สืบค้นงานวิจัย
การบริหารจัดการน้ำเพื่อการเพาะปลูกมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้ด้วยแนวคิด วอเตอร์ฟุตพริ้นท์ กรณีศึกษา มะม่วงน้ำดอกไม้ของชุมชนดงมูลเหล็ก อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์
กาญจน์ คุ้มทรัพย์, อิสระ ตั้งสุวรรณ์, พรทวี กองร้อย - มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์
ชื่อเรื่อง: การบริหารจัดการน้ำเพื่อการเพาะปลูกมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้ด้วยแนวคิด วอเตอร์ฟุตพริ้นท์ กรณีศึกษา มะม่วงน้ำดอกไม้ของชุมชนดงมูลเหล็ก อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์
ชื่อเรื่อง (EN): Water Management for Planting Mango CV. Namdokmai by Water Footprint: A Case Study on Mango CV. Namdokmai in Dong Moon Lek Community Mueng Distric Phetchabun.
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การประเมินวอเตอร์ฟุตพริ้นท์ของการปลูกมะม่วงน้ำดอกไม้ดำเนินการศึกษาครอบคลุมตลอดช่วงอายุการเจริญเติบโตของมะม่วงน้ำดอกไม้ โดยพิจารณา 3 ส่วน คือ 1. ปริมาณน้ำที่ต้นมะม่วงดูดซับและหมุนเวียนนำไปใช้จากน้ำฝนหรือความชื้นในดิน (Green Water Footprint) 2. ปริมาณน้ำที่ซึมลงสู่ใต้ดินและเก็บกักในแหล่งน้ำธรรมชาติ (Blue Water Footprint) และ 3. ปริมาณน้ำเสียที่เกิดจากกิจกรรมการปลูกมะม่วงน้ำดอกไม้ (Gray Water Footprint) จากการศึกษาพบว่าวอเตอร์ฟุตพริ้นท์จากการปลูกมะม่วงน้ำดอกไม้มีค่า 207 ลูกบาศก์เมตร/ตัน โดยคิดเป็นค่าวอเตอร์ฟุตพริ้นท์สีเขียว 40.3 ลูกบาศก์เมตร/ตัน สีน้ำเงิน 145.4 ลูกบาศก์เมตร/ตัน และสีเทา 21.3 ลูกบาศก์เมตร/ตัน ตามลำดับ ซึ่งเมื่อพิจารณาการใช้น้ำในแต่ละส่วนจะพบว่าน้ำที่ใช้ในการปลูกมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองส่วนมากจะเป็นน้ำสีน้ำเงินหรือน้ำที่ได้จากแหล่งน้ำผิวดินและแหล่งน้ำใต้ดิน ส่วนของวอเตอร์ฟุตพริ้นท์สีเทาพิจารณาเพียงผลมลพิษจากปริมาณการใช้ปุ๋ยไนโตรเจนของเกษตรกรจึงแปรผันโดยตรงกับปริมาณการใช้ปุ๋ย ดังนั้น เกษตรกรควรลดปริมาณการใช้น้ำของมะม่วงน้ำดอกไม้และขยายพื้นที่ปลูกให้เหมาะสมกับปริมาณน้ำต้นทุนที่มีอยู่ รวมถึงส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาด้านฉลากวอเตอร์ฟุตพริ้นท์ (WF) ของผลิตภัณฑ์เกษตร เพื่อสร้างความตระหนักในภาคการบริโภคและให้เกิดความยั่งยืนด้านการใช้น้ำในอนาคต สำหรับการประเมินระดับความตึงเครียดด้านน้ำจากการปลูกมะม่วงน้ำดอกไม้ในพื้นที่ตำบลดงมูลเหล็ก อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ พบว่า มีค่า WSI เท่ากับ 0.0106 ซึ่งมีค่าน้อยกว่า <0.1 เมื่อนำไปเปรียบเทียบกับระดับความตึงเครียด พบว่าอยู่ในระดับต่ำ
บทคัดย่อ (EN): Water Footprint Assessment for Planting Mango CV Namdokmai studied cover the lifetime growth of mango. The water study including 1. The water content of the mango absorbs and circulate to water from rain or soil moisture (Green Water Footprint) 2. The amount of water absorption. and into the underground storage of natural sources (Blue water Footprint) and 3. the amount of waste water resulting from the production of the mango (Gray water Footprint) study found that the water footprint by planting a mango. 207 m3 / ton, representing the Water Footprint green 40.3 m3 / ton, 145.4 m3 / ton of blue water footprints and 21.3 m3 / ton of grey water footprints, respectively, when considering the use of water in each section will find that the water used to grow Mango mostly blue water or water from surface water and groundwater. The Water Footprint Gray considered a result of pollution from the use of nitrogen fertilizer, the farmers thus varies with the amount of fertilizer used. however, farmers should reduce the amount of water your plants grow and expand to suitable amount of water. Including the development of labeling Water Footprint (WF) of agricultural products. To raise awareness in the consumer sector and the sustainability of water use in the future. For evaluating the water stress index (WSI) of mango growing in Tambon Dong Mun Lek, Muang Phetchabun, WSI was found to be 0.0106, which is less than <0.1 when compared to the level of index that found in low level.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2557-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2558-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การบริหารจัดการน้ำเพื่อการเพาะปลูกมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้ด้วยแนวคิด วอเตอร์ฟุตพริ้นท์ กรณีศึกษา มะม่วงน้ำดอกไม้ของชุมชนดงมูลเหล็ก อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์
มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์
30 กันยายน 2558
การบริหารและจัดการความเสี่ยงเพื่อลดโรคแอนแทรคโนสของผล มะม่วงน้ำดอกไม้สีทองเพื่อการส่งออก การจัดการความรู้เรื่องมะม่วงน้ำดอกไม้ในเขตพื้นที่ตำบลดงมูลเหล็ก กระบวนการผลิตแบบยั่งยืน : กรณีการศึกษาการใช้สารสกัดธรรมชาติเพื่อกระตุ้นการเกิดดอกมะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง ตำบลดงมูลเหล็ก อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ การปลูกมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองเชิงบูรณาการ : กรณีศึกษาเพิ่มผลผลิตมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองของเกษตรกรตำบลดงมูลเหล็ก อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ ต้นทุนและผลตอบแทนจากการปลูกมะม่วงน้ำดอกไม้ของเกษตรกรใน ต.ดงมูลเหล็ก อ.เมือง จ.เพชรบูรณ์ ผลของการใช้พืชปุ๋ยสดเพื่อปรับปรุงสมบัติทางกายและเคมีของดินต่อผลผลิตมะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง ตำบลดงมูลเหล็ก อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ การพัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะสมเพื่อการลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิตสำหรับการผลิตมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองในตำบลดงมูลเหล็ก อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ คุณภาพมะม่วงน้ำดอกไม้ แรด และพิมเสนแดง หลังจากผ่านกระบวนการอบไอน้ำ ผลของพารามิเตอร์บางประการต่อการคายน้ำของมะม่วงพันธุ์ แก้ว บูรณาการความรู้มะม่วงน้ำดอกไม้ในเขตพื้นที่ตำบลดงมูลเหล็กเพื่อส่งเสริมการส่งออก

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก