สืบค้นงานวิจัย
ผลของการใช้ไส้เดือนดินร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ที่มีต่อการปรับปรุงบำรุงดินเพื่อปลูกทับทิมอินทรีย์
เกษมศรี มานิมนต์ - กรมพัฒนาที่ดิน
ชื่อเรื่อง: ผลของการใช้ไส้เดือนดินร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ที่มีต่อการปรับปรุงบำรุงดินเพื่อปลูกทับทิมอินทรีย์
ชื่อเรื่อง (EN): The effect of earthworm and organic fertilizer for soil improving in pomegranate plantation
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: เกษมศรี มานิมนต์
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การศึกษาผลของการใช้ไส้เดือนดินร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ที่มีต่อการปรับปรุงบำรุงดินเพื่อปลูกทับทิมอินทรีย์ ดำเนินการทดลองในพื้นที่ศูนย์วิจัยการอนุรักษ์ดินและน้ำ อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ในปีงบประมาณ 2556-2558 วางแผนการทดลองแบบ RCBD จำนวน 7 วิธีการ 3 ซ้ำ ประกอบด้วย วิธีการที่ 1 แปลงควบคุม วิธีการที่ 2 3 และ 4 ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ อัตรา 16 24 และ 32 กิโลกรัมต่อต้นต่อปี วิธีการที่ 5 6 และ 7 ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ อัตรา 16 24 และ 32 กิโลกรัมต่อต้นต่อปี ร่วมกับไส้เดือน ผลการทดลอง พบว่า การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ อัตรา 32 กิโลกรัมต่อต้นต่อปี ร่วมกับไส้เดือน ให้ต้นทับทิมมีการเจริญเติบโตเส้น รอบวงของลำต้น ความสูง และขนาดทรงพุ่มมากสุด 13.7 164.3 และ 188.7 เซนติเมตร การเปลี่ยนแปลงสมบัติของดินพบว่า ดินมีแนวโน้มดีขึ้น คือ ความอุดมสมบูรณ์ของดินเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับก่อนการทดลอง โดย ปริมาณอินทรียวัตถุสูง โพแทสเซียมและฟอสฟอรัสสูงมาก แคลเซียม และแมกนีเซียมสูง เช่นเดียวกับความหนาแน่นรวมของดินที่ลดลง
บทคัดย่อ (EN): The effect of earthworms and organic fertilizer for soil improvement in pomegranate plantation was conducted in Soil and Water Conservation Research Center, Pakchong district, Nakhon Ratchasima province during 2013-2015. The experimental design was RCBD with 3 replications and 7 treatments (Tr.). The treatments consisted of Tr.1: control method (without fertilizer), Tr. 2, Tr. 3 and Tr. 4: organic fertilizer rate at 16 24 and 32 kg/plant/year, respectively. Treatment 5, Tr.6 and Tr. 7 were combination of earthworms with organic fertilizer rate at 16, 24 and 32 kg/plant/year, respectively. The result was found that the combination of earthworms with organic fertilizer rate at 32 kg/plant/year, pomegranate tree had the highest of stem circumference, height and bush size at 13.7 cm, 164.3 cm and 188.7 cm., respectively. The soil chemical properties trend was improved, having high level of organic matter content, very high level of potassium content and phosphorus content, high level of calcium content and magnesium content. Soil physical property as bulk density had decreased.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2555-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2558-09-30
เผยแพร่โดย: กรมพัฒนาที่ดิน
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ผลของการใช้ไส้เดือนดินร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ที่มีต่อการปรับปรุงบำรุงดินเพื่อปลูกทับทิมอินทรีย์
กรมพัฒนาที่ดิน
30 กันยายน 2558
การศึกษาวิธีการผลิตปุ๋ยอินทรีย์จากเศษวัสดุอินทรีย์ที่ได้จากการตัดแต่งกิ่งไม้ การจัดการดินโดยใช้พืชบำรุงดิน วัสดุปรับปรุงดิน ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยชีวภาพ พด.12 และปุ๋ยเคมี ร่วมกับการปลูกต้นเหมียงเป็นพืชแซมยางพารา ในกลุ่มชุดดินที่ 45 การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ทดแทนปุ๋ยเคมีในการปลูกข้าว ชุดดินพัทลุง (กลุ่มชุดดินที่ 6) การศึกษาเปรียบเทียบการผสมผสานระบบเกษตรอินทรีย์ วัสดุคลุมดิน การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ สำหรับการปลูกไม้ผล (น้อยหน่าพันธุ์เพชรปากช่อง) ในกลุ่มชุดดินชัยบาดาล เทคนิคการเพิ่มอัตราการย่อยสลายทางชีวภาพของสารพิษตกค้างในดินเพื่อลดระยะเวลาการ ปรับเปลี่ยนสู่ระบบเกษตรอินทรีย์โดยการใช้ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินและน้ำหมักมูลไส้เดือนดิน ศึกษาการใช้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงร่วมกับน้ำหมักชีวภาพในการปลูกข้าวอินทรีย์ (พันธุ์หอมมะลิ 105) ในกลุ่มชุดดินที่ 18 ชุดดินหนองบุญนาคพื้นที่นอกเขตชลประทาน จังหวัดนครราชสีมา การจัดการดินที่เหมาะสมด้วยปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงร่วมกับปุ๋ยชีวภาพ (พด.3 และ พด.12) เพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดินและผลผลิตสับปะรดพันธุ์ปัตตาเวีย ในชุดดินเขาพลอง (กลุ่มชุดดินที่ 44) การปลูกข้าวโดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพและกลุ่มจุลินทรีย์เพิ่มความเป็นประโยชน์ของธาตุฟอสฟอรัส (สารเร่ง พด.9) ในกลุ่มชุดดินที่ 4 ชุดดินราชบุรี การจัดการดินโดยใช้ปุ๋ยชีวภาพร่วมกับพืชปุ๋ยสดและปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงในระบบปลูกพืชถั่วเขียว ; ข้าวโพดหวาน กลุ่มชุดดินที่ 35 การถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตปุ๋ยมูลไส้เดือนคุณภาพสูงโดยการใช้ ไส้เดือนแปรสภาพขยะอินทรีย์ในจังหวัดเพชรบูรณ์
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก