต่างกันในใบประดับของบัวชั้นโดยเทคนิคดีดีอาร์ที-พีซีอาร์ การตรวจหา Suilysin และโปรตีนที่เกี่ยวข้องกับความรุนแรงของ เชื้อสเตรปโตคอคคัส ซูอิส ที่แยกได้จากสุกรป่วย สุกรปกติที่เป็นพาหะของโรคและคนที่เกี่ยวข้องโดยใช้เทคนิค PCR

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก