สืบค้นงานวิจัย
การศึกษาเปรียบเทียบบทบาทที่กรมส่งเสริมการเกษตรมอบหมายกับบทบาทที่ปฏิบัติจริงของเกษตรตำบล ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
เกียรติศักดิ์ อ่ำบุญธรรม - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: การศึกษาเปรียบเทียบบทบาทที่กรมส่งเสริมการเกษตรมอบหมายกับบทบาทที่ปฏิบัติจริงของเกษตรตำบล ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: เกียรติศักดิ์ อ่ำบุญธรรม
คำสำคัญ:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: วัตถุประสงค์ของการวิจัยเรื่องนี้ เพื่อเปรียบเทียบบทบาทที่กรมส่งเสริมการเกษตรมอบหมาย กับบทบาทที่ปฏิบัติจริงของเกษตรตำบล และศึกษาถึงความสอดคล้องในบทบาททั้งสองกับการยอมรับวิทยาการแผนใหม่ในการปลูกข้าวของเกษตรกรผู้นำ ประชากรตัวอย่างที่ศึกษาเป็นเกษตรกรผู้นำ จำนวน 116 คน จาก 4 จังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คือ ยโสธร ศรีสะเกษ ร้อยเอ็ด และอุบลราชธานี ทั้ง 4 จังหวัดอยู่ในเขตดำเนินงานโครงการรับปรุงระบบส่งเสริมการเกษตรของประเทศไทย โครงการนี้มีระยะเวลารวม 5 ปี (2520-2524) ผู้วิจัยได้คัดเลือกตำบลตัวอย่าง 21 ตำบล โดยวิธีการสุ่มอย่างมีระบบจากจำนวนตำบลทั้งหมด 508 ตำบล ใน 4 จังหวัดข้างต้น เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ โดยการคำนวณค่าร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ค่าไคสว์แควร์ และค่าสหสัมพันธ์อันดับของสเปียร์แมน ผลการศึกษาเกษตรกรผู้นำ ทำให้ทราบว่า บทบาทที่กรมส่งเสริมการเกษตรมอบหมายให้เกษตรตำบลปฏิบัติ 6 บทบาทนั้นมีเพียง 2 บทบาทที่เกษตรตำบลปฏิบัติตาม คือ บทบาทการเยี่ยมเยียนเกษตรกร และบทบาทการช่วยเหลือแนะนำเกี่ยวกับการใช้เมล็ดพันธุ์ ปุ๋ย และยาเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชในขณะที่บทบาทอีก 4 บทบาท เกษตรตำบลปฏิบัติแล้ว แต่ยังไม่บรรลุถึงเกณฑ์ที่ตั้งไว้ขั้นต่ำ ร้อยละ 75 แต่เพื่อที่จะให้เห็นแนวโน้มของความสัมพันธ์ระหว่างความสอดคล้องของการปฏิบัติบทบาทที่ได้รับมอบหมาย กับการยอมรับวิทยาการแผนใหม่ ผู้วิจัยจึงได้กำหนดหลักเกณฑ์ขึ้นใหม่ว่า เกษตรตำบลปฏิบัติตามบทบาทที่ได้รับมอบหมายนั้นจะต้องปฏิบัติตามบทบาทที่กรมส่งเสริมการเกษตรมอบหมายอย่างน้อย 3 บทบาท จากบทบาททั้งหมด 6 บทบาท หรือร้อยละ 50 หลักเกณฑ์ใหม่นี้สามารถแบ่งตำบลออกเป็น 2 ประเภท คือ ตำบลประเภท ก. หมายถึง ตำบลที่ปฏิบัติตามบทบาทที่มอบหมายมี 13 ตำบล และตำบลประเภท ข. หมายถึง ตำบลที่ไม่ปฏิบัติตามมี 8 ตำบล ผลการศึกษาการยอมรับวิทยาการแผนใหม่ในการปลูกข้าว ปรากฎว่าในปี 2520 และปี 2521เกษตรกรผู้นำในตำบลประเภท ก. มีการยอมรับมากกว่าเกษตรกรผู้นำในตำบลประเภท ข. อย่างมีน้ยสำคัญทางสถิติในเรื่อง การแบ่งแปลงกล้าเป็นแปลงเล็ก การปักดำเป็นแถว และการคลุกเมล็ดพันธุ์ข้าวด้วยยาเคมีแต่ในปี 2520 เกษตรกรผู้นำในตำบลประเภท ข. มีการยอมรับในเรื่องการป้องกันกำจัดแมลงศัตรูข้าวมากกว่าความรู้เกี่ยวกับการปลูกข้าวในแผนใหม่นั้น เกษตรกรผู้นำในตำบลประเภท ก. มีความรู้มากกว่าเกษตรกรผู้นำในตำบลประเภท ข. ในเรื่องชื่อพันธุ์ข้าวส่งเสริม ผลผลิตข้าวพันธุ์ส่งเสริม การทำแปลงกล้าแปลงเล็กทำให้การดูแลง่าย การคลุกเมล็ดพันธุ์ข้าวด้วยยาเคมี และประสิทธิภาพของยาเคมีนั้นไม่ได้ขึ้นกับกลิ่มของยา เกษตรกรผู้นำในตำบลประเภท ก. ได้รับความรู้จากเกษตรตำบลมากกว่าเกษตรกร ผู้นำในตำบลประเภท ข. สำหรับแหล่งความรู้ที่รองลงมาจากเกษตรตำบลนั้นพบว่า เกษตรกรผู้นำในตำบลทั้ง 2 ประเภทนั้นได้รับความรู้จากแหล่งความรู้ที่อื่น โดยส่วนรวมคล้ายคลึงกัน จากผลการวิจัยที่กล่าวมาแล้วนี้แสดงให้เห็นว่าเกษตรตำบลปฏิบัติบทบาทตามที่กรมส่งเสริมการเกษตรมอบหมายให้ทำนั้นยังไม่เต็มที่ แต่อย่างไรก็ตามมีแนวโน้มที่ชี้ให้ทราบว่าเกษตรตำบลที่ได้ปฏิบัติตามบทบาทที่มอบหมาย จะเป็นแหล่งความรู้ทางการเกษตรให้เกษตรกรผู้นำและมีผลทำให้เกษตรกรผู้นำมีการยอมรับ และมีความรู้มากกว่าเกษตรกรผู้นำที่อยู่ในตำบลที่มีเกษตรตำบลที่มีการปฏิบัติตามบทบาทน้อยกว่า
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2520
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2524
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
พื้นที่ดำเนินการ: ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การศึกษาเปรียบเทียบบทบาทที่กรมส่งเสริมการเกษตรมอบหมายกับบทบาทที่ปฏิบัติจริงของเกษตรตำบล ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
กรมส่งเสริมการเกษตร
2524
ความต้องการและปัญหาในการใช้สื่อเพื่อส่งเสริมการเกษตรของเกษตรตำบลในเขตภาคตะวันออก ความจำเป็นในการฝึกอบรมผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการสังกัดกรมส่งเสริมการเกษตรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ความคิดเห็นของเกษตรตำบลที่มีต่อการปฏิบัติงานของเกษตรอำเภอในภาคตะวันออก การศึกษาความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของกรมส่งเสริมการเกษตร การศึกษาเปรียบเทียบขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของเกษตรตำบลในพื้นที่ชลประทานและพื้นที่อาศัยน้ำฝน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การแสดงออกในบทบาทนิเทศงานส่งเสริมการเกษตรของเกษตรอำเภอตามการรับรู้ของเกษตรตำบลในจังหวัดเชียงใหม่ ความคิดเห็นเกี่ยวกับบทบาทที่คาดหวังและบทบาทที่ปฏิบัติจริงของสมาชิกกลุ่มเกษตรกรในภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ บทบาทของที่ปรึกษายุวเกษตรกรในภาคตะวันออก การศึกษาการประสานงานส่งเสริมการเกษตรระหว่างกรมส่งเสริมการเกษตรและสถาบันอุดมศึกษา การดำเนินงานกลุ่มส่งเสริมอาชีพการเกษตรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก