สืบค้นงานวิจัย
นิเวศวิทยาและความหลากหลายทางชีวภาพของพรรณไม้ตามแนวชายฝั่งแม่น้ำชี จังหวัดมหาสารคาม เพื่อเป็นแนวทางในการจัดการแบบมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์อย่างยั่งยืน
นุกูล กุดแถลง - มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
ชื่อเรื่อง: นิเวศวิทยาและความหลากหลายทางชีวภาพของพรรณไม้ตามแนวชายฝั่งแม่น้ำชี จังหวัดมหาสารคาม เพื่อเป็นแนวทางในการจัดการแบบมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์อย่างยั่งยืน
ชื่อเรื่อง (EN): Ecological and Riparian Vegetation Biodiversity in Chi River Maha Sarakham Province for Sustainable Conservation
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: นุกูล กุดแถลง
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพของพรรณไม้ริมฝั่งแม่น้ำชี จังหวัดมหาสารคาม โดยเลือกพื้นที่ศึกษาในอำเภอโกสุมพิสัย อำเภอกันทรวิชัย และอำเภอเมืองมหาสารคาม ในการศึกษาลักษณะนิเวศวิทยาและความหลากหลายของพรรณไม้ ศึกษาคุณสมบัติของน้ำ คุณสมบัติของดิน การสำรวจและเก็บตัวอย่างแบบมีส่วนร่วมกับปราชญ์ชาวบ้าน และผู้นำชุมชนในท้องถิ่น การวางแปลงเก็บตัวอย่าง อำเภอละ 3 หมู่บ้านที่มีความสมบูรณ์ของพรรณไม้ริมฝั่งแม่น้ำชีมากที่สุด หมู่บ้านละ 1 แปลง แบบ Line Plot System ความยาว 100 เมตร สำหรับการศึกษาการใช้ประโยชน์ การมีส่วนร่วมในการจัดการพรรณไม้ริมฝั่งแม่น้ำชี โดยการจัดเสวนากลุ่ม การรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์ด้วยแบบสอบถาม จำนวน 272 ชุด นำข้อมูลมาวิเคราะห์ร่วมกันทั้งข้อมูลเชิงคุณภาพและปริมาณ ผลการศึกษาพบว่า พรรณไม้ริมฝั่งแม่น้ำชี พบทั้งหมด 73 วงศ์ 181 ชนิด ดัชนีความสำคัญของพรรณไม้ใหญ่มีค่ามากที่สุดได้แก่ ข่อย มีค่าเท่ากับ 47.8036% น้อยที่สุด คือ ตะขบป่า มีค่าเท่ากับ 0.7478% ดัชนีความหลากหลายของพรรณไม้มีค่าเท่ากับ 3.7058 ลักษณะของดินริมฝั่งแม่น้ำชีเป็น ดินทราย ดินร่วน และดินร่วนปนทราย มีปริมาณอินทรียวัตถุอยู่ระหว่าง 0.23-1.34 % คุณภาพน้ำในแม่น้ำชีจัดอยู่ในประเภทที่ 3 เมื่อเปรียบเทียบกับมาตรฐานคุณภาพน้ำผิวดินของประเทศไทย การใช้ประโยชน์จากพรรณไม้ริมฝั่งแม่น้ำชีของประชาชนส่วนใหญ่จะใช้เป็นแหล่งอาหาร รองลงมาใช้เป็นแหล่งสมุนไพร และใช้เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ การศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์พรรณไม้ตามแนวชายฝั่งแม่น้ำชีประชาชนมีส่วนร่วมในระดับมาก ได้แก่ การเข้าร่วมกลุ่มอนุรักษ์ การให้ความร่วมมือในการฟื้นฟูป่าไม้ริมฝั่งแม่น้ำชี และในการจัดเสวนากลุ่มเพื่ออนุรักษ์พรรณไม้ริมฝั่งแม่น้ำชี ประชาชนได้เสนอให้ดำเนินชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ปลูกป่าทดแทนในที่สาธารณะ คู คลอง และคันนา และทำเขื่อนป้องกันการพังทลายของริมฝั่งแม่น้ำชี
บทคัดย่อ (EN): This research was aimed to study on riparian vegetation biodiversity of the Chi River in Maha Sarakham Province. Three districts: namely, Kosumphisai, Kantharawichai and Muang Maha Sarakham, were chosen as study sites. Participatory survey and sample collection were conducted by cooperating with the local wise men and leaders. Sampling plots were constructed using the Line Plot System with length of 100 meter. Three villages with the most abundance in riparian vegetation of each district were selected to set the sampling plot. Participation in management and utilization of the riparian vegetation by the locals were assayed by organizing discussion groups and interviewing with 272 sets of questionnaire. The data were qualitative and quantitative analyzed. The results revealed that riparian vegetation of the Chi River combined of 73 families, 181 species of threes. The highest IVI value of tree was Crateva magna (Lour.) DC.(47.8036%) while the lowest IVI value was Flacourtia indica (0.7478%) and the diversity index of tree was 3.7058. The soil characteristics were sand, loam, and sandy loam with organic matters in range of 0.23-1.34 %. The water quality was classified as 3 according to the surface water quality standards of Thailand. The locals were utilized the riparian vegetations as food and medicinal plant resources and recreation areas. Participation in conservation groups and reforestation were found in such high level. According to the discussions, the local were proposed the self-sufficiency economy living way, reforestation in public lands and paddy-field ridges, and dam construction to prevent erosion of the Chi River embankment.
วิธีการจ้างทำงานวิจัย: ได้รับทุนวิจัย
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2551-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2552-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
นิเวศวิทยาและความหลากหลายทางชีวภาพของพรรณไม้ตามแนวชายฝั่งแม่น้ำชี จังหวัดมหาสารคาม เพื่อเป็นแนวทางในการจัดการแบบมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์อย่างยั่งยืน
มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
30 กันยายน 2552
โครงการสื่อความรู้ด้านความหลากหลายทางชีวภาพของสิ่งมีชีวิตในแนวปะการังและพื้นที่ใกล้เคียงทะเลอันดามัน โครงการสื่อความรู้ด้านความหลากหลายทางชีวภาพของสิ่งมีชีวิตในแนวปะการังและพื้นที่ใกล้เคียงทะเลอันดามัน การศึกษาความหลากหลายและโครงสร้างของสังคมพืชบริเวณพื้นที่เขื่อนสิริกิติ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ ชุมชนกับแนวทางการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน ; กรณีศึกษาชุมชนบ้านในหมง ตำบลพรหมโลก อำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช การจัดการและการใช้ประโยชน์จากป่าบุ่งป่าทาม บุ่งชีหลง ตำบลโพนงาม อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม ความหลากหลายทางชีวภาพของนกบริเวณเขาซับแกงไก่ จังหวัดลพบุรี บทบาทของวัดป่าในจังหวัดมหาสารคามต่อการเป็นแหล่งอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพด้านพืชพรรณ และการใช้ประโยชน์ด้านพฤกษศาสตร์พื้นบ้านของชุมชน ความหลากชนิดของพรรณไม้และจัดทำระบบฐานข้อมูล GIS เบื้องต้นของไม้ต้นในพื้นที่ป่าวัฒนธรรมป่าทุ่งปะ จังหวัดร้อยเอ็ด ความหลากหลายของพรรณไม้และชนิดพรรณไม้เด่นในวนอุทยานภูผาล้อม อ. นาด้วง จ. เลย การศึกษาความหลากหลายของสัตว์หน้าดินกับคุณภาพน้ำในระบบนิเวศแม่น้ำชี จังหวัดมหาสารคาม

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก