สืบค้นงานวิจัย
โครงการวิจัยและพัฒนาการจัดทำฐานข้อมูลการผลิตข้าวอย่างมีส่วนร่วมของเกษตรกรโครงการภูฟ้าพัฒนา ตำบลภูฟ้า อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน
ชยาภรณ์ สิทธิสันติ์ - มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
ชื่อเรื่อง: โครงการวิจัยและพัฒนาการจัดทำฐานข้อมูลการผลิตข้าวอย่างมีส่วนร่วมของเกษตรกรโครงการภูฟ้าพัฒนา ตำบลภูฟ้า อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน
ชื่อเรื่อง (EN): Rice Production Database with Participation of Farmers of Phufa Development Center, Phufa, Boklua, Nan Province Research and Development Project.
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ชยาภรณ์ สิทธิสันติ์
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: โครงการศึกษาและพัฒนาการจัดทำฐานข้อมูลการผลิตข้าวอย่างมีส่วนร่วมของเกษตรกรโครงการภูฟ้าพัฒนา ตำบลภูฟ้า อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินสถานภาพการผลิตข้าวปี 2553 ของเกษตรกรโครงการภูฟ้าพัฒนาจำนวน 673 ครัวเรือน โดยการสำรวจพื้นที่ถือครองและพื้นที่ปลูกข้าว ภายใต้เงื่อนไขปริมาณผลผลิตที่แตกต่างกัน ผลการศึกษา พบว่า ตำบลภูฟ้าประกอบด้วย 6 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านนากอก บ้านห่างทางหลวง บ้านผาสุก บ้านสบมาง บ้านห้วยล้อมและบ้านห้วยลอย มีประชากร 2,933 คน 673 ครัวเรือน มีพื้นที่ทำกิน 21,976 ไร่ แบ่งเป็นไร่หมุนเวียน 19,875 ไร่ พื้นที่นา 619 ไร่และพื้นที่สวน 257 ไร่ ในปี 2553 ใช้พื้นที่ปลูกข้าวไร่ 2864.9 ไร่และพื้นที่ปลูกข้าวนา 527.7 ไร่ รวมทั้งสิ้น 3,392.67 ไร่ สามารถผลิตข้าวไร่ได้ 368,170 กิโลกรัม เฉลี่ย 128.5 กิโลกรัม/ไร่ ข้าวนาได้ 393.9 กิโลกรัม/ไร่ รวมทั้งสิ้น 439,618 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับความต้องบริโภคของประชากรทั้งตำบล 2,933 คนจะต้องกินข้าว 733,250 กิโลกรัม ทำให้ผลผลิตข้าวไม่เพียงพอต่อความต้องการบริโภค ยังขาดข้าว 354,736.2 กิโลกรัม คิดเป็นค่าเฉลี่ยครัวเรือนละ 527.1 กิโลกรัมหรือขาดข้าวเป็นเวลา 5 เดือน หากพิจารณาเป็นรายครัวเรือน พบว่า มี 226 ครัวเรือนที่ผลิตข้าวได้เพียงพอต่อความต้องการและมีข้าวเหลือบริโภค 121,033 กิโลกรัม คิดเป็นค่าเฉลี่ยครัวเรือนละ 535.5 กิโลกรัมหรือมีข้าวเหลือบริโภคจำนวน 2 เดือนและมี 447 ครัวเรือนที่ผลิตข้าวไม่เพียงพอต่อความต้องการ ยังขาดข้าวอีก 251,810 กิโลกรัม คิดเป็นค่าเฉลี่ยครัวเรือนละ 563.3 กิโลกรัมหรือขาดข้าวเป็นเวลา 4 เดือน ภายใต้เงื่อนไขที่ 1 ถ้าเกษตรกรผลิตข้าวไร่ได้ 120 กิโลกรัม/ไร่และข้าวนาได้ 400 กิโลกรัม/ไร่ ตามวิธีการปกติของเกษตรกร ผลผลิตก็ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการบริโภค ยังขาดข้าว 529,050.1 กิโลกรัม คิดเป็นค่าเฉลี่ยครัวเรือนละ 786.1 กิโลกรัมหรือขาดข้าวบริโภคเป็นเวลา 9 เดือน หากพิจารณาเป็นรายครัวเรือน พบว่า มี 219 ครัวเรือนที่ผลิตข้าวเพียงพอต่อความต้องการบริโภค ภายใต้เงื่อนไขที่ 2 ถ้าเกษตรกรผลิตข้าวไร่ได้ 200 กิโลกรัม/ไร่และข้าวนาได้ 400 กิโลกรัม/ไร่ เมื่อมีการถ่ายทอดองค์ความรู้การจัดการเขตกรรมและการติดตามสนับสนุนทางวิชาการตลอดฤดูกาลปลูก ผลผลิตก็ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการบริโภค ยังขาดข้าว 476,102.6 กิโลกรัม คิดเป็นค่าเฉลี่ยครัวเรือนละ 707.4 กิโลกรัมหรือขาดข้าวบริโภคเป็นเวลา 8 เดือนหากพิจารณาเป็นรายครัวเรือน พบว่า มี 309 ครัวเรือนที่ผลิตข้าวเพียงพอต่อความต้องการบริโภค ภายใต้เงื่อนไขที่ 3 ถ้าเกษตรกรผลิตข้าวไร่ได้ 400 กิโลกรัม/ไร่และข้าวนาได้ 400 กิโลกรัม/ไร่ เมื่อมีการถ่ายทอดองค์ความรู้การจัดการเขตกรรม การติดตามสนับสนุนทางวิชาการตลอดฤดูปลูกและการใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวที่ได้รับการคัดเลือกพันธุ์ ผลผลิตก็ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการบริโภค ยังขาดข้าว 347,733.2 กิโลกรัม คิดเป็นค่าเฉลี่ยครัวเรือนละ 516.7 กิโลกรัมหรือขาดข้าวบริโภคเป็นเวลา 6 เดือน หากพิจารณาเป็นรายครัวเรือน พบว่า มี 370 ครัวเรือนที่ผลิตข้าวเพียงพอต่อความต้องการบริโภค จากการสมมติทั้ง 3 เงื่อนไข พบว่า การเพิ่มปริมาณผลผลิตต่อหน่วยพื้นที่สามารถลดปัญหาหรือทำให้ความรุนแรงของปัญหาการขาดแคลนในภาพรวมของตำบลให้บรรเทาลงได้ หากพิจารณาลงไปในรายครัวเรือนแล้ว พบว่า จำนวนครัวเรือนที่ขาดข้าวยังมีมากหรือจำนวนครัวเรือนที่มีข้าวเพียงพอต่อความต้องการไม่ได้มีจำนวนเพิ่มขึ้นมากนัก ทั้งนี้เนื่องจากปัญหาที่สำคัญ คือ พื้นที่ทำกินที่มีจำกัด โดยครัวเรือนที่มีพื้นที่ทำกินและสามารถจัดการกับแรงงานได้นั้นเท่ากับว่ามีศักยภาพในระดับหนึ่งที่สามารถเพิ่มผลผลิตต่อหน่วยพื้นที่ได้ หากเป็นครัวเรือนที่มีปัญหาเรื่องที่ดินทำกินจะไม่สามารถทำได้ ซึ่งการที่เกษตรกรจะผลิตข้าวให้เพียงพอต่อความต้องการบริโภคภายใต้ข้อจำกัดของพื้นที่หรือการไม่สามารถขยายพื้นที่ปลูกได้แล้วนั้น เกษตรกรต้องเพิ่มศักยภาพการผลิตข้าวต่อหน่วยพื้นที่ให้เป็น 400 กิโลกรัมต่อไร่ทั้งข้าวไร่และข้าวนา การจะบรรลุเป้าหมายดังกล่าวต้องใช้ปัจจัยการผลิตเพิ่มขึ้นด้วย ไม่ว่าจะเป็นเงินทุนและแรงงาน รวมถึงการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม ในอนาคตแนวโน้มการผลิตข้าวลดลง เนื่องจากสาเหตุหลายประการ เช่น การถูกจำกัดพื้นที่ส่งผลให้รูปแบบการจัดการแปลงเปลี่ยนไป สภาพภูมิประเทศที่สูงชัน มีปัญหาเรื่องระบบชลประทาน ระบบดินและภัยธรรมชาติ โรค แมลง วัชพืชและสัตว์ศัตรูพืช รวมถึงแรงงานภาคการเกษตรที่ลดลง โดยเกษตรกรกรส่วนใหญ่แก้ปัญหาด้วยการไปทำงานรับจ้างเพื่อหาเงินมาซื้อข้าว ประกอบกับหารายได้เสริมอื่นๆ รวมถึงระบบการเกื้อกูลกันในชุมชน ดังนั้นการแก้ปัญหาควรมองในทุกมิติ กล่าวคือ เชิงการจัดการพื้นที่ควรเน้นการส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยีที่เหมาะสมเพื่อเพิ่มผลผลิตต่อหน่วยพื้นที่ การเพิ่มผลผลิตเพียงอย่างเดียวไม่สามารถทำให้เกษตรกรผลิตข้าวได้เพียงพอต่อ ด้วยข้อจำกัดของสภาพพื้นที่ ดังนั้นควรส่งเสริมอาชีพให้เกษตรกรมีราย เป็นการแก้ปัญหาผลผลิตข้าวไม่เพียงพอและเป็นการป้องกันการถางพื้นที่ป่าเพื่อปลูกพืชพาณิชย์และอาจกลายเป็นพืชเชิงเดี่ยวในที่สุด นอกจากนี้ควรนำจุดแข็งของชุมชนที่มีความเกื้อกูลกันมาเป็นแรงหนุนเสริมในการขับเคลื่อนสำหรับแก้ไขปัญหาและนำไปสู่ความมั่นคงด้านการบริโภคข้าวให้เพียงพอต่อความต้องการของชุมชนต่อไป
บทคัดย่อ (EN): No information found from agency.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2553-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2554-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการวิจัยและพัฒนาการจัดทำฐานข้อมูลการผลิตข้าวอย่างมีส่วนร่วมของเกษตรกรโครงการภูฟ้าพัฒนา ตำบลภูฟ้า อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
30 กันยายน 2554
การพัฒนาโครงร่างการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน : เอกสารประกอบการประชุมเชิงปฏิบัติการ การวิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าวโดยใช้เทคโนโลยีชีวภาพภายใต้ความร่วมมือระหว่างกรมการข้าวกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ระยะที่ 2 การพัฒนากระบวนการต้นแบบในการทดสอบพันธุ์ข้าวลูกผสม การบริหารจัดการชลประทานโดยเกษตรกรมีส่วนร่วม สภาพการผลิตข้าวอินทรีย์ของเกษตรกรในจังหวัดหนองคาย สภาพการผลิตข้าวอินทรีย์ของเกษตรกรอำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ โครงการ พัฒนาเยาวชนบนพื้นที่สูง โครงการวิจัยและพัฒนาการเพาะปลูกและแปรรูปผลิตภัณฑ์จากเฮมพ์ โครงการย่อยที่ 4: การสร้างเครือข่ายวิจัยและพัฒนาเฮมพ์ การบริหารจัดการชลประทานโดยเกษตรกรมีส่วนร่วม ชุด 1 สภาพการผลิตข้าวของเกษตรกรในอำเภอประจักษ์ศิลปาคม จังหวัดอุดรธานี

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก