สืบค้นงานวิจัย
ผลของลิกนิน คาร์บอน ไนโตรเจน และโพลีฟีนอลของต้นปอเทืองต่อปริมาณไนโตรเจนมิเนอรัลไลเซชัน
สุทธิ์เดชา ขุนทอง - มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ชื่อเรื่อง: ผลของลิกนิน คาร์บอน ไนโตรเจน และโพลีฟีนอลของต้นปอเทืองต่อปริมาณไนโตรเจนมิเนอรัลไลเซชัน
ชื่อเรื่อง (EN): Effects of lignin, carbon, nitrogen and polyphenol of the Crotalaria juncea to nitrogen mineralization
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สุทธิ์เดชา ขุนทอง
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Sutdacha Khunthong
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: ศึกษาความสัมพันธ์ของระดับลิกนิน คาร์บอน ไนโตรเจน และโพลีนอล จากต้นปอเทืองกับปริมาณ ไนโตรเจนมิเนอรัลไลเซชันในห้องปฏิบัติการ สภาวะอุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส ดินมีความชื้น 50 เปอร์เซ็นต์ โดยน้ำหนัก ในช่วงระยะเวลา 60 วัน สำหรับเป็นแนวทางคาดการณ์ปริมาณไนโตรเจนมิเนอรัลไลเซชันจากวัสดุพืช พบว่า ปริมาณโพลีนอล และไนโตรเจนมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับปริมาณไนโตรเจนมิเนอรัลไลเซชัน มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ 0.74 และ 0.63 ตามลำดับ ในขณะที่ปริมาณคาร์บอน, ลิกนิน, CIN และ LG/N มีความสัมพันธ์เชิงลบ มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ -0.87, -0.81, -0.79 และ -0.88 ตามลำดับ โดยระดับของ คาร์บอน และลิกนินที่ทำให้ปริมาณไนโตรเจนมิเนอรัลไลเซชันเป็นศูนย์ คือ 895.83 และ 155.88 gkg ตามลำดับ ส่วนระดับของ C/N และ LG/N ที่ส่งผลให้ปริมาณไนโตรเจนมิเนอรัลไลเซชันเป็นศูนย์ คือ 25.73 และ 3.93 ตามลำดับ
บทคัดย่อ (EN): The objective of this study was to identify the relationship between lignin, carbon, nitrogen and polyphenol from Crotalaria juncea with nitrogen mineralization contents. During a 60-day incubation in the laboratory at 25 oC and 50% of water content in soil for the predicted nitrogen mineralization from plant materials. Results the polyphenol and total nitrogen contents were positively correlated with the nitrogen mineralization, correlation coefficient = 0.74, 0.63 respectively. The total carbon, lignin, C/N and LG/N were negatively correlated with the nitrogen mineralization, correlation coefficient = -0.87, -0.81, -0.79 and -0.88 respectively. The critical levels of total carbon, lignin, C/N and LG/N that results in zero of nitrogen mineralization were 895.83 g/kg, 155.88 g/kg, 25.73 and 3.93 respectively.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2560
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2561
เอกสารแนบ: https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=5_124_60_Sutdacha.pdf&id=3284&keeptrack=1
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ผลของลิกนิน คาร์บอน ไนโตรเจน และโพลีฟีนอลของต้นปอเทืองต่อปริมาณไนโตรเจนมิเนอรัลไลเซชัน
ไม่ระบุผู้เผยแพร่
2561
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
การศึกษาการผลิตสารประกอบโพลีฟีนอลในเนื้อเยื่องาขี้ม้อน ที่เพาะเลี้ยงร่วมกับแบคทีเรียเอนโดไฟท์ ผลของการจัดการน้ำและชนิดดินต่อปริมาณคาร์บอนที่ถูกออกซิไดซ์ด้วยเพอร์แมงกาเนตและอินทรีย์คาร์บอนทั้งหมดในดินปลูกข้าว การพัฒนาไส้กรองน้ำเซรามิกส์นาโน และไส้กรองน้ำคาร์บอนนาโนสำหรับการผลิตน้ำดื่ม ความรู้และการปฏิบัติในการปลูกปอเทืองเพื่อปรับปรุงบำรุงดินในพื้นที่นาข้าวของเกษตรกรจังหวัดหนองคาย การศึกษาการใช้ประโยชน์ได้ของสารโพลีฟีนอลในเมล็ดลำไยและกาก เมล็ดลำไยในอาหารไก่เนื้อ โลหะหนักและสารโพลีไซคลิกอะโรมาติก ไฮโดรคาร์บอน ในฝุ่น PM10 จากโรงอาหารมหาวิทยาลัยนเรศวร ปริมาณไนโตรเจนที่ขับถ่ายจากปลาช่อนทะเลและดุลของไนโตรเจน ที่เลี้ยงด้วยอาหารแตกต่างกัน การพัฒนาไบโอเซนเซอร์โดยใช้ทองนาโนไวร์ร่วมกับไคโตซาน-คาร์บอนนาโนทิวบ์สแคฟโฟลด์สำหรับตรวจวัดโคเลสเตอรอลในตัวอย่างเลือด การพัฒนาเคมิคอลเซนเซอร์สำหรับวัดตะกั่วในน้ำผึ้งด้วยขั้วไฟฟ้าบิสมัท อะมัลกัม-ท่อคาร์บอนนาโนปรับแต่งด้วยไคโตซานแบบเชื่อมไขว้ ผลของกรดแอสคอร์บิกต่อการเกิดสีน้ำตาลและกิจกรรมของเอนไซม์โพลีฟีนอลออกซิเดสของผลลำไยพันธุ์ดอหลังการเก็บเกี่ยว

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก