สืบค้นงานวิจัย
การพัฒนาเชื้อราไตรโคเดอร์มาปฏิปักษ์ที่ช่วยเพิ่มผลผลิตและลดโรคข้าวเป็นชีวภัณฑ์เชิงพาณิชย์
รศ.ดร.จิระเดช แจ่มสว่าง - มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาเชื้อราไตรโคเดอร์มาปฏิปักษ์ที่ช่วยเพิ่มผลผลิตและลดโรคข้าวเป็นชีวภัณฑ์เชิงพาณิชย์
ชื่อเรื่อง (EN): Development of yield increasing and disease reducing antagonistic Trichoderma for rice as a commercial bioproduct
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: รศ.ดร.จิระเดช แจ่มสว่าง
บทคัดย่อ:             การศึกษาผลของเชื้อราไตรโคเดอร์มา ในการควบคุมโรคข้าวซึ่งเกิดจากเชื้อสาเหตุต่างๆ พบว่าสามารถแยกเชื้อราสาเหตุโรคเมล็ดด่างของข้าว 3 ชนิด ได้แก่เชื้อรา <-span>Helminthosporium oryzae<-span><-i> เชื้อรา <-span>Curvularia lunata<-i> และเชื้อรา <-span>Trichoconis padwickii<-i> และแยกเชื้อราสาเหตุโรคใบจุดสีน้ำตาล  ได้เชื้อรา <-span>H. oryzae<-i>  นำเชื้อราไตรโคเดอร์มาปฏิปักษ์ (<-span>antagonistic <-span>Trichoderma harzianum<-i>) จำนวน <-span>18 <-i>สายพันธุ์ ที่แยกได้จากแหล่งต่าง ๆ และมีคุณสมบัติดีเด่นแตกต่างกัน มาทดสอบประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญของเส้นใยเชื้อโรค เปรียบเทียบกับสายพันธุ์ <-span>CB-Pin-01 (สายพันธุ์การค้า) ด้วยวิธี <-span>dual culture บนอาหารเลี้ยงเชื้อ <-span>potato dextrose agar ในระดับห้องปฏิบัติการ พบว่าเชื้อราไตรโคเดอร์มาทุกสายพันธุ์สามารถยับยั้งการเจริญ และเจริญคลุมทับเส้นใยเชื้อรา <-span>H. oryzae<-i>, C. lunata <-i>และ <-span>T. padwickii<-i> ได้ แต่ยกเว้นสายพันธุ์ <-span>M23 และ <-span>M35 เท่านั้น ที่ยับยั้งเชื้อโรคได้โดยการสร้างสารปฏิชีวนะ แต่ไม่พบการเจริญคลุมทับหรือเจริญคลุมทับเชื้อโรคได้ช้า  คัดเลือกเชื้อราไตรโคเดอร์มาสายพันธุ์ดีมาทดสอบประสิทธิภาพในการส่งเสริม การเจริญเติบโตของกล้าข้าว  และสามารถเจริญครอบครองรากข้าวสายพันธุ์ชัยนาท <-span>1 ที่ ปลูกในเรือนปลูกพืชทดลอง (เรือนตาข่าย) เมื่อข้าวมีอายุครบ 1 เดือน พบว่าเชื้อราไตรโคเดอร์มาทุกสายพันธุ์สามารถเจริญครอบครองรากข้าวได้ โดยสายพันธุ์ที่มีประสิทธิภาพสูงได้แก่สายพันธุ์ 01-52<-span>, M49, A40+A50 No.7, M23, PM9 และ <-span>CB-Pin-01 สามารถ ตรวจพบเชื้อราไตรโคเดอร์มาเจริญจากรากข้าวได้ 85-100 เปอร์เซ็นต์ เมื่อนำเชื้อราไตรโคเดอร์มาสายพันธุ์ดีที่ผ่านการคัดเลือกไปทดสอบกับข้าวที่ ปลูกในวงบ่อซีเมนต์ขนาดเส้น-ผ่านศูนย์กลาง <-span>80 เซนติเมตร<-span> ในเรือนปลูกพืชทดลอง พบว่าทุกกรรมวิธีที่ใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาแช่เมล็ดเพียงอย่างเดียว หรือร่วมกับการพ่นบนต้นข้าว 3 ครั้ง สามารถเพิ่มผลผลิต ลดโรคใบจุดสีน้ำตาล โรคใบขีดสีน้ำตาล และโรคกาบใบเน่า ตลอดจนลดเปอร์เซ็นต์การเกิดโรคเมล็ดด่างลงได้  <-span><-span><-p>

นำเชื้อราไตรโคเดอร์มาสายพันธุ์ 01-52 มาผลิต และพัฒนาเป็นชีวภัณฑ์ชนิดผงแห้ง และชนิดเม็ด (เม็ดเชื้อ) บรรจุซองฟอยล์ (<-span>50 กรัม<-span>-ซอง)  เพื่อใช้แช่เมล็ดพันธุ์ข้าว และบรรจุในถุงชา (<-span>10 กรัม<-span>-ถุง) ที่บรรจุในซองฟอยล์ (<-span>5 ถุง<-span>-ซอง) เพื่อใช้พ่นบนต้นข้าว พบว่าเชื้อราไตรโคเดอร์มาในชีวภัณฑ์ทั้งสองชนิดมีปริมาณลดลงตามระยะเวลาการเก็บรักษาที่เพิ่มขึ้น โดยในกรณีของเชื้อชนิดผง เชื้อยังคงมีชีวิตรอดในชีวภัณฑ์ในปริมาณที่ยอมรับได้  (<-span>105<-sup>-107<-sup>CFU-กรัม) เมื่อครบ 300 วันที่อุณหภูมิห้องเย็น (10 องศาเซลเซียส) และ <-span>90 วัน ที่อุณหภูมิห้องปกติ (<-span>25-30 องศาเซลเซียส<-span>) สำหรับในกรณีของเม็ดเชื้อ พบว่าเชื้อยังคงมีชีวิตรอดในชีวภัณฑ์ปริมาณที่ยอมรับได้ เมื่อเก็บรักษาครบ <-span>330 และ <-span>270 วัน ที่อุณหภูมิห้องเย็นและอุณหภูมิห้องปกติ ตามลำดับ สรุปได้ว่าชีวภัณฑ์ในรูปเม็ด (เม็ดเชื้อ) เป็นรูปแบบที่เหมาะสมที่สุด เนื่องจากมีวิธีการผลิตที่ไม่ยุ่งยาก มีประสิทธิผลสูง และสามารถตรวจพบความมีชีวิตของเชื้อราไตรโคเดอร์มาในชีวภัณฑ์ได้ที่อายุการ เก็บรักษานานกว่าชีวภัณฑ์ชนิดผงแห้ง ทั้งการเก็บในสภาพอุณหภูมิห้องเย็น และสภาพอุณหภูมิห้องปกติ<-span><-span><-p>

การ ทดสอบชีวภัณฑ์เชื้อราไตรโคเดอร์มาชนิดผงแห้งในสภาพเรือนปลูกพืชทดลอง โดยแช่เมล็ดพันธุ์ข้าว และพ่นสปอร์แขวนลอยของชีวภัณฑ์ลงบนต้นข้าวที่ปลูกในวงบ่อซีเมนต์รวม 3 ครั้ง สามารถช่วยเพิ่มผลผลิตของข้าว ลดการเกิดโรคใบจุดสีน้ำตาล โรคใบขีดสีน้ำตาลและโรคเมล็ดด่าง สอดคล้องกับการทดสอบชีวภัณฑ์กับข้าวพันธุ์ชัยนาท 1 ปทุมธานี 1 และสุพรรณบุรี 1  ในสภาพแปลงทดลองทั้งใน จ.นครปฐม จ.ราชบุรี และ จ.กาญจนบุรี ซึ่งพบว่าการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาสามารถช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของต้น ข้าวโดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วยเพิ่มการพัฒนาของระบบรากได้ และจากการขัดสีข้าวเปลือกที่เก็บได้จากแปลงนาทดลองเป็นข้าวกล้องและข้าวสาร พบว่า การใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการขัดสีข้าวเปลือกเป็น ข้าวกล้องชนิดเต็มเม็ดได้มากขึ้น ลดเปอร์เซ็นต์เม็ดข้าวหักลง และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการขัดสีข้าวเปลือกเป็นข้าวสารได้ เมื่อเปรียบเทียบกับกรรมวิธีควบคุมที่แช่เมล็ดด้วยน้ำเปล่า และพ่นต้นข้าวด้วยสารเคมีโพรพิโคนาโซลผสมไดฟิโนโคนาโซล<-span><-p>

การทดสอบวิธีใช้ชีวภัณฑ์เชื้อราไตรโคเดอร์มาชนิดผงแห้ง ร่วมกับการใช้ปุ๋ยเคมีเพียง 50 เปอร์เซ็นต์ของอัตราที่ใช้ตามปกติ โดยการแช่เมล็ดข้าวพันธุ์ชัยนาท 1 ด้วยเชื้อราไตรโคเดอร์มาสายพันธุ์ต่าง ๆ (01-52,<-span> T50, <-span>A40+A50 No.7 และ <-span>CB-Pin-01) ชนิดผงแห้ง ในสภาพเรือนปลูกพืชทดลอง และสายพันธุ์ <-span>01-52 ใน สภาพแปลงนาทดลอง สามารถลดการเกิดโรคใบจุดสีน้ำตาล และโรคเมล็ดด่างลงได้เทียบเท่ากับการใช้ปุ๋ยเคมีอัตราปกติ (100 เปอร์เซ็นต์) และเทียบเท่าหรือดีกว่าการใช้สารเคมีโพรพิโคนาโซลผสมไดฟิโนโคนาโซลพ่นต้น ข้าว นอกจากนี้พบว่าในเมล็ดข้าวกล้องซึ่งได้จากกรรมวิธีที่ใช้เชื้อราไตรโคเดอร์ มามีค่าปริมาณแร่ธาตุฟอสฟอรัสที่สะสมอยู่สูงกว่ากรรมวิธีควบคุมที่แช่เมล็ด ในน้ำเปล่าร่วมกับการใช้ปุ๋ยเคมี 100 เปอร์เซ็นต์<-span><-span><-p>           การทดสอบประสิทธิภาพชีวภัณฑ์เชื้อราไตรโคเดอร์มาร่วมกับกรมการข้าว โดยใช้ชีวภัณฑ์ชนิดเม็ดเบอร์ 1 ผสมน้ำเพื่อใช้แช่เมล็ดข้าวพันธุ์สุพรรณบุรี 3 ร่วมกับใช้ชีวภัณฑ์ชนิดเม็ดเบอร์ 2 ผสมน้ำก่อนพ่นลงบนต้นข้าว 3 หรือ 5 ครั้ง และหว่านชีวภัณฑ์ชนิดเม็ดเบอร์ <-span>3 ร่วมกับปุ๋ยเคมีในบางกรรมวิธี พบว่าสามารถลดการเกิดโรคเมล็ดด่าง โรคใบจุดสีน้ำตาล และเพิ่มน้ำหนักเมล็ดเต็มได้ดี นอกจากนี้ยังพบว่าเชื้อราไตรโคเดอร์มาสามารถเจริญครอบครองรากข้าวได้ดี และสามารถตรวจพบเชื้อราไตรโคเดอร์มาบนใบข้าวได้หลังจากพ่นเชื้อแล้ว 1 ชั่วโมง<-span><-span><-p>

บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
เจ้าของลิขสิทธิ์: สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร
ข้อมูลทรัพยสินทางปัญญา
ประเภทIP ลิขสิทธิ์
รายชื่อสิ่งประดิษฐ์ วีดีทัศน์ โครงการ การพัฒนาเชื้อราไตรโคเดอร์มาปฏิปักษ์ที่ช่วยเพิ่มผลผลิต แลัลดโรคข้าวเป็นชีวภัณฑ์เชิงพาณิชย์
เลขที่คำขอ 295955
วันที่ยื่นคำขอ 2013-08-22 12:00:00
เลขที่ประกาศ
วันที่จดทะเบียน 2016-01-21 12:00:00
เลขที่จดทะเบียน ส.9984
วันที่ประกาศ
สถานะปัจจุบัน เชิงพาณิชย์
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การพัฒนาเชื้อราไตรโคเดอร์มาปฏิปักษ์ที่ช่วยเพิ่มผลผลิตและลดโรคข้าวเป็นชีวภัณฑ์เชิงพาณิชย์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
8 กรกฎาคม 2554
ประสิทธิภาพของชีวภัณฑ์เชื้อราไตรโคเดอร์มาปฏิปักษ์สายพันธุ์ 01-52 ชนิดผงแห้งในการเพิ่มผลผลิต และลดโรคเมล็ดด่างของข้าวในสภาพแปลงนา ประสิทธิภาพของชีวภัณฑ์เชื้อราไตรโคเดอร์มาปฏิปักษ์สายพันธุ์ 01-52 ชนิดเม็ด ในการเพิ่มผลผลิต และลดโรคข้าวพันธุ์ชัยนาท 1 ในแปลงนาที่ไม่ใช้สารเคมีควบคุมศัตรูพืช 2557A17002032 การควบคุมโรคไหม้ของข้าวโดยชีววิธีด้วยเชื้อราไตรโคเดอร์มา โครงการขยายผลเพื่อสำรวจและทดสอบตลาดของผลิตภัณฑ์เชื้อราไตรโคเดอร์มา ข้าวให้พลังงานผสานคุณค่าอาหาร การใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาควบคุมโรคพืชผักของเกษตรกร จังหวัดขอนแก่น 2554A17002253 ศึกษาความอยู่รอดของเชื้อราไตรโคเดอร์มาและเชื้อราไฟท๊อฟธอร่าในสภาพสวนส้มที่มีการจัดการสวน 3 รูปแบบ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวก่ำเพิ่มมูลค่าเพื่อประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ การพัฒนาและทดสอบเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุนการผลิตข้าว ในแหล่งปลูกข้าวภาคใต้ การส่งเสริมการเพิ่มผลผลิตข้าว เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก