สืบค้นงานวิจัย
การประเมินศักยภาพการให้ผลผลิต การพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวลูกผสมและการเพาะปลูกข้าวลูกผสมระบบ 2 สายพันธุ์ (โครงการต่อเนื่องปีที่ 2)
สุภาพร จันทร์บัวทอง - สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน)
ชื่อเรื่อง: การประเมินศักยภาพการให้ผลผลิต การพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวลูกผสมและการเพาะปลูกข้าวลูกผสมระบบ 2 สายพันธุ์ (โครงการต่อเนื่องปีที่ 2)
ชื่อเรื่อง (EN): Yield evaluation of 2-line rice hybrids and development of Their seed production and cultivation technologies
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สุภาพร จันทร์บัวทอง
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: งานวิจัยการประเมินศักยภาพการให้ผลผลิต การพัฒนาเทคโนโลยีการผลผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวลูกผสมและการเพาะปลูกข้าวลูกผสมระบบ 2 สายพันธุ์ ดำเนินการที่ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี ศูนย์วิจัยข้าวชัยนาท ศูนย์วิจัยข้าวสุพรรณบุรี ศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก ศูนย์วิจัยข้าวสะเมิง และศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ พบว่าการเพิ่มจำนวนเมล็ดสายพันธุ์แม่ (S line) เพื่อใช้ในการศึกษาการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวลูกผสมชั่วที่1ในสภาพธรรมชาติ ดำเนินการที่ศูนย์วิจัยข้าวสะเมิง ทำการปลูกข้าวสายพันธุ์แม่จำนวน 3 สายพันธุ์ ที่อุณหภูมิเฉลี่ย ในช่วงออกดอก 19-33.3 องศาเชลเชียส ข้าวสายพันธุ์แม่ B2 สามารถเพิ่มผลผลิตปริมาณเมล็ดพันธุ์แม่ได้ 39 กิโลกรัม B6 41 กิโสกรัม และ B8 52 กิโลกรัม การผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวลูกผสม โดยทำการศึกษาการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวลูกผสมสายพันธุ์ดีเด่น จำนวน 5 คู่ผสม พบว่า คู่ผสมระหว่าง B8/PTT1 กรรมวิธีตัดใบเทคนิดธงและฉีดGA ให้ผลผสิตสูงที่สุด 32 กรัม/ตารางเมตร คู่ผสมระหว่าง BB/KLG96006-76-1 กรรมวิธีตัดใบธงและฉีดG4 ให้ผลผลิตสูงที่สุด 28 กรัม/ตารางเมตร คู่ผสมระหว่าง BB/RD31 กรรมวิธีไม่ตัดใบธงและไม่ฉีด GA3 และกรรมวิตัดใบธงฉีดGA3 ให้ผลผลิตไม่แตกต่างกัน คือ 16 และ 13 กรัม/ตารางเมตร คู่ผสมระหว่าง BB/SPR93014-PTT-22-1-3-2-1 กรรมวิตัตใบธงและฉีด GA3 ห้ผลผสิตสูงที่สุด 14 กรัม/ตารางเมตร และ คู่ผสมระหว่าง BB/KLG02008-19-2-2-4-3 กรรมวิธีตัดใบธงและฉีต GA3, ให้ผลผลิตสูงที่สุด 21 กรัม/ตารางเมตร การตรวจสอบความบริสุทธิ์ของข้าวสายพันธุ์พ่อ จำนวน 6 พันธุ์/สายพันธุ์ พบว่า SPR93014-PTT-22-1-3-2-1, KLG96006-76-1, SPR93039-PTT-4-2-1-3-2-1, PTT1, KLG02008-19-2-2-4-3, RD31 มีความบริสุทธิ์ของเมล็ดพันธุ์ ร้อยละ 100, 100, 97.4, 94.3, 91.2 และ 67.9 การตรวจสอบความบริสุทธิ์ของข้าวลูกผสม จำนวน 7 ตู่ผสม พบว่า คู่ผสม B8/KLG96006-76-1, B8/5PR93039-PTT-4-2-1-2-2-1, B8/SPR93014-PTT-22-1-3-2-1, BB/PTT1, BB/KLG02008-19-2-2-4-3, B8/RD31 และB6/KLG96006-76-1 มีความบริสุทธิ์ของเมล็ดพันธุ์เท่กับ ร้อยละ 100, 94.9, 94.9, 925, 90, 89.5 และ57.5 ตามลำดับ การตรวจสอบความบริสุทธิ์ของเมล็ดพันธุ์ข้าวสายพันธุ์แม่ ที่ผลิตจากศูนย์วิจัยข้าวสะเมิงจำนวน 3 สายพันธุ์ พบว่ B2, B6และ :8 มีความบริสุทธิ์ของเมล็ตพันธุ์ ร้อยละ 100, 60-92 และ 86-36 ตามลำตับ การเปรียบเยบผลผสิตข้าวลูกผสมระหว่างสถานี ฤดูนาปี พ.ศ.2558 พบว่า คู่ผสมที่ให้ผลผลิต เฉลี่ยสูงสุด 7 อันตับ คือ คู่ผสม B8/PSL03450-91-1-6-1 ให้ผลผลิตเสี่ย 964 กิโลกรัม รองลงมาBB/SPR93014-PTT-22-1-3-2-1, B8/KLG96006-76-1, B8/RD47, B&/PTT, B8/SPR93039-PTT-4-2-1-2- 2-1 และB8/RD3 1 ให้ผลผลิตเฉลี่ย 947 , 945, 937,930,925 และ 919 กิโลกรัม สำหรับ ฤดูนาปรังปี พ.ศ.2559 พบว่า ที่ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี คู่ผสม B8 /PTT98044-64-1-1-2 ให้ผลผลิตสูงสุด 894 กิโลกรัมต่อไร่ สูง กว่าพันธุ์เปรียบเทียบ พันธุ์ ปทุมธานี 1, กชผ3, กช57 และ กขผ1 (528, 688, 712 และ 793 ก็โลกรัมต่อไร่)ร้อยละ 69, 30, 26 และ 13 ตามลำดับ รองลงมา คือ B8/5PR93039-PTT4-2-1-2-2-1 และ BB/KLG96006-76-1 ให้ผลผลิต 842 และ 810กิโลกรัมต่อไร่ ที่ศูนย์วิจัยข้าวชัยนาท คู่ผสมที่BB/KLG96006-76-1 ให้ผลผลิตสูงสุด 841 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์เปรียบเทียบ พันธุ์ ปทุมธานี1 , กข57,กขผ1 และ กซผ3 (507, 719, 735และ 745 กิโลกรัมต่อไร่) ร้อยละ 66, 17, 14 และ 13 ตามลำดับ รองลงมาคือ B8/PSL03450-91-1-6-1 และ B8/SPR90 ให้ผลผลิต 811 และ 808 กิโลกรัมต่อไร่ ที่ศูนย์วิจัยข้าวสุพรรณบุรี คู่ผสม B8/PTT1 ที่ให้ผลผลิตสูงสุด 798 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์เปรียบเทียบ กขผ1( 672 กิโลกรัมต่อไร่) ร้อยละ 19 การทดสอบคุณภาพทางกายภาพของข้าวลูกผสม พบว่า ข้าวลูกผสมส่วนใหญ่มีเปลือกสีฟาง รูปร่างเมล็ดเรียวยาว มีค่าความยาวเมล็ตเฉลี่ย 7.14-7.70 และค่าท้องไข่ เฉลี่ย 0.64-1.85 ผลการวิเคราะห์คุณภาพทางเคมี พบว่าข้าวลูกผสมส่วนใหญ่ มีอมิโลสสูง (25.23-27.87เปอร์เซ็นต์) จำนวน 7 คู่ผสม ปานกลาง (21.88-23.92 เปอร์เซนต์) 8 คู่ผสม และอมิโลสต่ำ ( 16.63-19.95 เปอร์เซ็นต์) 3 คู่ผสมและไม่มีกลิ่นหอม การทดสอบปฏิกิริยาของพันธุ์ข้าวลูกผสมต่อโรคไหม้ ที่ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี พบว่า มีความต้านทานในระดับ ค่อนข้างต้านทาน (MR) จำนวน 8 สายพันธุ์ ค่อนข้างอ่อนแอ (MS) จำนวน 9 สายพันธุ์ ที่ศูนย์วิจัยข้าวชัยนาท พบว่า ข้าวลูกผสมมีปฏิกิริยาต้านทานสูง (HR) จำนวน 13 สายพันธุ์ มีปฏิกิริยาต้านทาน(R) จำนวน 6 สายพันธุ์ การทดสอบปฏิกิริยาต่อโรคขอบใบแห้งที่ศูนย์วิจัยข้าวชัยนาท พบว่า ข้าวลูกผสมที่ปฏิกิริยาต้านทาน (R) จำนวน 2 สายพันธุ์ ค่อนข้างต้านทาน (MR) จำนวน 8 สายพันธุ์ การทดสอบปฏิกิริยาต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ที่ศูนย์วิจัยข้าวชัยนาท พบว่า ข้าวลูกผสมแสดงปฏิกิริยาค่อนข้างอ่อนแอ (MS)จำนวน 11 สายพันธุ์ และแสดงปฏิกิริยาอ่อนแอ (S) จำนวน 5 สายพันธุ์ ศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก พบว่า ข้าวลูกผสมแสดงปฏิกิริยาค่อนข้างต้านทาน (MR) จำนวน 1 สายพันธุ์ แสดงปฏิกิริยาค่อนข้างอ่อนแอ (MS)จำนวน 17 สายพันธุ์ และแสดงปฏิกิริยาอ่อนแอ (S) จำนวน 2 สายพันธุ์ การทดสอบปฏิกิริยาของพันธุ์ข้าวลูกผสมต่อเพลี้ยกระโดดหลังขาว พบว่า ข้าวลูกผสมที่แสดงปฏิกิริยาค่อนข้างต้านทาน (MR) จำนวน 3 สายพันธุ์ และแสดงปฏิกิริยาค่อนข้างอ่อนแอ (MS) จำนวน 17 สายพันธุ์ พัฒนาเทคโนโลยีการผลิตที่เหมาะสมสำหรับการเพาะปลูกข้าวลูกผสมระบบ 2 สายพันธุ์ พบว่า การปักดำที่ระยะ 20 x 20 เซนติเมตร ข้าวลูกผสมสายพันธุ์ B8/S PR93039-PTT-4-2-1-2- 2-1 ข้าวให้ผลผลิตสูงที่สุด 780 กิโลกรัม/ไร่ ส่วนการใส่ปุ๊ยไนโตรเจนอัตรา 12 18 24 และ 30 กิโลกรัมไนโตรเจนต่อไร่ โดยแบ่งใส่ 3 ครั้ง ร่วมกับการใส่ปุ๋ยฟอสฟอรัส และโพแทสเชียมอัตรา 6-6 กิโลกรัม P205-K20 ต่อไร่ ว้นปักดำ มีแนวโน้มให้ผลผลิตสูงกว่า การใส่ปุ๋ยไนโตรเจนอัตรา 0 และ 6 กิโลกรัมไนโตรเจนต่อไร่ ร้อยละ 1.8-21.3
บทคัดย่อ (EN): Two-line hybrid rice system research study on yield potential, seed production, and cultivation technologies was conducted at 5 rice research centers; Pathumthani, Chainat, Suphanburi, Phitsanulok and Samoerng, This study was also carried out at National Genetic Engineering and Biotechnology Center. The result revealed that seed multiplication of 3 TGMS ( Thermo-sensitive Genetic Male Sterile) lines between 19-33.3 c at booting stage under field conditions were 39, 41, and 52 kilograms of B2, B6 and B8 lines, respectively. Fi seed production served for the yield trial experiment of 5 crosses; B8/KLG96006- 76-1, B8/RD31, B8/SPR93014-PTT-22-1-3-2-1, B8/PTT1 and B8/KLG0208-19-2-2-4-3 gave 12, 9, 7, 7 and 5 kilograms, respectively. The combination of flag leaf clipping and a growth regulator (GAy) spraying techniques to produce Fi hybrid seed were found that seed yield ability depended upon hybrid crosses. There were 4 crosses; B8/PTT1, B8/KLG96006-76-1, B8/SPR93014-PTT-22-1-3 2-1 and B8/RD31, which were treated with flag leaf clipping and GAs gave F, seed yield for 32, 28, 14 and 13 grams/m. Meanwhile, seed yielding of B8/KLG02008-19-2-2.4-3 was 21 grams/m" with untreated control. However, B8/RD31 was not significantly different seed yield among treatments: untreated control and flag leaf clipping and GAs technuque. Seed purity verification was evaluated in terms to male, F,hybrid and female lines. The seed purity of 6 male lines; SPR93014-PTT-22-1-3-2-1, KLG9600 6-76-1, SPR93039-PTT-4- 2-1-3-2-1 PTT1, KLG02008-19-2-2-4-3, RD31 were 100, 100, 97.4, 94.3, 91.2 and 67.9 percent, respectively. Fi seeds of 7 hybrid crosses; B8/KLG96006-76-1, B8/SPR93039-PTT-4-2-1-2-2-1, BB/SPR93014-PTT-22-1-3-2-1, BB/PTT1, B8/KLG02008-19-2-2-4-3, B8/RD31 and B6/KLG96006- 76:1 were 100, 94.9, 94.9, 92.5, 90, 89.5 and 57.5 percent, respectively. Seed purity of 3 female lines; B2, B6 and B8 derived from Samoeng Rice Research Center were 100, 60-92 and 86-36 percents, respectively. According to Hybrid Rice Interstation Yield Trial in wet season 2016, there were 7 hybrid crosses; B8/PSL03450-91-1-6-1, B8/SPR93014-PTT-22-1-3-2 1, BB/KLG96006-76-1, BB/RD47, B8/PTT 1, B8/SPR93039-PTT-4-2-1-2:2-1 and B8/RD31 which gave high grain yield for 964, 947, 945, 937,930,925 and 919 kilograms/rai, respectively. Dry season 2016 at Pathumthani Rice Research Center, B8/PTT98044-64-1-1-2 gave best grain yield for 894 kilograms/rai, higher than standard checks; PTT1, RDH3, RD57 and RDH1 (528, 688, 712 and 793 kilograms/rai), for 69, 30, 26 และ 13 percent, respectively. B8/SPR93039-PTT-4-2-1-2:2-1 and B8/KLG96006-76-1 were second and third best ranking which had 842 and 810 kilograms/rai. Chainat Rice Research Center, B8/KLG96006-76-1 gave best grain yield for 841 kilograms/rai higher than standard checks; PTT1, RD57, RDH1 and RDH3 (507, 719, 735 and 745 kilograms/rai) for 66, 17, 14 and 13 percent, respectively. The second and third best yield ranking were B8/PSL03450-91-1-6-1 and B8/5PR90 which had 811 and 808 klograms/rai. Suphanburi Rice Research Center, B8/PTT1 gave highest grain yield for 798 kilograms/rai which was 19 percent higher than standard check RDH1 (672 kilograms/rai). Physical grain properties of most hybrid rice lines were yellow straw color on rice hulks, slender shape grains, 7.14-7.70 centimetres long, chalkiness value 0.64-1.85. Chemical grain properties of hybrid lines were analysed in terms of amylose content; 7 lines for high (25.23-27.87 percent), 8 lines for intermediate (21.88-23.92 percent) and 3 lines for low (16.63-19.95 percent). All the hybrid lines were non aromatic. Screening test of F, hybrid resistance to rice blast disease in Pathumthani Rice Research Center there were 8 lines evaluated for moderately resistant (MR) and 9 lines for moderately susceptible (MS). Chainat Rice research center, there were 13 and 6 lines performed as highly resistant (HR) and resistant (R) to rice blast disease. The reaction to bacterial Leaf blight disease, there were 2 lines reacted as resistant (R) and 8 crosses as moderately resistant (MR). Testing for insect pests, there were 11 hybrid lines performed as moderately susceptible and 5 lines as susceptible to brown planthopper. Phitsanulok Rice Reserach Center, F1 hybrid lines were tested for resistant to brown planthopper and whiteback planthopper. There were only 1 Line performed as moderately resistant (MR), 17 Lines were moderately susceptible (MS) and 2 lines were susceptible (S) to brown planthopper. Reactions to whiteback planthopper, F1 hybrid lines performed moderately resistant (MR) 3 Lines and moderately susceptible (MS) 17 lines. Cultivation technologies development for 2 line hybrid rice found that F, seeds of B8/5PR93039-PTT-4-2-1-2-2-1 transplanted for 20 x 20 centimetres in spacing gave the best grain yield for 780 kilograms/rai. Conbination of spliting 3 times application of total N- fertilizer at 12, 18, 24 and 30 kilograms/rai with 6-6 kilograms/rai of P2Os-KO fertilizer gave higher grain yield than 0 and 6 kilograms/rai of N for 1.8-21.3 percent.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2558-10-12
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2559-10-11
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) (สวก.)
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การประเมินศักยภาพการให้ผลผลิต การพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวลูกผสมและการเพาะปลูกข้าวลูกผสมระบบ 2 สายพันธุ์ (โครงการต่อเนื่องปีที่ 2)
สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) (สวก.)
11 ตุลาคม 2559
การพัฒนารูปแบบการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวโดยเกษตรกร (ต่อเนื่องปีที่ 2) การพัฒนารูปแบบการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวโดยเกษตรกร (ต่อเนื่องปีที่ 2) การพัฒนารูปแบบการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวโดยเกษตรกร การพัฒนากระบวนการต้นแบบในการทดสอบพันธุ์ข้าวลูกผสม การปรับปรุงพันธุ์ข้าวลูกผสมเพื่อเพิ่มผลผลิตและคุณภาพสำหรับการแปรรูปเชิงอุตสาหกรรม การประเมินศักยภาพการให้ผลผลิต การพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเมล็ด พันธุ์และการเพาะปลูกข้าวลูกผสมระบบ 2 สายพันธุ์ (ส่วนไบโอเทค) ปีที่ 2 การประเมินศักยภาพการให้ผลผลิต การพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเมล็ด พันธุ์และการเพาะปลูกข้าวลูกผสมระบบ 2 สายพันธุ์ (ส่วนไบโอเทค) ปีที่ 3 การประเมินศักยภาพการให้ผลผลิตการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวลูกผสมและการเพาะปลูกข้าวลูกผสมระบบ 2 สายพันธุ์ (โครงการต่อเนื่องปีที่ 2) การประเมินศักยภาพการให้ผลผลิต การพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเมล็ด พันธุ์ข้าวลูกผสมและการเพาะปลูกข้าวลูกผสมระบบ 2 สายพันธุ์(โครงการต่อเนื่องปีที่ 3) ข้าวลูกผสมในประเทศไทย

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก