สืบค้นงานวิจัย
เวลาปลูกและระยะเวลาปักดำที่มีผลต่อคุณภาพทางเคมีของข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ดวงใจ สุริยาอรุณโรจน์ - กรมการข้าว
ชื่อเรื่อง: เวลาปลูกและระยะเวลาปักดำที่มีผลต่อคุณภาพทางเคมีของข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ชื่อเรื่อง (EN): Effect of timing and spacing on chemical grain quality of KDML105 in northeast Thailand
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ดวงใจ สุริยาอรุณโรจน์
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Duangjai Suriyaaroonroj
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: ข้าวขาวดอกมะลิ105 เป็นข้าวคุณภาพดีของไทย สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี แต่เพื่อการพัฒนาและรักษาคุณภาพที่ดีให้ยั่งยืนตลอดไป จึงได้ทำการทดลองหาเวลาปลูกและระยะปักดำที่เหมาะสม โดยการทดลองนี้เปรียบเทียบเวลาปลูกช่วง 15 กรกฎาคม 30 กรกฎาคม 15 สิงหาคม และ 30 สิงหาคม พร้อม ๆ กับ การเปรียบเทียบระยะปักดำคือ ระยะ 15x30 ซม. 20x20 ซม. 20x25 ซม. และ 25x25 ซม. ผลการทดลองพบว่า กรรมวิธีที่ทำให้ปริมาณโปรตีนในเมล็ดข้าวและอัตราการยืดตัวของเมล็ดข้าวสุกสูงที่สุดคือ ที่เวลาปลูก 30 สิงหาคม และที่ระยะปลูก 20x25 ชม. ส่วนกรรมวิธีอื่น ๆ จะมีค่า ทั้งสองค่าข้างต้นต่ำกว่าอย่างมีนัยสำคัญ ส่วนปริมาณอมิโลสมีแนวโน้มสูงสุดในวันปลูกที่ 15 กรกฎาคมและ ระยะปลูก 25x25 ซม. สำหรับความคงตัวของแป้งสุกของข้าวในแต่ละกรรมวิธีไม่แตกต่างกันทางสถิติ เช่นเดียวกับความหอมของข้าวก็ไม่มีความสัมพันธ์กับเวลาปลูกและระยะปักดำ นอกจากนี้การวิเคราะห์ข้อมูลจากผลการวิเคราะห์คุณภาพทางกายภาพของข้าวก็พบว่าไม่แตกต่างกันทางสถิติ
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2536
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2538
เอกสารแนบ: https://agkb.lib.ku.ac.th/doa/search_detail/result/328900
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมการข้าว
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
เวลาปลูกและระยะเวลาปักดำที่มีผลต่อคุณภาพทางเคมีของข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
กรมการข้าว
2538
เอกสารแนบ 1
กรมการข้าว
ผลของความชื้นในดินหลังการระบายน้ำออกต่อคุณภาพเมล็ดข้าวขาวดอกมะลิ 105 พันธุ์แอสเตอร์ที่เหมาะสมในการผลิตเป็นเมล็ดพันธุ์เพื่อการค้าในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พันธุ์กุหลาบตัดดอกที่เหมาะสมสำหรับสภาพแห้งแล้งของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สภาพนิเวศเกษตร เศรษฐกิจและสังคมของระบบการผลิตข้าวนาน้ำฝนในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ผลของระดับฟอสฟอรัสที่แตกต่างกันต่อการเจริญเติบโตของข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 ความหวานของหัวแก่นตะวันหลังจากเก็บรักษาที่ระยะเวลาแตกต่างกัน ความต้องการบริการส่งเสริมการเกษตรของเกษตรกรชาวไร่อ้อย ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สมดุลธาตุอาหารในระบบการปลูกปลูกหมุนเวียนข้าว - ถั่ว บนพื้นที่สูงใน ภาคเหนือของประเทศไทย ผลของสังกะสีและซิลิกอนต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 ผลของวันปลูกข้าวก่อนน้ำท่วมและหลังน้ำลดที่มีต่อผลผลิตข้าวพันธุ์/สายพันธุ์ดีในภาคใต้

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก