สืบค้นงานวิจัย
การสาธิตทดสอบสารป้องกันแมลงศัตรูพืชร่วมกับสารเร่งเพื่อละลายฟอสฟอรัสสำหรับการผลิตพริก ในกลุ่มชุดดินที่ 21 และ 22
กรวิกา รัตนนพนันทน์, สุวิมล พุทธจรรยาวงศ์, จุไรพร แก้วทิพย์, ณัฐชานันท์ เอนกสัมพันธ์ - กรมพัฒนาที่ดิน
ชื่อเรื่อง: การสาธิตทดสอบสารป้องกันแมลงศัตรูพืชร่วมกับสารเร่งเพื่อละลายฟอสฟอรัสสำหรับการผลิตพริก ในกลุ่มชุดดินที่ 21 และ 22
ชื่อเรื่อง (EN): Demonstration and test of insect prevention and phosphorus released substance for chilli production in soil group 21 and 22
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การสาธิตทดสอบสารป้องกันแมลงศัตรูพืชร่วมกับสารเร่งเพื่อละลายฟอสฟอรัสสำหรับการผลิตพริก ในกลุ่มชุดดินที่ 21 และ 22 สถานที่ทำการทดลองที่บ้านห้วยตึงเฒ่า และสำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 6 ต.ดอนแก้ว อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ ระหว่างเดือนพฤษภาคม 2549 ถึงเดือน เมษายน 2551 โดยมีทั้งหมด 5 ตำรับการทดลอง คือ แปลงควบคุม แปลงที่ใส่ปุ๋ยหมัก (พด.1) ฉีดพ่นปุ๋ยอินทรีย์น้ำ (พด.2) ร่วมกับสารกำจัดโรครากเน่าโคนเน่า (พด.3) และ พด.7 จากสาบเสือ แปลงที่ใส่ปุ๋ยหมัก (พด.1) ฉีดพ่นปุ๋ยอินทรีย์น้ำ (พด.2) ร่วมกับสารกำจัดโรครากเน่าโคนเน่า (พด.3) และ พด.7 จากสาบเสือและตะไคร้หอม แปลงที่ใส่ปุ๋ยหมัก (พด.1) ฉีดพ่นปุ๋ยอินทรีย์น้ำ (พด.2) ร่วมกับสารกำจัดโรครากเน่าโคนเน่า (พด.3) และ พด.7 จากสาบเสือ ตะไคร้หอมและสะเดา และแปลงที่ใส่ปุ๋ยหมัก (พด.1) ฉีดพ่นปุ๋ยอินทรีย์น้ำ (พด.2) ร่วมกับสารกำจัดโรครากเน่าโคนเน่า (พด.3) พด. 8 (สารเร่งละลายฟอสฟอรัสในดินกรด) และ พด.7 จากสาบเสือ ตะไคร้หอมและสะเดา ผลการทดลองในปี 2549 ทำการศึกษาในกลุ่มชุดดินที่ 21 พบว่าการเจริญเติบโตของพริก ซึ่งได้แก่ ความสูง เส้นผ่าศูนย์กลางทรงพุ่ม พบว่าในทุกตำรับแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จำนวนใบรวมและใบที่เสียหาย พบว่าในทุกตำรับมีไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อเจริญเติบโตได้ 30 วัน แต่เมื่อเจริญเติบโตได้ 60 วัน และ 90 วัน ค่าเฉลี่ยจำนวนใบรวมมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนปี 2550 ทำการศึกษาในกลุ่มชุดดินที่ 22 พบว่าช่วงเวลาที่มีการเจริญเติบโต 30 วัน และ 60 วัน ความสูงไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่เมื่อมีการเจริญเติบโตเพิ่มขึ้นเป็น 90 วัน ทำให้มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เส้นผ่าศูนย์กลางทรงพุ่ม จำนวนใบรวมและใบที่เสียหายแต่ละตำรับไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในช่วงการเจริญเติบโต 30 วัน และ 60 วัน ส่วนในช่วงการเจริญเติบโต 90 วัน ค่าเฉลี่ยเส้นผ่าศูนย์กลางทรงพุ่มของพริก จะมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สำหรับผลผลิตพริกในกลุ่มชุดดินที่ 21 พบว่า ตำรับที่2 ให้ผลผลิตที่ค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับตำรับการทดลองอื่น ส่วนในกลุ่มชุดดินที่ 22 พบว่า ตำรับที่ 3 ให้ผลผลิตสูงกว่าตำรับอื่น
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2548-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2551-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมพัฒนาที่ดิน
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การสาธิตทดสอบสารป้องกันแมลงศัตรูพืชร่วมกับสารเร่งเพื่อละลายฟอสฟอรัสสำหรับการผลิตพริก ในกลุ่มชุดดินที่ 21 และ 22
กรมพัฒนาที่ดิน
30 กันยายน 2551
การติดตามตรวจสอบสารกลุ่มโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนในอากาศริมถนนโดยใช้ใบไม้ในเขตจังหวัดนนทบุรี การศึกษาประสิทธิภาพของสารเร่ง พด.7 ในการป้องกันกำจัดหนอนชอน เปลือกลองกอง การทดสอบเทคโนโลยีการปรับปรุงบำรุงดินร่วนเหนียว ในพื้นที่ปลูกพริกจังหวัดนครราชสีมา อิทธิพลของปุ๋ยฟอสฟอรัสต่อการพึ่งพาเชื้อราอาร์บัสคูลาร์ไมคอร์ไรซาเพื่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของพริก สภาพการผลิตพริกของเกษตรกรในจังหวัดอุบลราชธานี การผลิต Inulin และ Oligofructose จากกล้วยเพื่อใช้เป็นสารเสริมอาหาร ชีวเคมีของพริก ตอนที่ 1 สีสันแสนสวยด้วยเม็ดสีที่แตกต่าง ศึกษาเทคนิคการนำผลิตภัณฑ์สารเร่ง พด. สกัดสารจากพืชสมุนไพร เพื่อควบคุมแมลงศัตรูของพืชผัก การศึกษาสมรรถนะของกลุ่มชุดดิน ที่ 17 และ 22 เพื่อผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 การศึกษาการปลูกพืชสมุนไพรสำหรับผลิตสารป้องกันแมลงศัตรูพืชเพื่อลดการใช้สารเคมี

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก