สืบค้นงานวิจัย
การเพาะเลี้ยงและการผลิตถั่งเฉ้า(Cordyceps spp.) ด้วยไหมอีรี่-ไหมป่าชนิดต่างๆ
ศิวิลัย สิริมังครารัตน์ - มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ชื่อเรื่อง: การเพาะเลี้ยงและการผลิตถั่งเฉ้า(Cordyceps spp.) ด้วยไหมอีรี่-ไหมป่าชนิดต่างๆ
ชื่อเรื่อง (EN): Cultivation and production of Cordyceps spp. by using eri and different wild silkworms
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ศิวิลัย สิริมังครารัตน์
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Sivilai Sirimungkararat
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
หมวดหมู่:
บทคัดย่อ: โครงการวิจัยนี้ปีงบประมาณ 2558)มีวัตถุประสงค์หลัก เพื่อเก็บรวบรวมและแยกหาเชื้อเห็ด ถั่งเฉ้า(ถั่งเช่า, Cordyceps spp.) จากธรรมชาติที่มีในประเทศไทย ซึ่งได้เชื้อดั่งเฉ้าไอโซเลตท้องถิ่นจำนวน 1 ไอโซเลต (ไอโซเลต No.1, ไอโซเลต มข.; C. bassiana) และเชื้อถั่งเฉ้าสีทอง C. miritaris จำนวน 6 ไอโซเลต (ไอโซเลต No. 2-6 และ 10) เป็นสต็อกของเชื้อเห็ดถั่งเฉ้าสำหรับใช้ทดลองอย่างต่อเนื่อง และ คัดเลือกได้เชื้อเห็ดถั่งเฉ้า 3 ไอโซเลต (No. 1, No. 4 และ No. 10) มาทดสอบการเจริญในอาหารเลี้ยงเชื้อ แข็งชนิดต่างๆ 5 ชนิดได้แก่ potato dextrose agar (PDA), Sabouraud dextrose agar (SDA), Sabouraud dextrose agar + yeast extract (SDAtY), malt extract agar (MEA) และ malt extract agar + yeast extract (MEA+Y) และอาหารเหลว potato dextrose broth (PDB), Sabouraud dextrose broth (SDB), Sabouraud dextrose broth + yeast extract (SDB+Y), malt extract broth (MEB) และ malt extract broth + yeast extract (MEB+Y) พบว่าในอาหารแข็ง เห็ดถั่งเฉ้าไอโซเลต มข.(No.1) และเห็ดถั่งเฉ้าสีทองทั้ง 2 ไอโซเลต (No. 4 และ No. 10) เจริญได้ดีที่สุด บนอาหาร PDA มีเส้นผ่าศูนย์กลางของโคโลนีไม่แตกต่างกันทางสถิติ (P<0.01) 86.7 มม., 85.0 มม. และ 86.9 มม.ตามลำดับ เมื้อเลี้ยงในอาหารเหลวพบว่า เห็ดถั่งเฉ้าไอโซเลต No.1เจริญได้ดีที่สุดในอาหาร MEB+Y โดยมีน้ำหนักเส้นใยสด 8,250 มก/ขวด ส่วนเห็ดถั่งเฉ้าสีทองไอโซเลต No.4 และ No.10 นั้น เจริญได้ดีที่สุดในอาหารPDB ซึ่งมีน้ำหนักเส้นใยสด 8,770 มก/ขวดและ 11,943 มก./ขวด ตามลำดับ แต่ ในการประเมินจากน้ำหนักเส้นใยแห้งนั้น พบว่าเห็ดถั่งเฉ้าไอโซเลต No.1เจริญได้ดีที่สุดในอาหารIMEB+Y (830.7 มก/ขวด) ส่วนเห็ดถั่งเฉ้าสีทองไอโซเลต No.4 และ No.10 นั้นเจริญได้ดีที่สุดในอาหาร MEB+Y (536.3 มก/ขวด) และ MEB 485.1 (มก/ขวด) ตามลำดับ
บทคัดย่อ (EN): Sivilai Sirimungkararat1/3/, Weerasak Saksirirat2/3/ and Duanpen Wongson3/ 1/ Entomology Section, Department of Plant Science and Agricultural Resources, Fac. of Agriculture, Khon Kaen University, Khon Kaen, 40002 2/ Plant pathology Section, Department of Plant Science and Agricultural Resources, Fac. of Agriculture, Khon Kaen University, Khon Kaen, 40002 3/ Cultivation and Product Development Research Group of Wild Silkmoths and Economic Insects for Value Added Creation, Khon Kaen University Abstract This study (2015 fiscal year) was focused on culture collection and the isolation of Cordyceps spp. found in nature of Thailand. One isolate was derived from local (isolate No.1, isolate KKU, C. bassiana) and 6 isolates (Isolate No.2-6 and 10) of C. militaris were collected. Of these were used continuously for the research projects. The 3 isolates, No.1, 4 and 10 were selected to test on the growth with solid media: potato dextrose agar (PDA), Sabouraud dextrose agar (SDA), Sabouraud dextrose agar + yeast extract (SDA + Y), malt extract agar (MEA) and malt extract agar + yeast extract (MEA + Y). And the selected liquid media for growth test of these isolates were potato dextrose broth (PDB), Sabouraud dextrose broth (SDB), Sabouraud dextrose broth + yeast extract (SDB + Y), malt extract broth (MEB) and malt extract broth + yeast extract (MEB + Y). The mycelia of fungi C. bassiana (No. 1) and C. militaris (No.4 and No.10) grew the best on PDA medium with colony diameters 86.7 mm, 85.0 mm and 86.9 mm, respectively. In liquid media based on mycelial fresh weight, C. bassiana (isolate No.1) grew well in MED+Y providing the highest mycelial fresh weight of 8,250 mg/bottle. All isolates of C. militaris (isolate No.4 and No.10) expressed the maximum mycelial weight on PDB with 8,770.0 mg/bottle and 11,943 mg/bottle, respectively. However, based on mycelial dry weight examination, the C. bassiana culture showed the heaviest dry weight of mycelia obtained from MEB+Y (830.7 mg/bottle). The C. militaris all isolates (No.4 and No. 10) grew in MEB+Y and MEB, with the maximum mycelial dry weight of 536.3 and 485.1 mg/bottle, respectively.
ชื่อแหล่งทุน: เงินงบประมาณแผ่นดิน
จำนวนเงินตามสัญญารับงานวิจัย: 225,000.00
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2557
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2558
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
ปีที่ได้รับงบประมาณ (ระบุได้มากกว่า 1 ปี): 2558
ประเภทชิ้นงาน: การวิจัยประยุกต์
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยขอนแก่น
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การเพาะเลี้ยงและการผลิตถั่งเฉ้า(Cordyceps spp.) ด้วยไหมอีรี่-ไหมป่าชนิดต่างๆ
มหาวิทยาลัยขอนแก่น
2558
การผลิต คุณค่าทางโภชนาการ และสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพของถั่งเฉ้า (Cordyceps spp.)ที่ได้จากการเพาะเลี้ยงด้วยไหมอีรี่-ไหมป่าชนิดต่างๆ การผลิตไข่ไหมป่าอีรี่และการเลี้ยงไหมป่าอีรี่ในภาคเกษตรกร การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับการเพาะเลี้ยงไหมป่า Cricula trifenestrata พัฒนาการผลิตไข่ไหมป่าอีรี่พันธุ์ขยาย และความพึงพอใจการเลี้ยงไหมป่าอีรี่ในภาคเกษตรกร เปรียบเทียบคุณภาพผ้าไหมป่าอีรี่ทอด้วยเส้นยืนชนิดต่างๆ ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของดักแด้ไหมป่าอีรี่ระยะต่างๆในช่องแข็ง การพัฒนา เทคโนโลยีสะอาดและการใช้ประโยชน์เศษเหลือจากการผลิตไหม ในการผลิตโปรตีนไหม และผลิตภัณฑ์ สู่อุตสาหกรรมชุมชน การผลิตและการแปรรูปไหมอีรี่เป็นอาหารเพื่อจำหน่าย ศึกษาหาวิธีการสาวไหมป่าอีรี่ การใช้ผลพลอยได้จากไหมอีรี่เพื่อพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์สร้างรายได้

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก