สืบค้นงานวิจัย
การศึกษาลักษณะทางสัณฐานและสรีรวิทยาที่เกี่ยวข้องกับลักษณะความต้านทานการหักล้มของข้าว
ปริชาติ คงสุวรรณ - กรมการข้าว
ชื่อเรื่อง: การศึกษาลักษณะทางสัณฐานและสรีรวิทยาที่เกี่ยวข้องกับลักษณะความต้านทานการหักล้มของข้าว
ชื่อเรื่อง (EN): Study on morpho-physiological traits associated with lodging resistance in Rice
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ปริชาติ คงสุวรรณ
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Pharichart Khongsuwan
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การหักล้มของต้นข้าวส่งผลให้ผลผลิตข้าวในสภาพนาน้ำฝนโดยเฉพาะในพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 และกข6 ได้รับความเสียหาย การพัฒนาสายพันธุ์ข้าวนาน้ำฝนให้ทนต่อการหักล้มได้ดำเนินการภายใต้โครงการวิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าวนาสวนนาน้ำฝน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เนื่องด้วยความเข้าใจเรื่องลักษณะทางสัณฐานและสรีรวิทยา และค่าประเมินความต้านทานการหักล้มที่เหมาะสมที่จะใช้เป็นดัชนีในการคัดเลือกลักษณะความต้านทานการหักล้มยังมีค่อนข้างจำกัด ดำเนินการทดลอง ในฤดูนาปี พ.ศ.2555 ที่ศูนย์วิจัยข้าวอุบลราชธานี ศูนย์วิจัยข้าวนครราชสีมา และศูนย์วิจัยข้าวอุดรธานี โดยศึกษาลักษณะทางสัณฐานและสรีรวิทยา เพื่อใช้เป็นดัชนีในการคัดเลือกลักษณะความต้านทานการหักล้ม ใช้กลุ่มสายพันธุ์ข้าวต่างๆ คือ สายพันธุ์ข้าวจากคู่ผสม IR68586//เหลืองหอม/KDML105 สายพันธุ์ข้าวต้นเตี้ย และสายพันธุ์ข้าวที่มีศักยภาพการให้ผลผลิตสูง พร้อมด้วยพันธุ์เปรียบเทียบมาตรฐาน (checks) คือ เหนียวอุบล 2 อยุธยา 1 ขาวดอกมะลิ 105 และ กข6 ได้ทำการประเมินลักษณะทางสัณฐานและสรีรวิทยา ได้แก่ ขนาดของลำต้นปล้องที่ 4 ทั้งที่มีกาบใบและไม่มีกาบใบ เส้นผ่านศูนย์กลางของปล้องที่ 4 ความยาวของลำต้นส่วนบน (ปล้องที่ 1-3) ความยาวของลำต้นส่วนล่าง (ปล้องที่ 4-5) น้ำหนักสดลำต้น น้ำหนักราก และความสูง ทำการประเมินค่าความต้านทานการหักล้ม ได้แก่ ค่าแรงต้านทานการหักล้ม ค่าประเมินการหักล้มด้วยสายตา ค่าโมเมนต์การเอียงของลำต้น ค่า Breaking strength และค่าดัชนีการหักล้ม ผลการศึกษา พบว่า ผลผลิต วันออกดอก ความสูง จำนวนรวงต่อกอ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางปล้องที่ 4 ความยาวของลำต้นส่วนบน (ปล้องที่ 1-3) ความยาวของลำต้นส่วนล่าง (ปล้องที่ 4-5) ขนาดของลำต้นที่มีกาบใบ และน้ำหนักราก มีความแตกต่างทางสถิติ และมีปฏิกิริยาสัมพันธ์ระหว่างพันธุกรรมกับสภาพแวดล้อมของลักษณะดังกล่าว จากการค่าประเมินความต้านทานการหักล้ม พบว่า ค่าแรงต้านทานการหักล้ม ค่าประเมินการหักล้มด้วยสายตา ค่าโมเมนต์การเอียงของลำต้น ค่า Breaking strength และค่าดัชนีการหักล้ม มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ จากการประเมินค่า Heritability พบว่า มี 10 ลักษณะ ที่มีความสัมพันธ์กับความต้านทานการหักล้มของข้าว ได้แก่ ผลผลิต ความสูง ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางปล้องที่ 4 ความยาวของลำต้นส่วนล่าง (ปล้องที่ 4-5) น้ำหนักราก ค่าแรงต้านทานการหักล้ม ค่าประเมินการหักล้มด้วยสายตา ค่าโมเมนต์การเอียงของลำต้น ค่า Breaking strength และค่าดัชนีการหักล้ม ความสัมพันธ์ ระหว่างลักษณะความสูง เส้นผ่านศูนย์กลางของลำต้นส่วนล่าง ความยาวของลำต้นส่วนล่าง และน้ำหนักราก ที่เหมาะสมมีผลอย่างมากต่อการส่งผลให้เกิดความต้านทานในการหักล้ม
บทคัดย่อ (EN): Lodging causes yield reduction of rainfed lowland rice, particularly for the two popular varieties; KDML105 and RD6. Improving lodging resistance varieties has been in slow progress due to lack of understanding of morpho-physiological characters related to lodging resistance and also employing inappropriate protocol to evaluate lodging resistant among breeding lines. Experiments in wet season 2012 at UBN-RRC, NRM-RRC and UDN-RRC, were carried out to study plant characters in association with lodging resistance. Rice lines used for the study were breeding lines derived from the cross between IR68586/Leuang Hawm/KDML105, a group of short plant height lines together with a group of high yielding lines. Four standard check cultivars, i.e. Niaw Ubon 2, Ayutthaya 1, Khao Dawk Mali 105 and RD6 were included. Plant characters being evaluated were stem width (both with- or without leaf sheath), diameter of the 4th internode, length of the upper part (1st – 3rd internodes) and length of the lower part (4th – 5th internodes), stem fresh weight, root weight and plant height. A digital force gauge was used to determine lodging resistance among test lines. Lodging score, degree of bending of rice plants, breaking strength and lodging index were observed. Results showed that significant difference existed in grain yield, heading date, plant height, panicle per hill, diameter of the 4th internode, length of the upper part (1st – 3rd internodes), length of the lower part (4th – 5th internodes) and root weight. Lodging resistance, visual score of lodging, degree of bending, breaking strength and lodging index were differed significantly among lines. Results indicated that grain yield, plant height, diameter of the 4th internode, length of the lower part (4th – 5th internodes), root weight, pushing resistance, visual score of lodging, bending moment, breaking strength and lodging index were associated with lodging resistance. The optimal combination of plant height, diameter of the 4th internode, length of the lower part (4th – 5th internodes) and root weight is an important key to improve lodging resistance in rice.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: ม.ป.ป.
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: ม.ป.ป.
เอกสารแนบ: https://agkb.lib.ku.ac.th/rd/search_detail/result/329859
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมการข้าว
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การศึกษาลักษณะทางสัณฐานและสรีรวิทยาที่เกี่ยวข้องกับลักษณะความต้านทานการหักล้มของข้าว
กรมการข้าว
ไม่ระบุวันที่เผยแพร่
เอกสารแนบ 1
กรมการข้าว
แป้งข้าวก่ำดัดแปรและผลิตภัณฑ์จากข้าวก่ำเพื่อประโยชน์ด้านสุขภาพ เชิงป้องกัน ข้าวให้พลังงานผสานคุณค่าอาหาร ลักษณะทางสรีรวิทยาและการเปลี่ยนแปลงทางชีวเคมีที่มีความสัมพันธ์กับความต้านทาน ต่อเชื้อรา Phytophthora สาเหตุของความต้านทานในข้าวพันธุ์ต่าง ๆ ต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล Nilaparuata lugens (Stal) คุณภาพข้าวสุกจากการผสมข้าว กข 23 และ ชัยนาท 1 ในขาวดอกมะลิ 105 การแข่งขันระหว่างข้าวกับวัชพืชจากการใส่ปุ๋ยรองพื้นระยะเวลาต่างๆ ในนาหว่านข้าวแห้ง การคัดเลือกพันธุ์ข้าวต้านทานแล้งภายใต้สภาพอาศัยน้ำฝนในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว รูปพรรณข้าวขึ้นน้ำผลผลิตสูง ดัชนีความไวของข้าวบางพันธุ์ที่มีต่อช่วงแสงตามธรรมชาติ ผลของระยะปักดำต่อผลผลิตและการเป็นโรคจู๋ของข้าว

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก