สืบค้นงานวิจัย
สภาพการผลิตและปัญหาความต้องการพัฒนาการผลิตข้าวหอมมะลิของเกษตรกรผู้ร่วมโครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน ปี 2543 จังหวัดสกลนคร
นายฉลอง อินทนนท์ - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: สภาพการผลิตและปัญหาความต้องการพัฒนาการผลิตข้าวหอมมะลิของเกษตรกรผู้ร่วมโครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน ปี 2543 จังหวัดสกลนคร
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: นายฉลอง อินทนนท์
คำสำคัญ:
หมวดหมู่:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคล เศรษฐกิจและปัจจัยด้านอื่นๆ สภาพการผลิตข้าวหอมมะลิ ความต้องการพัฒนาการผลิตข้าวหอมมะลิและสภาพปัญหาการผลิตข้าวหอมมะลิ ของเกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการศูนย์ส่งเสริมละผลิตพันธุ์ข้าวชุมชนปี 2543 จังหวัดสกลนคร ประชากรที่ศึกษาคือเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน ปี 2543 ในพื้นที่13 อำเภอ สำหรับเกษตรกรตัวอย่างใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย(Simple random sampling) จำนวน 275 คน คิดเป็นร้อยละ 30.89 ของประชากรเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for WINDOWS สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรผู้ให้ข้อมูลร้อยละ 82.90 เป็นชายอายุเฉลี่ย 48 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา มีสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 5 คน มีแรงงานเฉลี่ย 3 คนต่อครัวเรือนส่วนใหญ่เป็นสมาชิกสถาบันเกษตรกร มากกว่า 1 สถาบัน ร้อยละ 46.50 ใช้แหล่งเงินทุนจากการกู้ยืมเงินจากธนาคารเพื่อการเกษตร ร้อยละ 42.20 มีพื้นที่ทำนาเฉลี่ย 11-20 ไร่เป็นของตนเองและมีเอกสารสิทธิ์ เครื่องจักรกลเกษตรส่วนใหญ่ใช้รถไถนาเดินตาม พื้นที่ปลูกข้าวหอมมะลิเฉลี่ย 8 ไร่ ส่วนใหญ่เป็นนาน้ำฝนดินร่วนปนทราย ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ เฉลี่ยไร่ละ 212.76 กิโลกรัม ส่วนใหญ่ไม่ได้หว่านปุ๋ยพืชสดปลูกข้าวแบบนาดำ ใช้เมล็ดพันธุ์เฉลี่ย 15 กิโลกรัม/ไร่ มีการไถคราด 2 ครั้ง ใช้กล้าอายุ 29-31 วัน มีการใส่ปุ๋ยเคมีในช่วงตกกล้าสูตร16-16-8 ใช้ระยะปักดำ 25x25 เซนติเมตร ใส่ปุ๋ยเคมี 2 ครั้งครั้งแรกใส่ช่วงต้นข้าวอายุน้อยกว่า 10 วัน ใช้ปุ๋ยสูตร 16-16-8 อัตราเฉลี่ย 24.03 กิโลกรัม/ไร่ ครั้งที่ 2 ใส่ช่วงต้นข้าวอายุ 61-80 วัน ใช้ปุ๋ยสูตร 46-0-0 อัตราเฉลี่ย 10.30 กิโลกรัม/ไร่ ศัตรูข้าวที่พบทำลายส่วนใหญ่เป็นหนอนกอและโรคไหม้เกษตรกรไม่มีการใช้สารเคมีในการป้องกันกำจัดศัตรูข้าว การเก็บเกี่ยวใช้แรงงานคนและเกี่ยวข้าวหลังจากออกรวง 28-30 วัน มีการตากฟ่อนข้าวน้อยกว่า 3 แดด ใช้เครื่องนวดในการนวดข้าวส่วนใหญ่เก็บผลผลิตในยุ้งฉางผลผลิตเฉลี่ย 444 กิโลกรัม/ไร่ ต้นทุนในการผลิตเฉลี่ย 1,586.06บาท มีรายได้เฉลี่ย1,616.65 บาทต่อไร่เกษตรกรมีปัญหาในการผลิตข้าวหอมมะลิน้อย มีความต้องการเรียนรู้มากที่สุดคือด้านการตลาด รองลงมาคือด้านเทคนิคการจัดทำแปลงขยายพันธุ์ข้าวและการตัดพันธุ์ปนเพื่อผลิตเมล็ดพันธุ์ดี การดูแลรักษาแปลงข้าวเพื่อเพิ่มผลผลิต การป้องกันและกำจัดศัตรูข้าว ปุ๋ยและการใช้ปุ๋ยเคมีที่ถูกต้อง การป้องกันกำจัดวัชพืช การเก็บเกี่ยวและการเก็บรักษาพันธุ์ข้าว การปรับปรุงบำรุงดินและการใช้และบำรุงรักษาเครื่องจักรกล ข้อเสนอแนะของผู้ศึกษา เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรควรแนะนำให้เกษตรกรมีความรู้ด้านการตลาด ความรู้ด้านเทคโนโลยีการเพิ่มผลิตข้าวเพื่อผลิตเมล็ดข้าวพันธุ์ดี สำหรับการศึกษาครั้งต่อไปควรศึกษาด้านการตลาดและปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับเมล็ดพันธุ์ข้าวพันธุ์ดีของเกษตรกรผู้ร่วมโครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชนต่อไป
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2543
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2545
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
พื้นที่ดำเนินการ: จังหวัดสกลนคร
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
สภาพการผลิตและปัญหาความต้องการพัฒนาการผลิตข้าวหอมมะลิของเกษตรกรผู้ร่วมโครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน ปี 2543 จังหวัดสกลนคร
กรมส่งเสริมการเกษตร
2545
สภาพการผลิตข้าวหอมมะลิของเกษตรกรผู้ร่วมโครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน อำเภอโพนนาแก้ว จังหวัดสกลนคร ปี 2544 สภาพการผลิตพันธุ์ข้าวเกษตรกรผู้ร่วมโครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน อำเภอพล จังหวัดขอนแก่น สภาพการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ของเกษตรกรผู้ร่วมโครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน ปี 2543 ในจังหวัดสุรินทร์ สภาพการผลิตและปัญหาความต้องการพัฒนาการผลิตข้าวหอมมะลิ ของเกษตรกร ปี 2546 ตำบลเดื่อศรีคันไชย อำเภอวรนิวาส จังหวัดสกลนคร การใช้เทคโนโลยีการผลิตพันธุ์ข้าวของเกษตรกรผู้ร่วมโครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชนอำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น สภาพการผลิตพันธุ์ข้าวของเกษตรกรผู้ร่วมโครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู การใช้เทคโนโลยีในการผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ของเกษตรกรผู้ร่วมโครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชนในจังหวัดนครพนม การใช้เทคโนโลยีการผลิตพันธุ์ข้าวของเกษตรกร โครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน อำเภอหนองสองห้อง จังหวัดขอนแก่น การใช้เทคโนโลยีการผลิตพันธุ์ข้าวของเกษตรกรโครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน อำเภออุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น การใช้เทคโนโลยีการผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ของเกษตรกรผู้ร่วมโครงการและไม่เข้าร่วมโครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชนจังหวัดนครราชสีมา

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก