สืบค้นงานวิจัย
อิทธิพลของสารสกัดจากใบบัวต่อการผลิตของไก่ไข่ คุณภาพไข่ และโคเลสเตอรอลในไข่แดง
ไพโชค ปัญจะ - มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ชื่อเรื่อง: อิทธิพลของสารสกัดจากใบบัวต่อการผลิตของไก่ไข่ คุณภาพไข่ และโคเลสเตอรอลในไข่แดง
ชื่อเรื่อง (EN): Effect of lotus leaf extract on production of layer, egg quality and cholesterol in egg yolk
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ไพโชค ปัญจะ
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: ดรุณี ศรีชนะ
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาผลของการใช้สารสกัดใบบัวในระดับต่างๆ ผสมในอาหารไก่ไข่ต่อปริมาณการกินอาหาร การให้ผลผลิตไข่ คุณภาพของไข่ ปริมาณ โดเลสเตอรอลในไข่แดง และปริมาณไนโตรเจนและเถ้าในมูล ใช้แผนการทคลองแบบสุ่มสมบูรณ์ มี ร ทรีดเมนต์ (4 ซ้ำๆ ละ 5 ตัว ได้แก่ อาหารที่เสริมสารสกัดจากใบบัว 0 (กลุ่มดวบคุม) 0.1 0.2 0.3 และ 0.4% โดยทำการทคลองในไก่ไข่พันธุ์อิซาบราวน์อายุ 46 สัปดาห์ จำนวน 100 ตัว เป็นเวลา 8 สัปดาห์ อาหารที่ใช้ในการทดลองมีโปรตีน พลังงานเท่ากัน และเพียงพอกับความต้องการของ ไก่ไข่ จากการศึกษาพบว่าไก่ที่ได้รับอาหารที่เสริมสารสกัดจากใบบัว 0 0.1 0.2 0.3 และ 0.4% มีปริมาณอาหารที่กิน ผลผลิตไข่ ประสิทธิภาพการใช้อาหารต่อการผลิตไข่ 1 โหล มวลไข่ น้ำหนัก ไข่ น้ำหนักเปลือกไข่ น้ำหนักไข่ขาว น้ำหนักไข่แดง ความหนาเปลือกไข่ ความสูงไข่ขาว สีไข่แคง สีเปลือกไข่ ด่าฮอพียูนิต (Haugh Unit) ปริมาณไนโตรเจนในมูล และปริมาณเถ้าในมูล ไม่มีความ แตกต่างกันทางสถิติ (P-0.05) นอกจากนี้ยังพบว่าปริมาณ โดเลสเตอรอลในไข่แคงของกลุ่มที่ได้รับ อาหารที่เสริมสารสกัดจากใบบัวมีแนวโน้มต่ำกว่ากลุ่มควบคุม
บทคัดย่อ (EN): The experiment was conducted to investigate the effect of lotus leaf extract on laying hen performance, egg quality, egg yolk, cholesterol and nitrogen and ash contents in facces. Five treatments, diets containing lotus leaf extract at 0 (control), 0.1, 0.2, 0.3 and 0.4% were arranged in CRD and fed to Isa Brown layers at 46 weeks of age for 8 weeks in 4 replicates (5 hens/replicate). The experimental diets were isonitrogenous and isocaloric and had sufficient nutrients for laying hen. The results demonstrated that feed intake, egg production, feed conversion per dozen of eggs, egg mass, egg weight, shell weight, albumen weight, yolk weight, shell thickness, albumin height, yolk color, shell color, Haugh unit, nitrogen and ash contents in facces were not significantly different among treatments (P>0.05). The treatments containing lotus lcaf extract trended to have lower cholesterol contents in egg yolk compared to the control.
วิธีการจ้างทำงานวิจัย: ได้รับทุนวิจัย
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2551-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2552-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
อิทธิพลของสารสกัดจากใบบัวต่อการผลิตของไก่ไข่ คุณภาพไข่ และโคเลสเตอรอลในไข่แดง
ไพโชค ปัญจะ
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
30 กันยายน 2552
อิทธิพลของสารสกัดจากใบชาจีนและใบหม่อนต่อการผลิตของไก่ไข่ คุณภาพไข่ และโคเลสเตอรอลในไข่แดง ผลของการเสริมกากข้าวโพดในอาหารต่อสมรรถภาพการผลิตของไก่ไข่และคุณภาพไข่ ผลการเสริมไฟโตไบโอติกส์ในอาหารไก่ไข่ต่อสมรรถภาพการผลิตและคุณภาพไข่ การปรับปรุงคุณภาพไข่ไก่ด้วยสาหร่ายไปรูลิน่า ผลของการเสริมสารประกอบ Ceraclean® ในอาหารต่อสมรรถภาพการผลิตคุณภาพไข่ และความแข็งแรงกระดูกของไก่ไข่ ผลของการใช้ผลิตภัณฑ์มวลรวมปูนสำเร็จรูปเป็นแหล่งแคลเซียมในอาหารไก่ไข่ต่อสมรรถภาพการผลิต คุณภาพไข่ และคุณลักษณะของเปลือกไข่ในช่วงระยะเริ่มให้ผลผลิตไข่ ผลการเสริมเลซิตินถั่วเหลืองในอาหารไก่ไข่ต่อการย่อยได้ของโภชนะ สมรรถภาพการผลิต และคุณภาพไข่ ผลของการใช้ไขมันจากโคพื้นเมืองทดแทนน้ำมันปาล์มในอาหารต่อ สมรรถภาพการผลิตของไก่ไข่ ผลของการเสริมใบชะพลูในอาหารต่อสมรรถภาพ คุณภาพไข่ และปริมาณเชื้อแบคทีเรียในมูลของเป็ดไข่ ผลการใช้อาหารที่มีกรดอะมิโนชนิดจำเป็นที่ย่อยได้ในระดับสูงที่มีผลต่อ คุณภาพและสมรรถภาพการให้ผลผลิตของไก่ไข่

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก