สืบค้นงานวิจัย
การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีเมล็ดพันธุ์ข้าว
อัญชลี ประเสริฐศักดิ์, อรสา วงษ์เกษม, พรทิพย์ ถาวงค์, วิไล ปาละวิสุทธิ์ - กรมการข้าว
ชื่อเรื่อง: การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีเมล็ดพันธุ์ข้าว
ชื่อเรื่อง (EN): Research and Development on Rice Seed Technology
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การประเมินคุณภาพเมล็ดพันธุ์ของแหล่งผลิตและแหล่งจําหน่ายเมล็ดพันธุ์พันธุ์ข้าวที่นิยมผลิต และจําหน่าย ในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่พันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 กข6 ส่วนใหญ่ จําหน่ายโดยสหกรณ์การเกษตร คุณภาพเมล็ดพันธุ์ข้าวผ่านมาตรฐานชั้นพันธุ์จําหน่าย 17-89% ของตัวอย่างทั้งหมด ในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง ตะวันออก และตะวันตก พบความ หลากหลายของพันธุ์ที่ผลิตและจําหน่ายมากโดยเฉพาะพันธุ์ที่ไม่ได้รับการรับรอง คุณภาพเมล็ดพันธุ์ข้าว ผ่านมาตรฐานชั้นพันธุ์จําหน่าย 3-33% ของตัวอย่างทั้งหมด ปัญหาของผู้ผลิตคือ เมล็ดพันธุ์ตั้งต้นที่ดี หาไม่ได้ผลิตแล้วไม่ตรงความต้องการ ผู้จําหน่ายไม่รับซื้อ หรือให้ราคาต่ําขอให้ส่วนราชการเข้ามาให้ คําแนะนําในการผลิตและหาเมล็ดพันธุ์ดีมาเป็นพันธุ์ตั้งต้นให้เพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือของแหล่งผลิต ปัญหาของผู้จําหน่าย คือ เมล็ดพันธุ์ที่มีไม่ตรงกับความต้องการพันธุ์ของเกษตรกร ทําให้มีเมล็ดพันธุ์ เหลือค้างมีปัญหาเสื่อมความงอก ส่วนภาคใต้เกษตรกรนิยมผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวเล็บนกปัตตานีชัยนาท 1 และพันธุ์พื้นเมือง จังหวัด ตรัง กระบี่ พังงา ไม่มีแหล่งผลิตและแหล่งจําหน่าย การประเมินคุณภาพเมล็ดพันธุ์ข้าวของเกษตรกรในพื้นที่ 11 จังหวัดในเขตภาคกลาง ตะวันออกและตะวันตก จํานวน 902 ตัวอย่าง พบความหลากหลายของพันธุ์ข้าวที่ปลูก เกษตรกรนิยม ปลูกพันธุ์ข้าวไม่ไวต่อช่วงแสง เช่น พันธุ์พิษณุโลก 2 สุพรรณบุรี 1 ปทุมธานี 1 ซึ่งแตกต่างกันแต่ละ พื้นที่ ส่วนพันธุ์ข้าวที่ไม่ได้ผ่านการรับรองพันธุ์ที่นิยมปลูก ได้แก่ พันธุ์โอซี 6 ราชินี โพธิ์ทอง เบอร์ 17 พวงทอง ปลูกโดยวิธีหว่านน้ําตมและใช้เมล็ดพันธุ์ในอัตราสูง แหล่งเมล็ดพันธุ์ที่เกษตรกรใช้ส่วนใหญ่ซื้อ จากร้านค้าเมล็ดพันธุ์ในท้องถิ่น เพื่อนบ้าน และเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ไว้ปลูกเอง ด้านคุณภาพเมล็ดพันธุ์ ข้าวผ่านมาตรฐานชั้นพันธุ์จําหน่าย 7-49% ของตัวอย่างทั้งหมด สาเหตุที่ไม่ผ่านมาตรฐานส่วนใหญ่ เนื่องจาก มีข้าวแดงและข้าวพันธุ์อ่ืนปน พันธุ์ที่นิยมปลูกในพื้นที่ 4 จังหวัดภาคเหนือตอนล่าง ได้แก่ พันธุ์สุพรรณบุรี 3 ชัยนาท 1 พิษณุโลก 2 และข้าวอายุสั้น ได้แก่ราชินี พวงเงิน พวงทอง 75 วัน พันธุ์ ที่นิยมปลูกในพื้นที่ 13 จังหวัดภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ พันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 กข6 คุณภาพเมล็ดพันธุ์ข้าวผ่านมาตรฐานชั้นพันธุ์จําหน่าย 11-43% ของตัวอย่างทั้งหมด พันธุ์ที่ นิยมปลูกใน 6 จังหวัดภาคใต้ได้แก่ พันธุ์เล็บนกปัตตานีชัยนาท 1 คุณภาพเมล็ดพันธุ์ผ่านมาตรฐานชั้น พันธุ์จําหน่าย 6-11% ของตัวอย่างทั้งหมด การติดตามและประเมินคุณภาพเมล็ดพันธุ์ข้าวหลังจากการ ใช้เมล็ดพันธุ์ดีของ 14 ศูนย์วิจัยข้าว จํานวนมากกว่า 455 ตัวอย่าง คุณภาพเมล็ดพันธุ์ข้าวผ่าน มาตรฐานเมล็ดพันธุ์ชั้นพันธุ์จําหน่าย มากกว่า 50% ความแปรปรวนที่เกิดขึ้นในข้าวเหนียวและข้าวหอม ส่วนใหญ่จะเป็นลักษณะด้านปริมาณ เช่น ความยาวของลิ้นใบ เส้นผ่าศูนย์กลางลําต้น ความยาวของลําต้น ความยาวของแผ่นใบ ความ กว้างของแผ่นใบ การติดเมล็ด ความยาวของรวง น้ําหนัก 1,000 เมล็ด ความยาวของข้าวเปลือก ความกว้างของข้าวเปลือก และผลผลิต เป็นต้น ส่วนลักษณะทางคุณภาพ เช่น การมีขนบนแผ่นใบ สี ของแผ่นใบ สีของกาบใบ มุมของยอดแผ่นใบ สีของลิ้นใบ สีของลิ้นใบ สีของข้อต่อใบ สีของปล้อง ทรง กอ สีของยอดเกสรตัวเมีย สีของยอดดอก สีของกลีบรองดอก สีของหางข้าว ความแข็งของลําต้น ลักษณะใบธง ลักษณะรวง การยืดคอรวง ก้านรวงทั้งรวง การแตกระแง้การแก่ของใบ การร่วงของ เมล็ด การนวด ขนบนเปลือกเมล็ด ความยาวของกลีบรองดอก เป็นต้น อาจแปรปรวนได้เนื่องจาก ความอุดมสมบูรณ์ของดินที่แตกต่างกันในแต่ละสถานที่และอุณหภูมิสูง-ต่ําในแต่ละปีเนื่องจากสภาวะ โลกร้อน รวมทั้งปริมาณน้ําฝนที่เกิดสภาวะฝนแล้งและฝนตกมากในบางปี การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวโดยใช้เครื่องปักดํา พบว่าการใช้แกลบเผาอย่าง เดียวให้ความสูงและความหนาแน่นของต้นกล้าที่ดี วัสดุหาได้ง่าย น้ําหนักเบาขนย้ายสะดวก และ ต้นทุนต่ําสุดจึงเหมาะสมที่สุด อัตราเมล็ดพันธุ์ที่เหมาะสม คือ 200-250 กรัม/ถาด โดยใช้ถาดกล้า จํานวน 42 และ 36 ถาด/ไร่ ตามลําดับ แต่ต้องเผื่อกล้าสําหรับซ่อมแซมหลังปักดําอีกประมาณ 4 ถาด/ไร่ซึ่งคํานวณเป็นอัตราเมล็ดพันธุ์ที่ใช้เท่ากับ 10 กิโลกรัม/ไร่อายุกล้าที่เหมาะสมสําหรับการปัก ดําคือ 18วัน มีความยาวลําต้นขณะปักดําพอเหมาะ ไม่สั้นเกินไป และ ไม่เสียเวลาในการเพาะกล้า นาน ส่วนระยะปักดําที่เหมาะสมคือ 16-21 ซม. ข้าวที่กระทบอากาศหนาวเย็นในระยะออกดอก ผลผลิตจะเสียหายมากกว่าข้าวที่กระทบอากาศหนาวเย็นในระยะสร้างช่อดอก และไม่ควรพ่นสารทุก ชนิดในระยะข้าวสร้างช่อดอกโดยเฉพาะ GA3 ควรรอให้อากาศอุ่นขึ้น แล้วพ่น Ca+B ในระยะข้าวเริ่ม ออกดอก ส่วนการใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน หรือ ใส่ปุ๋ยตามคําแนะนํา ให้ผลผลิตไม่แตกต่างกันทาง สถิติ การทําความสะอาดรถเกี่ยวนวดเพื่อเก็บเกี่ยวเมล็ดพันธุ์ข้าว วิธีที่ดีที่สุดคือ การใช้น้ําฉีดพ่น เพื่อล้างทําความสะอาดให้ทั่ว รองลงมาคือ การใช้ลมเป่าให้ทั่ว รถเกี่ยวนวดขนาดใหญ่ชนิดมีถังเก็บ จะมีข้าวปนตกค้างในเครื่องมากกว่าชนิดไม่มีถังเก็บ รถขนาดใหญ่จะมีข้าวปนตกค้างมากกว่ารถ ขนาดเล็ก ดังนั้น ต้องเกี่ยวข้าวขอบแปลงเพื่อทําความสะอาดรถเกี่ยวนวดอีกครั้งอย่างน้อย 800 กิโลกรัมสําหรับรถขนาดใหญ่ และ 600 กิโลกรัมสําหรับรถขนาดเล็ก ในการอบลดความชื้นเมล็ด พันธุ์ข้าว การใช้อุณหภูมิสูงควรเริ่มจากลมธรรมดา 1 ชั่วโมง แล้วใช้อุณหภูมิ 45?ซ.ก่อน จนความชื้น เหลือ 16% ค่อยเพิ่มอุณหภูมิขึ้นเป็น 50?ซ จนความชื้นเหลือ 12% ตามด้วยลมธรรมดาอีก1 ชั่วโมง เพราะประหยัดเวลาและไม่กระทบต่ออายุการเก็บรักษาของเมล็ดพันธุ์ ในด้านการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ข้าว คุณภาพของเมล็ดพันธุ์ข้าวเปลือกพันธุ์พิษณุโลก 2 สุพรรณบุรี 1 กข31 และ ปทุมธานี 1 ที่ผลิตในฤดูนาปรังมีเปอร์เซ็นต์ความงอกต่ํากว่าเมล็ดพันธุ์ผลิต ในฤดูนาปีโดยฤดูนาปรังมีค่าอยู่ระหว่าง 67 – 87 เปอร์เซ็นต์ส่วนฤดูนาปีมีค่าอยู่ระหว่าง 71 – 95 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนี้คุณภาพเมล็ดพันธุ์ของข้าวพันธุ์พิษณุโลก 2 และพันธุ์สุพรรณบุรี 1 มีการ เสื่อมคุณภาพเร็วกว่าข้าวพันธุ์กข31 และ ปทุมธานี 1 ส่วนการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ข้าวเหนียว 3 พันธุ์ได้แก่ พันธุ์กข10 สกลนคร และสันป่าตอง 1 ที่ปลูกในฤดูนาปรัง เก็บรักษาไว้ได้นาน 12 เดือน เมล็ดพันธุ์ยังคงมีความงอกมากกว่า 80 % การเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ข้าวหอม 3 พันธุ์ได้แก่ พันธุ์กข15 ขาวดอกมะลิ 105 และปทุมธานี 1ปลูกในฤดูนาปีเก็บรักษาไว้ได้นาน 10-12 เดือน การยืดอายุการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์โดยใช้เทคนิคการทําให้เปียกและแห้ง (seed priming) ขึ้นอยู่กับพันธุ์ข้าว อายุของเมล็ดพันธุ์และการลดความชื้นหลังเก็บเกี่ยว เมล็ดพันธุ์ข้าวอายุ 6 เดือน ที่นํามาแช่เมล็ดพันธุ์ในน้ําเป็นเวลา 3 และ 6 ชม. สามารถยืดอายุการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ได้นานกว่า เมล็ดพันธุ์ไม่แช่น้ําเป็นเวลา 1-4 เดือน นอกจากนี้วิธีการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ข้าวแบบปิดสนิท เช่น super bag เป็นวิธีการที่สามารถนําไปใช้ในการเก็บรักษาเมล็ดเชื้อพันธุ์ข้าว หรือการเก็บเมล็ดพันธุ์ สํารองไว้ใช้ในกรณีเกิดอุทกภัย โดยไม่ต้องเก็บรักษาที่อุณหภูมิต่ํา
บทคัดย่อ (EN): Evaluation on seed Quality of rice seed Producers ,seed sellers and farmers were conducted in order to investigate the situation of rice seed quality in each province. There were three main activities conducted in 2008-2009 which were (i) evaluation on seed quality of rice seed producers and seed sellers, (ii) evaluation on rice seed quality of farmer used, and (iii) evaluation and monitoring on rice seed yield quality after using foundation seed. Rice varieties which were popular in Northern and Northeastern rice cultivated area, were KDML105 and RD6. The amount of rice seed samples that reached certified seed standard were 17-89% of total samples. There were diversity of rice cultivars In the Lower North, Central, Eastern and Western cultivated area, particularly, non recommened cultivars. The amount of rice seed samples that reached certified seed standard in these area were 3-33% of total samples. Rice varieties which were popular in Southern rice cultivated area, were Leb Nok Pattanee, Chainat 1 and local varieties. The amount of rice seed sampling from farmer used seed, in the Central, Eastern and Western cultivated area, that reached certified seed standard accounted for 7-49% of total samples. These below standard samples were mostly due to over red rice and other rice variety contamination. The amount of farmer used seed samples, in the Northern and Northeastern cultivated area, that reached certified seed standard accounted for 11- 43% of total samples. The amount of farmer used seed samples, in the southern cultivated area, that reached certified seed standard were 6-11% of total samples. The amount of rice seed yield, after using foundation seed, reached certified seed standard more than 50% of total samples. It was found that there are variation in qualitative and quantitative characteristics of glutinous and aromatic rice varieties growing in different environmental condition. Increasing seed production efficiency can be introduced in different way, for example, using transplanting machine in appropriate method and cleaning combine harvester before harvest using strong water springer or at least 600-800 kg of rice were harvest before starting our product. In 2009, seed priming by soaking seed in water was conducted to extend rice seed storability in three rice cultivars; Chainat 1(CNT1), Prachinburi 2 (PCR 2) and Lebnokpatani(LNP) at Prachin Buri Rice Research Center and Nakhon Si Thammarat Rice Research Center. Seed aged 2, 4 and 6 months after harvesting, which were sun dried after harvest immediately, 1 days after harvest and 2 days after harvest, were soaked in water for 5 durations (0, 3, 6, 9 and 12 hour) at room temperature. After soaking, seeds were sun dried to 12% moisture content and stored in a warehouse. All treatments were sampled every month for germination until less than 80 % germination. The results revealed that seed storability extending depended on rice variety, seed age and seed drying. Primed seed for 3 and 6 hour of seed aged 6 months can extend seed storability longer than unprimed seed from 1-4 months. Two experiments were conducted to investigate the effect of hermetic storage in super bag on rice seed quality. It was found that hermetic storage can benefit rice germplasm conservation and maintain the viability of rice seed reserves against future disasters. Moreover, no insects were detected in these three treatments.
ชื่อแหล่งทุน: งบประมาณแผ่นดิน
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2550-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2553-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมการข้าว
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีเมล็ดพันธุ์ข้าว
กรมการข้าว
30 กันยายน 2553
กรมการข้าว
การพัฒนารูปแบบการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวโดยเกษตรกร แป้งข้าวก่ำดัดแปรและผลิตภัณฑ์จากข้าวก่ำเพื่อประโยชน์ด้านสุขภาพ เชิงป้องกัน ข้าวให้พลังงานผสานคุณค่าอาหาร ผลของขนาดเมล็ดที่มีต่อความแข็งแรงของเมล็ดพันธุ์ถั่วแลปแลป โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีเมล็ดพันธุ์ การวิจัยและพัฒนาเครื่องหยอดเมล็ดพันธุ์ข้าว การวิจัยและพัฒนาอุปกรณ์ตรวจวัดอัตราการขัดสีข้าว การวิจัยและพัฒนาเครื่องหยอดเมล็ดพันธุ์ข้าว ระยะที่ 2 การวิจัยและพัฒนาเครื่องหยอดเมล็ดพันธุ์ข้าว ระยะที่ 2 การพัฒนารูปแบบการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวโดยเกษตรกร

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก