สืบค้นงานวิจัย
การศึกษาการอบแห้งเมล็ดพริกไทยด้วยเครื่องอบแห้งแบบฟลูอิดไดซ์
วีรวงศ์ พงษ์หิรัญเจริญ - มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
ชื่อเรื่อง: การศึกษาการอบแห้งเมล็ดพริกไทยด้วยเครื่องอบแห้งแบบฟลูอิดไดซ์
ชื่อเรื่อง (EN): Study of drying of pepper seeds with fluidized bed dryer
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: วีรวงศ์ พงษ์หิรัญเจริญ
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Werawong Phonghiranjaroen
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาวะที่เหมาะสมสำหรับการอบแห้งพริกไทยดำด้วยเครื่อง อบแห้งฟลูอิดไดซ์เบดแบบสั่นสะเทือนเปรียบเทียบกับการอบแห้งด้วยเครื่องอบแห้งลมร้อนแบบถาด โดย การอบแห้งเมล็ดพริกไทยด้วยเครื่องอบแห้งฟลูอิดไดซ์เบดแบบสั่นสะเทือน ศึกษาอัตราการป้อนพริกไทย และอุณหภูมิที่ใช้ในการอบแห้งที่มีผลต่อปริมาณความขึ้นของผลิตภัณฑ์ ริมาณน้ำมันหอมระเหย และ ปริมาณสารไพเพอรีน ทั้งนี้ได้ทำการทดลองอบแห้งพริกไทยที่อุณหภูมิ 50, 60 และ 70 องศาเชลเซียส ด้วยอัตราการป้อน 66, 93 และ 176 กิโลกรัมต่อชั่วโมง จากผลการทดลอง พบว่า อุณหภูมิอบแห้งและ อัตราการป้อนของเมล็ดพริกไทยที่แต่ละระดับมีผลต่อคุณภาพของผลิตภัณฑ์หลังอบแห้ง โดยการอบแห้งที่ อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียส อัตราการป้อน 93 กิโลกรัมต่อชั่วโมง ให้ผลิตภัณฑ์พริกไทยหลังอบแห้งมีการ สูญเสียน้ำมันหอมระเหยและสารไพเพอรีนน้อยที่สุด อีกทั้งที่สภาวะดังกล่าวสามารถอบแห้งเมล็ดพริกไทย ให้ได้ความชื้นต่ำกว่าร้อยละ 12 ฐานเปียก ภายในระยะเวลาที่น้อยกว่าสภาวะอื่นจากนั้นทำการทดลอง อบแห้งพริกไทยที่อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นอุณหภูมิที่เหมาะสมจากการทดลองอบแห้งด้วยเครื่อง อบแห้งฟลูอิดไดซ์เบดแบบสั่นสะเทือน มาทำการทดลองเปรียบเทียบกับการอบแห้งด้วยเครื่องอบแห้งลม ร้อนแบบถาด พบว่า การลดความชื้นในเมล็ดพริกไทยให้ต่ำกว่าร้อยละ 12 ฐานเปียก ต้องใช้ระยะเวลาใน การอบแห้งมากกว่า ส่วนปริมาณน้ำมันหอมระเหยและสารไพเพอรีนในเมล็ดพริกไทยหลังอบแห้ง พบว่า การอบแห้งแบบถาดทำให้สารไพเพอรีนในพริกไทยเกิดการสูญเสียมากกว่า แต่สามารถรักษาปริมาณของ น้ำมันหอมระเหยได้ดีกว่า และเมื่อทำการประเมิต้นทุนการผลิตเมล็ดพริกไทยอบแห้งของการอบแห้งทั้ง สองแบบ พบว่า การอบแห้งด้วยเครื่องอบแห้งฟลูอิดไดซ์เบดแบบสั่นสะเทือน มีต้นทุนการผลิตต่ำกว่าการ อบแห้งแบบถาด
บทคัดย่อ (EN): This research aimed to study the optimum condition for drying black pepper seeds by vibro-fluidized bed dryer which was compared with drying by tray dryer. The studied parameters were the feed rate and drying temperature. The quality of black pepper seeds was presented in terms of the moisture content, volatile oil content and piperine content. The drying temperature was varied at 50, 60 and 70 "C, with feed rate of 66, 93 and 176 kilograms per hour (kg/h).The results showed that both feed rate and drying temperature affected the moisture content, volatile oil content and piperine content. The condition that the loss of volatile oil and piperine occurred less than other condition was at the temperature of 60*C and the feed rate of 93 kg/h. Moreover, at this condition the moisture content of the pepper was less than 12% wet basis with drying period which was better than others. Therefore, the drying temperature of 60C with the feed rate of 93 kg/h is the optimum condition for drying black pepper seeds by vibro- fluidized bed dryer. Then, the drying of black pepper seeds was tested at temperature of 60 C by tray dryer. The results showed that moisture content of pepper was less than 12% wet basis with drying period which was longer than vibro-fluidized bed dryer. In addition, loss of piperine in dried black pepper seeds was more than, but tray dryer could conserve volatile oil in them better than vibro-fluidized bed dryer. The evaluation of production cost in black pepper seeds drying, it was found that production cost of vibro- fluidized bed dryer had lower than of tray dryer.
ชื่อแหล่งทุน: เงินงบประมาณแผ่นดิน
จำนวนเงินตามสัญญารับงานวิจัย: 466,200.00
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2554-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2555-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
ปีที่ได้รับงบประมาณ (ระบุได้มากกว่า 1 ปี): 2555
ประเภทชิ้นงาน: การวิจัยประยุกต์
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การศึกษาการอบแห้งเมล็ดพริกไทยด้วยเครื่องอบแห้งแบบฟลูอิดไดซ์
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
30 กันยายน 2555
วิสาสาเหตุของโรคพริกไทยในประเทศไทย สมุนไพรช่วยเสริมภูมิคุ้มกัน: พริกไทย การศึกษาสภาวะที่เหมาะสมสำหรับการอบแห้งเห็ดโคน การศึกษาเบื้องต้นการอบแห้งเมล็ดข้าวโพดด้วยไมโครเวฟ การวิจัยและพัฒนาเครื่องต้นแบบเครื่องระเหยสารภายใต้ระบบสุญญากาศ และเครื่องอบแห้งด้วยพลังงานไมโครเวฟสำหรับการอบแห้งและสกัดสารจากพืชสมุนไพรบนพื้นที่สูง ผลของความแก่อ่อนและสภาวะการอบแห้งด้วยตู้อบแห้งแบบสุญญากาศ ที่มีต่อคุณภาพของส้มแขกแห้ง โครงการวิจัยทดสอบและพัฒนาเครื่องอบแห้งผลไม้สำหรับอบเนื้อลำไย การคลายเส้นตามธรรมชาติในใบไม้ยางพารารูปที่ผ่านการอบแห้ง การพัฒนาแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ของกระบวนการอบแห้งด้วยตู้อบแห้งแบบลมร้อน: กรณีศึกษา :ปลาบดแผ่นอบแห้ง เทคนิคการอบแห้งที่เหมาะสมสำหรับการผลิตชากระเจี๊ยบเพื่อสุขภาพ

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก