สืบค้นงานวิจัย
การจำแนกประชากรโรคไหม้ของข้าวโดยใช้ลายพิมพ์เอกลักษณ์ดีเอ็นเอในประเทศไทย
พูนศักดิ์ เมฆวัฒนากาญจน์ - กรมการข้าว
ชื่อเรื่อง: การจำแนกประชากรโรคไหม้ของข้าวโดยใช้ลายพิมพ์เอกลักษณ์ดีเอ็นเอในประเทศไทย
ชื่อเรื่อง (EN): Characterization of Pyricularia grisea Sacc. population by lineage using MGR-DNA fingerprinting in Thailand
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: พูนศักดิ์ เมฆวัฒนากาญจน์
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Poonsak Mekwattanakarn
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: สุ่มเก็บตัวอย่างราสาเหตุโรคไหม้ของข้าว (Pyricularia grisea Sacc.) จากแปลงปลูกดักเชื้อโดยใช้พันธุ์ข้าวที่มียีนส์ต้านทานต่างๆ กันที่ปลูกทดสอบในสภาพ upland short row method นำเชื้อที่เก็บแยกได้ไปแยกสปอร์เดี่ยวเพื่อให้เชื้อบริสุทธิ์ นำดีเอ็นเอของเชื้อไปเปรียบเทียบโดยวิธี Restriction Fragment Length Polymorphism โดยทำการ hybridize ชิ้นส่วนดีเอ็นเอด้วย Repetitive probe(MGR586) ที่ติดฉลากด้วยสารกัมมันตภาพรังสี (P32) ทำการสร้างภาพลายพิมพ์เอกลักษณ์ดีเอ็นเอบนแผ่นฟิลม์ด้วยวิธีออโตเรดิโอกราฟี จากนั้นจึงวิเคราะห์ลายพิมพ์เอกลักษณ์ของเชื้อโดยวิธี Cluster analysis และ Boot trap analysis จากการตรวจสอบความผันแปรของเชื้อโดยใช้ MGR586 พบว่าสามารถแบ่งแยกเชื้อออกได้เป็นกลุ่มอย่างชัดเจน โดยเปรียบเทียบความเหมือนกันของขนาดดีเอ็นเอ ถ้ามีความเหมือนกันมากกว่า 80% ถือว่าเชื้ออยู่ในกลุ่มเดียวกัน(Genetic lineage) จากการตรวจสอบเชื้อจำนวน 654 ตัวอย่างสามารถแบ่งเชื้อได้ 51 lineage เชื้อใน lineage 2, 5 และ 43 จากการตรวจสอบเชื้อจำนวน 83, 37 และ 50 ตัวอย่าง เชื้อตามลำดับ พบว่าเชื้อทั้ง 3 นี้สามารถตรวจพบในทั้งสามภาคคือ ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง เชื้อใน lineage 2 เป็นเชื้อกลุ่มใหญ่ที่สุดและมีความแปรปรวนของเชื้อภายในกลุ่มนี้มาก โดยเฉพาะเชื้อ lineage 5 ที่เก็บมาจากแปลงปลูกดักเชื้อทั้ง 5 แหล่ง มีความหลากหลายมากที่สุด โดยมีค่าความหลากหลาย 0.871 ส่วนเชื้อ lineage 43 มีความหลากหลายน้อยกว่าเชื้อ lineage 2 และ 5 ซึ่งมีค่วความหลากหลาย 0.69 พบเชื้อนี้มากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบ 208 pathotype จากเชื้อที่ทดสอบโรคบนพันธุ์ข้าว Near Isogenic Line และพันธุ์ข้าวไทยจำนวน 543 ไอโซเลท ในแต่ละ lineage พบหลากหลาย pathotype จะเห็นได้ว่า MGR586 สามารถตรวจสอบความผันแปรของเชื้อราสาเหตุโรคไหม้ของข้าวได้เป็นอย่างดี โดยสามารถแบ่งเชื้อออกเป็นกลุ่มได้อย่างชัดเจน ข้อมูลนี้น่าจะมีประโยชน์ในการนำไปใช้ประโยชน์ในการปรับปรุงพันธุ์ข้าวให้ต้านทานต่อโรคไหม้ได้
เอกสารแนบ: http://anchan.lib.ku.ac.th/agnet/bitstream/001/1409/1/contentsR-C41001.pdf
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมการข้าว
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การจำแนกประชากรโรคไหม้ของข้าวโดยใช้ลายพิมพ์เอกลักษณ์ดีเอ็นเอในประเทศไทย
กรมการข้าว
ไม่ระบุวันที่เผยแพร่
เอกสารแนบ 1
กรมการข้าว
แป้งข้าวก่ำดัดแปรและผลิตภัณฑ์จากข้าวก่ำเพื่อประโยชน์ด้านสุขภาพ เชิงป้องกัน ข้าวให้พลังงานผสานคุณค่าอาหาร การยับยั้งการเพิ่มจำนวนไวรัสนิวคลีโอโพลีฮีโดร (NPV) ของไหม โดยใช้ double-strand RNA interference การตรวจลายพิมพ์ดีเอ็นเอเพื่อรองรับการขึ้นทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาของข้าวก่ำพะเยา การตรวจสอบความหลากหลายของสายพันธุ์เชื้อราสาเหตุโรคไหม้ของข้าวในประเทศไทย การใช้สารสกัดจากพืชในการควบคุมโรคไหม้ของข้าว การส่งเสริมและพัฒนาการป้องกันและกำจัดโรคไหม้ของข้าวในประเทศไทย การใช้สารสกัดจากพืชในการควบคุมโรคไหม้และโรคขอบใบแห้งข้าว โครงการการสืบหาและการประเมินประสิทธิภาพของการใช้ดีเอ็นเอเครื่องหมายในการคัดเลือกลักษณะความต้านทานโรคใบไหม้แผลใหญ่ (NCLB) และโรคใบด่างอ้อยในข้าวโพด การสืบหาและการประเมินประสิทธิภาพของการใช้ดีเอ็นเอเครื่องหมายในการคัดเลือกลักษณะความต้านทานโรคใบไหม้แผลใหญ่ (NCLB)และโรคใบด่างอ้อย (SCMV) ในข้าวโพด (ปีที่ 3)

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก