สืบค้นงานวิจัย
การใช้ถั่วเหลืองฝักสดหลังการเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้วต่อการปรับปรุงดินบนพื้นที่สูง
อาคม กาญจนประโชติ - มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ชื่อเรื่อง: การใช้ถั่วเหลืองฝักสดหลังการเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้วต่อการปรับปรุงดินบนพื้นที่สูง
ชื่อเรื่อง (EN): Study on Vegetable Soybean for Soil Adaptation in Highland
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: อาคม กาญจนประโชติ
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การใช้ถั่วเหลืองฝึกสดหลังการเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้วต่อการปรับปรุงบำรุงดินบนพื้นที่สูง ทำการทดลอง ณ พื้นที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงทุ่งหลวง อ.แม่วาง จ.เชียงใหม่ ดำเนินการทคลอง ในระหว่างวันที่ 26 ธันวาคม 2547 ถึง วันที่ 31 มีนาคม 2548 โดยวางแผนการทคลองแบบ RCBD มี สิ่งทดลอง 3 สิ่งทดลอง ทำการทดลอง 4 ซ้ำ โดยสิ่งทดลองที่ 1 คือ จำนวนประชากร 2 ต้นต่อหลุม สิ่งทดลองที่ 2 คือ จำนวนประชากร 3 ต้นต่อหลุม และ สิ่งทดลองที่ 3 คือ จำนวนประชากร 4 ต้นต่อ หลุม ผลการทดลอง พบว่า จำนวนประชากรที่ทำการศึกษามีผลต่อความสูงของถั่วเหลืองฝักสด โดยจำนวนประชากรถั่วเหลืองฝักสดที่มีความสูงสูงที่สุดคือ 4 ต้นต่อหลุม มีความสูงเท่ากับ 48,51 เซนติเมตร ปริมาณผลผลิตทางชีวภาพ (Bio mass) จำนวนประชากรที่มีผลต่อปริมาณผลผลิตทาง ชีวภาพสูงที่สุด คือ 3 ต้นต่อหลุม มีผลผลิตทางชีวภาพ (Bio mass) เท่ากับ 353.81 กรัมต่อตาราง เมตร และผลผลิตฝักสดของถั่วเหลืองฝักสด จำนวนประชากรที่มีผลผลิตฝักสดสูงที่สุดคือ 2 ต้นต่อ หลุม มีผลผลิตฝึกสดเท่ากับ 800.38 กิโลกรัมต่อไร่ ผลการวิจัยในครั้งนี้ ทำให้ทราบถึงจำนวนประชากรที่เหมาะสมในการให้ผลผลิตที่ และได้ ปริมาณผลผลิตทางชีวภาพ (Bio mass) สูงที่สุด คือจำนวนประชากร 2 ต้นต่อหลุม ซึ่งเป็นจำนวน ประชากรที่เหมาะสมในการปลูกเพื่อเป็นพืชทางเลือกให้เกษตรกรได้ตัดสินใจ ปลูกถั่วเหลืองฝักสด เพื่อการบริโภคและเพื่อการปรับปรุงบำรุงดินบนพื้นที่สูงต่อไป
แผนยุทธศาสตร์งานวิจัย – ระดับกระทรวง: คณะผลิตกรรมการเกษตร
เลขทะเบียนวิจัยกรม: RPF-48-016
ชื่อแหล่งทุน: มูลนิธิโครงการหลวง
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2548
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2548
เอกสารแนบ: https://archive.lib.cmu.ac.th/full/rpf/2548/rpf48_ak_full.pdf
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยแม่โจ้
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การใช้ถั่วเหลืองฝักสดหลังการเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้วต่อการปรับปรุงดินบนพื้นที่สูง
มหาวิทยาลัยแม่โจ้
2548
เอกสารแนบ 1
ผลของระยะปลูกต่อคุณภาพและผลผลิตถั่วเหลืองฝักสดกลิ่นหอม ศักยภาพการให้ผลผลิตของงาหอมบนพื้นที่สูง การใช้ถั่วเหลืองเพื่อลดต้นทุนในการผลิตเป็ดปักกิ่ง การพัฒนาผลิตภัณฑ์นมเปรี้ยวจากน้ำนมถั่วเหลือง ผลของการย่อยสลายของซากถั่วเหลืองฝักสดต่อปริมาณการดูดใช้ไนโตรเจนและการให้ผลผลิตของผักคะน้า การใช้เปลือกเมล็ดถั่วเหลืองระดับสูงในสูตรอาหารโคนม ระบบการผลิตแบบหลายวัตถุประสงค์ของครัวเรือนเกษตรกรบนพื้นที่สูงในจังหวัดเชียงใหม่ การปรับปรุงพันธุ์ถั่วเหลืองอายุสั้น การปรับปรุงพันธุ์ถั่วเหลืองอายุสั้น การศึกษาการใช้ปุ๋ยอินทรีย์และการควบคุมศัตรูพืชโดยชีววิธีในการผลิตถั่วเหลืองอินทรีย์

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก