สืบค้นงานวิจัย
โครงการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้และการใช้ประโยชน์จากจุลินทรีย์ในพื้นที่โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ มหาวิทยาลัยพะเยา
ธิดา ไชยวังศรี, ศิริลักษณ์ สันพา, ไมตรี สุทธจิตต์, สมศักดิ์ ธรรมวงษ์, เนติ เงินแพทย์, กฤษณา พุกอินทร์ - มหาวิทยาลัยพะเยา
ชื่อเรื่อง: โครงการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้และการใช้ประโยชน์จากจุลินทรีย์ในพื้นที่โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ มหาวิทยาลัยพะเยา
ชื่อเรื่อง (EN): Information Commons Project Establishment and Potential Use of Microorganisms in Plant Genetic Conservation Area, University of Phayao
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: ดำเนินการเก็บตัวอย่างดิน จากพื้นที่โครงการอพสธ. ม.พะเยา นำมาคัดแยกการเจริญในอาหาร BG-11 N-free เพื่อคัดแยกกลุ่มที่มีความสามารถในการตรึงไนโตรเจน ใช้อาหารในการคัดแยกที่แตกต่างกัน 3 ชนิดได้แก่อาหาร BG-11, BG-11 (N2 free) และ SWM ผลการศึกษาครั้งนี้พบความหลากหลายของไซยาโนแบคทีเรียทั้งสิ้น 15 สกุล สามารถคัดแยกได้ 84 ไอโซเลท โดยไซยาโนแบคทีเรียคัดเลือกที่มีศักยภาพในการสร้างพอลิแซคคาไรด์ ได้ 3 ชนิด ได้แก่ Nostoc sp. UP1, Nostoc sp. UP2 และ Nostoc sp.UP3 โดยนำมาศึกษาการเจริญ และการสร้างพอลิแซคคาไรด์โดยทำการเพาะเลี้ยงบนอาหาร BG11 (B1) และ BG11 (B0) ที่ไม่มีไนโตรเจนโดยทำการนับจำนวนเซลล์และตรวจวัดความหนาแน่นของเซลล์ทุกๆ 2 วัน เป็นเวลา 50 วัน ส่วนน้ำหนักเซลล์แห้งและการวิเคราะห์ปริมาณพอลิโพลิแซ็คคาไรด์ที่หลั่งออกมาภายนอกเซลล์จะทำทุกๆ 10 วัน เป็นเวลา 20 วัน ผลการศึกษาพบว่าการเพาะเลี้ยงบนอาหาร BG11 (B1) มีค่าการเจริญและปริมาณพอลิโพลิแซ็คคาไรด์ที่หลั่งออกมาภายนอกเซลล์สูงกว่าอาหาร BG11 (B0) โดยที่ Nostoc sp. UP2 มีการเจริญสูงสุดโดยมีค่าความหนาแน่นของเซลล์ ที่ OD= 560 nm. มีค่าเท่ากับ 0.616?0.051 ส่วน Nostoc sp. UP1 พบจำนวนเซลล์และน้ำหนักแห้งสูงสุด คือ 1.91?0.02x107 เซลล์ต่อมิลลิลิตร และ 908.87?7.82 มิลลิกรัมต่อลิตร ตามลำดับ ส่วนในการวัดปริมาณพอลิแซ็คคาไรด์พบว่า Nostoc sp. UP1 ให้ค่าสูงสุดในวันที่ 20 ซึ่งมีค่าเท่ากับ 0.915?0.22 มิลลิกรัมต่อลิตร โดยมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ (p0.05) เมื่อเปรียบเทียบกับชุดควบคุม สาหร่ายNostoc spp. ทั้ง 3 ชนิด มีศักยภาพและความเหมาะสมในการนำไปพัฒนาเป็นสารปรับปรุงดินชีวภาพได้ โดยในแง่ของการผลิตพอลิแซคคาไรด์ที่สูง คือสาหร่าย Nostoc sp. UP1 และ Nostoc sp. UP2 ที่เลี้ยงในอาหารสูตรที่มีไนโตรเจน ในขณะที่ Nostoc sp. UP3 มีการสร้างมวลชีวภาพสูงที่สุดเมื่อเพาะเลี้ยงในอาหารสูตรที่ไม่มีไนโตรเจน
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2556-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2557-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยพะเยา
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้และการใช้ประโยชน์จากจุลินทรีย์ในพื้นที่โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ มหาวิทยาลัยพะเยา
มหาวิทยาลัยพะเยา
30 กันยายน 2557
การศึกษาพันธุ์พืชสมุนไพรและการใช้ประโยชน์ เพื่ออนุรักษ์พันธุกรรมพืช โครงการอนุรักษ์พันธุ์กรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พื้นที่ปกปักพันธุกรรมพืชมหาวิทยาลัยพะเยา : ความหลากหลายทางพันธุกรรม จุลินทรีย์ใน ……… ชาเย็น โครงการวิจัยคัดเลือกจุลินทรีย์เพิ่มความอุดมสมบูรณ์และป้องกันโรคพืชในดินเพื่อเพิ่มผลผลิตพืช จุลินทรีย์ในน้ำดื่มบรรจุขวด การวิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยีรูปแบบศูนย์การเรียนรู้ตามโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ผลงานบริการของศูนย์นวัตกรรมผลิตหัวเชื้อจุลินทรีย์เพื่ออุตสาหกรรม วว. การแยกจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ทางการแพทย์จากข้าวบูดเพื่อประโยชน์ในการนำกลับมาใช้ทางแพทย์แผนไทย ความหลากหลายทางชีวภาพในเส้นทางศึกษาธรรมชาติ โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พื้นที่ปกปักพันธุกรรมพืชมหาวิทยาลัยพะเยา จังหวัดพะเยา

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก