สืบค้นงานวิจัย
ความต้องการรับการนิเทศงานส่งเสริมการเกษตรของเกษตรอำเภอในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
บุญเลิศ อาจทวีกุล - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: ความต้องการรับการนิเทศงานส่งเสริมการเกษตรของเกษตรอำเภอในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ชื่อเรื่อง (EN): THE NEED FOR AGRICULTURAL EXTENSION SUPERVISION OF KASET AMPHOE IN NORTHEAST THAILAND
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: บุญเลิศ อาจทวีกุล
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Boonlert Adthaveegoon
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา(1)สภาวะพื้นฐานทางเศรษฐกิจและสังคมของเกษตรอำเภอ(2)การได้รับการนิเทศงานส่งเสริมการเกษตร(3)ความตัองการรับการนิเทศงานส่งเสริมการเกษตร(4)เปรียบเทียบความต้องการรับการนิเทศงานส่งเสริมการเกษตรตามสภาวะพื้นฐานของเกษตรอำเภอ โดยอาศัยการวิเคราะห์ข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นเกษตรอำเภอในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 153 ราย ซึ่งได้รับการคัดเลือกด้วยวิธีการจัดสรรโควต้าในแต่ละจังหวัด และคัดเลือกแบบเจาะจงเพื่อให้ได้เกษตรอำเภอที่เคยรับการฝึกอบรมหลักสูตรนักบริหารส่งเสริมการเกษตรระดับอำเภอ(นสอ.)และเกษตรอำเภอที่ปฏิบัติงานอยู่ในเขตชลประทานและใช้ตารางเลขสุ่มสำหรับคัดเลือกเกษตรอำเภอที่อยู่นอกเขตชลประทานใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลและใช้เครื่องคอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูป SPSSxเป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ข้อมูล สถิติค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานสถิติค่า t-test และ F-test เป็นส่วนช่วยในการแปลความหมายข้อมูล ผลการศึกษาในเรื่องนี้สามารถนำไปปรับปรุงระบบการนิเทศงานของกรมส่งเสริมการเกษตรให้มีประสิทธิภาพขึ้น ผลการวิจัยมีดังนี้ ลักษณะพื้นฐานทางเศรษฐกิจและสังคมพบว่า เกษตรอำเภอส่วนมากเป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 46 ปี สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเที่ยบเท่า อัตราเงินเดือนเฉลี่ย 14,749 บาท ส่วนมากมีระยะเวลาดำรงตำแหน่งเกษตรอำเภอต่ำกว่า 5 ปี และมีพื้นที่ปฏิบัติงานอยู่นอกเขตชลประทาน การได้รับการนิเทศและระดับที่ให้การนิเทศ เกษตรอำเภอส่วนมากเคยได้รับการนิเทศในทุกด้าน ดังนี้ ด้านการบริหารงาน ด้านความรู้วิชาการเกษตร ด้านวิธีการส่งเสริม ด้านการใช้โสตทัศนูปกรณ์และกิจกรรมประกอบการนิเทศ ระดับที่ได้รับการนิเทศพบว่าทุกประเด็นเกษตรอำเภอส่วนมากได้รับการนิเทศจากผู้นิเทศระดับจังหวัด ความต้องการรับการนิเทศงานส่งเสริมการเกษตรและบุคคลที่ต้องการให้เป็นผู้นิเทศพบว่า เกษตรอำเภอต้องการรับการนิเทศด้านการบริหารงานในระดับมาก ได้แก่ เรื่องการบริหารงานบุคคลการบริหารงานส่งเสริมการเกษตร การบริหารสำนักงาน การพัฒนาสถาบันเกษตรกรและงานพิเศษอื่นๆและต้องการในระดับมากที่สุดคือเรื่องการบริหารงบประมาณอีกทั้งเกษตรอำเภอยังวต้องการรับการนิเทศด้านวิชาการอยู่ในระดับมาก ซึ่ไงด้แก่ความรู้วิชาการเรื่องข้าง พืชในกลุ่มไม่ผลยืนต้นและพืชในกลุ่มพืชผัก และต้องการระดับน้อยในเรื่องความรู้วิชาการในกลุ่มพืชไร่ นอกจากนี้เกษตรอำเภอยัวงต้องการรับการนิเทศวิธีการส่งเสริมแบบกลุ่ม และวิธีการส่งเสริมแบบมวลชนในระดับมากและยังต้องการให้ผู้นิเทศใช้โสตทัศนูปกรณ์และกิจกรรมประกอบการนิเทศในระดับมากอีกด้วยซึ่งได้แก่ เทปโทรทัศน์(วีดีโอ) การนำทัศนศึกษานอกสถานที่ ตัวอย่างของจริง สไลด์ การแจกเอกสารคำแนะนำ แผ่นปลิว การสาธิตวิธี ภาพถ่ายแผ่นใสและแผ่นพลิก ด้านการจัดการนิเทศ เกษตรอำเภอต้องการรับการนิเทศแต่ละครั้งนาน 3 ชั่วโมง ทำการนิเทศเดือนละ 1 ครั้ง โดยต้องการให้ผู้นิเทศยังสถานที่ที่มีการปฏิบัติงานหรือสถานที่ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่นิเทศ และต้องการให้ผู้นิเทศออกไปนิเทศทั้งเป็นทีมหรือเป็นรายบุคคลในกรณีเป็นทีมๆละ 2-3 คน เกษตรอำเภอต้องการผู้นิเทศที่ไม่จำกัดในเรื่องอายุ เพศและระดับการศึกษา และต้องการคุณสมบัติอื่นๆในระดับมากที่สุดซึ่งได้แก่ การมีความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ด้านเทคนิควิธีการส่งเสริมและสามารถถ่ายทอดความรู้ได้อย่างชัดเจน การเปรียบเทียบความต้องการรับการนิเทศตามความต้องการในสภาวะพื้นฐานทางเศรษฐกิจและสังคมของเกษตรอำเภอพบว่า เกษตรอำเภอที่มีระดับอายุ ระดับการศึกษา เงินเดือน เคยรับการฝึกอบรมหลักสูตรนักบริหารส่งเสริมการเกษตรระดับอำเภอ(นสอ.)และมีพื้นที่ปฏิบัติงานในเขตชลประทาน มีความต้องการรับการนิเทศในด้าน เรื่องที่นิเทศและการใช้โสตทัศนูปกรณ์และกิจกรรมประกอบการนิเทศไม่แตกต่างกันที่ระดับความเชื่อมั่น 95% แต่เกษตรอำเภอที่มีระยะเวลาดำรงตำแหน่งที่แตกต่างกันมีความต้องการเรื่องที่รับการนิเทศแตกต่างกัน
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2535
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2536
เอกสารแนบ: https://dric.nrct.go.th/index.php?/Search/SearchDetail/39085
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ความต้องการรับการนิเทศงานส่งเสริมการเกษตรของเกษตรอำเภอในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
กรมส่งเสริมการเกษตร
2536
เอกสารแนบ 1
การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานส่งเสริมการเกษตรของนักวิชาการส่งเสริมการเกษตรภาคตะวันออก กลุ่มเกษตรกรที่มีประสิทธิภาพตามทรรศนะของเกษตรอำเภอในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ความคิดเห็นของเกษตรตำบลที่มีต่อการปฏิบัติงานของเกษตรอำเภอในภาคตะวันออก การดำเนินงานกลุ่มส่งเสริมอาชีพการเกษตรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ความคิดเห็นต่อการนิเทศงานส่งเสริมการเกษตรของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรในจังหวัดอุดรธานี ความต้องการและปัญหาในการใช้สื่อเพื่อส่งเสริมการเกษตรของเกษตรตำบลในเขตภาคตะวันออก ความต้องการรับการนิเทศงานส่งเสริมการเกษตรของเกษตรตำบลในภาคใต้ ความต้องการความรู้ด้านการเกษตรของครูสอนงานเกษตร ระดับประถมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การแสดงออกในบทบาทนิเทศงานส่งเสริมการเกษตรของเกษตรอำเภอตามการรับรู้ของเกษตรตำบลในจังหวัดเชียงใหม่ ทัศนคติของเกษตรอำเภอที่มีต่อหน่วยงานวิชาการเกษตร

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก