สืบค้นงานวิจัย
ผลการดำเนินงานของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรจังหวัดอุดรธานี
สุขเกษม ดาราธรรม - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: ผลการดำเนินงานของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรจังหวัดอุดรธานี
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สุขเกษม ดาราธรรม
คำสำคัญ:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะทั่วไปของสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร กิจกรรมการผลิตด้านการเกษตร สภาพการผลิตผลิตภัณฑ์แปรรูปและถนอมอาหาร ตลอดจนปัญหาและความต้องการของสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร เกี่ยวกับการแปรรูปถนอมอาหาร ประชากรที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ สมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรในจังหวัดอุดรธานีที่ได้รับการจัดชั้นในระดับดีในพื้นที่ 20 อำเภอ/กิ่งอำเภอ จำนวน 82 กลุ่ม สมาชิก 3,807 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยมีขั้นตอนคือ แบ่งกลุ่มออกเป็น 4 กลุ่มตามสภาพภูมิศาสตร์ สุ่มตัวอย่างแบบง่าย (simple random sampling) โดยจับฉลากกลุ่มอำเภอๆ ละ 2 อำเภอ รวมจำนวน 8 อำเภอ 29 กลุ่ม สมาชิก 1,788 คน สุ่มตัวอย่างแบบง่ายโดยใช้ตารางสุ่ม (random numbers) ได้จำนวนตัวอย่าง 95 คนเก็บรวบรวมโดยใช้แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละและค่าเฉลี่ยเลขคณิต ผลการศึกษาพบว่า สมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรส่วนมากจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ร้อยละ 65.8 อายุเฉลี่ย 44.4 ปี สมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 5 คน มีอาชีพหลักคือ การทำนาร้อยละ 43.0 อาชีพเสริมคือการแปรรูปและถนอมอาหารร้อยละ 32.9 มีรายได้ต่อปีในครัวเรือนเฉลี่ย 84,806.50 บาท รายจ่ายต่อปีในครัวเรือนเฉลี่ย 58,520.40 บาท กิจกรรมการผลิตทางการเกษตรในรอบปีที่ผ่านมา (ปี 2541) ประกอบด้วยกิจกรรมด้านพืชส่วนมากร้อยละ 83.5 ปลูกข้าว กิจกรรมด้านสัตว์ส่วนมากร้อยละ 65.8 เลี้ยงเป็ดและไก่ ด้านประมงร้อยละ 35.7 เลี้ยงปลาชนิดต่าง ๆ มีผลผลิตการเกษตรที่มีเพียงพอในการแปรรูปและถนอมอาหารร้อยละ 53.07 ส่วนอีกร้อยละ 46.93 ยังผลิตได้ไม่เพียงพอ ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการแปรรูปและถนอมอาหารในรอบปีที่ผ่านมาส่วนใหญ่เป็นผลิตภัณฑ์จากกล้วยร้อยละ 78.4 รองลงมา คือ จากผักร้อยละ 54.4 และจากมะม่วงร้อยละ 50.6 แหล่งที่มาของวัตถุดิบสำหรับการแปรรูปส่วนใหญ่ร้อยละ 69.6 ซื้อมาบางส่วนและผลิตเองบางส่วน ซึ่งมีลักษณะเหมือนกัน สำหรับการถนอมอาหารคิดเป็นร้อยละ 45.6 สมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรส่วนใหญ่ร้อยละ 71.0 ผลิตภัณฑ์ในด้านการแปรรูปเพื่อการบริโภคและจำหน่าย ซึ่งมีลักษณะเหมือนกันกับการถนอมอาหารคิดเป็นร้อยละ 68.4 ส่วนมากร้อยละ 96.2 จำหน่ายผลิตภัณฑ์ในระดับชุมชนและหมู่บ้าน โดยจำหน่ายผลิตภัณฑ์ในร้านค้าร้อยละ 59.5 ที่เหลืออีกร้อยละ 40.5 จำหน่ายในห้างสรรพสินค้ารวบรวมผลิตภัณฑ์ไปจำหน่ายโดยกลุ่มเป็นผู้รวบรวมร้อยละ 59.5 สำหรับการพัฒนาผลิตภัณฑ์นั้น มีการปรับปรุงคุณภาพผลิตภัณฑ์ในด้านความสะอาดร้อยละ 91.1 มีการกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์ร้อยละ 81.0 มีการตรวจสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์ร้อยละ 78.5 และการปรับปรุงบรรจุภัณฑ์ร้อยละ 86.1 ตลอดจนมีการประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ร้อยละ 81.0 สำหรับปัญหาในหารผลิตภัณฑ์ในระดับมากคือ ปัญหาเกี่ยวกับการกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์ การจำหน่าย และการตรวจสอบคุณภาพคิดเป็นร้อยละ 49.4, 46.8 และ 34.2 ตามลำดับ สมาชิกมีความต้องการวัตถุดิบเกษตรจากพืชมากที่สุดถึงร้อยละ 83.5 มีความต้องการความรู้ในการแปรรูปและถนอมอาหารร้อยละ 96.2 ต้องการความรู้ด้านการตลาด การปรับปรุงคุณภาพสินค้า และการบรรจุภัณฑ์ คิดเป็นร้อยละ88.7,78.5, และ 67.1 ตามลำดับ ผู้ศึกษามีข้อเสนอแนะคือเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรทั้งระดับจังหวัด อำเภอ และตำบล ควรร่วมกันวางแผนเพื่อพัฒนาการดำเนินงานของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรเกี่ยวกับการกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์การจำหน่าย การตรวจสอบคุณภาพ การพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ ส่งเสริมการผลิตวัตถุดิบเกษตรให้เพียงพอในการแปรรูปและถนอมอาหาร วางแผนฝึกอบรมแก่สมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรให้มีความรู้เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติที่ดีขึ้น การศึกษาครั้งต่อไปควรศึกษาเกี่ยวกับผลการดำเนินงานของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรด้านการแปรรูปและถนอมอาหาร โดยเน้นศึกษาเฉพาะปัญหาที่อยู่ในระดับมากเท่านั้น
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2541
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2545
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ผลการดำเนินงานของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรจังหวัดอุดรธานี
กรมส่งเสริมการเกษตร
2545
การดำเนินงานกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรจังหวัดศรีสะเกษ การดำเนินงานของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรสู่วิสาหกิจชุมชนในพื้นที่เขตที่ 1 ความพึงพอใจในการดำเนินงานของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรในจังหวัดพังงา ปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินงานกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรจังหวัดชัยนาท ปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินงานกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรในจังหวัดลำปาง ศึกษาผลการดำเนินงานของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร อำเภอดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร การดำเนินงานกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรที่ประสบความสำเร็จของจังหวัดตราด การดำเนินงานโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรจังหวัดอ่างทอง การดำเนินงานโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรในจังหวัดปทุมธานี ผลการดำเนินงานของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรต่ออำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก